"การจัดการความซับซ้อนในชุมชน"

by punyha @9 ธ.ค. 65 09:08 ( IP : 171...149 ) | Tags : ข่าวสาร-ประชาสัมพันธ์ , โครงการ SUCCESS
  • photo  , 960x720 pixel , 106,927 bytes.
  • photo  , 960x720 pixel , 116,835 bytes.
  • photo  , 960x720 pixel , 96,784 bytes.
  • photo  , 960x720 pixel , 120,669 bytes.
  • photo  , 960x720 pixel , 106,927 bytes.
  • photo  , 960x720 pixel , 103,772 bytes.
  • photo  , 1280x960 pixel , 161,502 bytes.
  • photo  , 960x720 pixel , 118,596 bytes.
  • photo  , 960x720 pixel , 129,003 bytes.
  • photo  , 960x720 pixel , 81,986 bytes.
  • photo  , 960x1280 pixel , 131,524 bytes.

"การจัดการความซับซ้อนในชุมชน"

วันที่ 8 ธันวาคม 2565  นัดคณะทำงานและสมาชิกในชุมชนแหลมสนอ่อนร่วม 30 คน มาวิเคราะห์ระบบสุขภาพชุมชนในช่วงโควิด-19 เป็นกิจกรรมหนึ่งในโครงการถอดบทเรียนชุมชนรับมือโควิดกรณีชุมชนแหลมสนอ่อน ทน.สงขลา โดยใช้เครื่องมือการจัดการความซับซ้อนในระดับชุมชน(Cynefin) กับปัญหาที่ยุ่งเหยิงไม่เคยประสบมาก่อน 


สมาชิกที่มาได้ทบทวนแผนที่เดินดิน ประวัติศาสตร์ชุมชน ผังองค์กร ต้นไม้ระบบสุขภาพ ร่วมวิเคราะห์ระบบสุขภาพขณะรับมือโควิดโดยใช้กรอบระบบสุขภาพ 6 block คือ ระบบบริการ กำลังคน งบประมาณ/ค่าใช้จ่าย องค์ความรู้/นวตกรรม ระบบสารสนเทศ ธรรมาภิบาล พิจารณาในมุมที่ดำเนินการโดยชุมชนและหน่วยงาน เพื่อวิเคราะห์ผลที่เกิด ระดับปัญหาและช่องว่างการทำงาน เพื่อใช้ประกอบความเข้าใจการดำเนินงานที่ผ่านมา และเตรียมพร้อมจะเดินหน้าในอนาคต


ผลการวิเคราะห์พบว่าชุมชนยังต้องการบุคลากรและการบริการสุขภาพในกลุ่มผู้สูงอายุที่ป่วยด้วยโรคความดันเบาหวาน ต้องการระบบทีมที่ครอบคลุมพื้นที่ กลุ่มอาชีพ ต้องการกองทุนกลางเพื่อช่วยเหลือในสถานการณ์ฉุกเฉิน ต้องการช่องทางสื่อสารกลางที่สมาชิก 58 ครัวเรือน 223 คนเข้าถึง และรวมถึงการบริหารจัดการในความเป็นชุมชนร่วมกัน 


พร้อมกับวิเคราะห์ปัญหาวิกฤตในชุมชนในด้านต่างๆ พบว่าปัญหาสำคัญ ได้แก่ 1)ด้านสุขภาพ มีผู้สูงอายุป่วยด้วยโรคความดันเบาหวานจำนวนมาก(รอบหน้ายืนยันรายชื่อและจำนวน) มีผู้ป่วยติดบ้าน และพิการจำนวนหนึ่ง กลุ่มเหล่านี้ต้องการการดูแลเป็นพิเศษ 2)ด้านที่อยู่อาศัย ด้วยปัญหาการขอเช่าที่ดินจากธนารักษ์ ชุมชนมีรายจ่ายและภาวะความเครียด มีเหตุการณ์สำคัญที่เกี่ยวข้องกับเรื่องนี้มาต่อเนื่องยาวนาน 3)ด้านสิ่งแวดล้อม พบปัญหาน้ำท่วมขัง การระบายน้ำ ยุง สุนัข/ลิงรบกวน 4)หนี้สินและรายได้ พร้อมวิเคราะห์ทุนในชุมชนเพื่อรับมือกับปัญหาดังกล่าวไปด้วย


วันนี้มีเครือข่ายมาร่วม คือ

สถาบันสิ่งแวดล้อมไทย-TEI (โครงการประชาสังคมร่วมแรงเพื่อเปลี่ยนแปลงเมือง-จะมีโครงการนำร่องในการสร้างชุมชนที่เข้มแข็ง)

กองทุน WWF(จะสนับสนุนการลดขยะพลาสติกสร้างรายได้)

ภาควิชาพัฒนาชุมชน มหาวิทยาลัยราชภัฎสงขลา (นำนักศึกษา 120 คนลงชุมชนตลอดเวลา 3ปี)

สมาคมอาสาสร้างสุข (จัดทำพวงหรีดข้าวสารและการส่งอาหารสร้างรายได้) เครือข่ายเหล่านี้จะมาหนุนชุมชนรวมถึงชุมชนอื่นๆในตำบลบ่อยาง(55ชุมชน) ที่มีการเสนอตัวเข้าร่วมแล้วจำนวนหนึ่งวางเป้าหมายในภาพตำบลไว้ราว 10-12 ชุมชนในปี 66


กิจกรรมต่อไป วันที่ 9 ธันวาคม 2565 เข้าพบนายกเทศมนตรีหารือการทำงานร่วมกัน วันที่ 29 ธันวาคม 2565  ชุมชนจะประเดิมกิจกรรมร่วมกันด้วยการชวนสมาชิกร่วมตักบาตรทำบุญ และจัดประชุมใหญ่ ณ สวน 80 พรรษา

อนึ่งโครงการนี้อยู่ภายใต้แผนงานการพัฒนาขีดความสามารถด้านสาธารณสุขรองรับสถานการณ์ฉุกเฉิน: การเสริมสร้างความเข้มแข็งของระบบสุขภาพชุมชนในการเตรียมความพร้อมและรับมือกับภาวะฉุกเฉินด้านสาธารณสุข สนับสนุนโดย สวสส. TCELSและสนง.คณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ

อิ่มอร่อยมื้อเที่ยงด้วยอาหารในปิ่นโตที่สมาชิกแต่ละบ้านหิ้วมาทานร่วมกัน

#ร่วมสร้างชุมชนเข้มแข็ง


รายการยินดีมีเรื่อง  ประเด็นความเปราะบางของชุมชนเมือง

personมุมสมาชิก

เยือนอเมริกา ดูงานมูลนิธิชุมชน

เยือนอเมริกา ดูงานมูลนิธิชุมชน.

เครือข่าย

เครือข่ายมูลนิธิชุมชน