คืนข้อมูลชุมชนแหลมสนอ่อน ครั้งที่ 1

by punyha @29 พ.ย. 65 09:30 ( IP : 171...158 ) | Tags : ข่าวสาร-ประชาสัมพันธ์ , โครงการ SUCCESS
  • photo  , 960x720 pixel , 173,969 bytes.
  • photo  , 960x720 pixel , 179,172 bytes.
  • photo  , 960x720 pixel , 160,402 bytes.
  • photo  , 960x720 pixel , 171,595 bytes.
  • photo  , 960x720 pixel , 191,375 bytes.
  • photo  , 960x720 pixel , 117,899 bytes.
  • photo  , 960x720 pixel , 152,358 bytes.
  • photo  , 960x1280 pixel , 158,883 bytes.
  • photo  , 1280x960 pixel , 172,988 bytes.
  • photo  , 960x720 pixel , 174,459 bytes.
  • photo  , 1280x960 pixel , 172,988 bytes.
  • photo  , 1280x960 pixel , 180,252 bytes.
  • photo  , 960x720 pixel , 130,752 bytes.
  • photo  , 960x720 pixel , 188,921 bytes.
  • photo  , 960x720 pixel , 166,954 bytes.
  • photo  , 960x720 pixel , 145,462 bytes.
  • photo  , 960x720 pixel , 155,281 bytes.

คืนข้อมูลชุมชนแหลมสนอ่อน ครั้งที่ 1

วันที่ 28 พฤศจิกายน 2565  โครงการถอดบทเรียนโควิด-19 นัดสมาชิก 58 ครัวเรือนในชุมชนแหลมสนอ่อนมาร่วมเติมเต็มข้อมูลจากคณะทำงาน ณ สวน 80 พรรษา ซึ่งอยู่ในพื้นที่ของชุมชน มีสมาชิกร่วม 29 ครัวเรือน โดยมีมูลนิธิชุมชนสงขลาดำเนินการร่วมกับคณะทำงาน และมีคุณมนุชาธิป วรกาญจนานนท์ อดีตสหกรณ์จังหวัดและกรรมการมูลนิธิเข้าร่วม

เริ่มด้วยการแนะนำโครงการ บอกเล่าประวัติศาสตร์ชุมชนที่มีสมาชิกบางส่วนอยู่ในตั้งแต่สมัยเริ่มชุมชนใหม่ นับแต่ยุคจอมพลสฤษดิ์สั่งไล่ยื้อชุมชนประมงพื้นบ้านที่มายกขนำอยู่หลบพายุที่อ่าวกอและ(ชื่อเดิม) โดยมีเรื่องเล่าว่าเกิดจากเหตุจอมพลเดินเหยียบอุจจาระของใครบางคนเข้าให้ สมาชิกบางส่วนเป็นคนสงขลาดั้งเดิมมาบุกเบิกที่นี่ซึ่งอดีตเป็นเพียงป่าสนรกทึบ ถนนดินแดง เท่านั้น และสมัยรัฐบาลพลเอกเปรมที่มีการจัดระเบียบแม่ค้าพ่อค้าหาดสมิหราทำให้สมาชิกจำนวนมากถูกอพยพมาอยู่ที่นี่

ข้อมูลมาจากการทำประวัติศาสตร์ชุมชน การทำแผนที่ชุมชนเพื่อดูจำนวนบ้าน/บ้านเลขที่/สมาชิกแต่ละหลัง ผังองค์กรและสมาชิก ต้นไม้ระบบสุขภาพชุมชน ทำให้สมาชิกแต่ละคนที่มาได้เห็นข้อมูลภาพรวม ที่ประชุมร่วมวิเคราะห์การทำงานในชุมชน พัฒนาการ ประเด็นปัญหาสำคัญ ก่อนที่จะให้ข้อเสนอแนะต่อการทำงานร่วมกัน

1.ประสานความร่วมมือกับสมาชิกคนอื่นเพื่อให้เข้ามาร่วมกิจกรรม

2.แนวทางหลักคือ สานพลังสร้างชุมชนเข้มแข็ง ไม่เลือกปฎิบัติ มองข้ามความขัดแย้งภายในแต่ละบุคคล กลุ่ม

3.ทิศทางหลักของการพัฒนา ในฐานะชุมชนของเทศบาลนครสงขลาเน้นการสร้างชุมชนเพื่อรองรับการท่องเที่ยว ซึ่งจะสอดคล้องกับการขอเช่าที่ธนารักษ์ในระยะยาว แหลมสนอ่อนอยู่ในพื้นที่การท่องเที่ยว จำเป็นที่จะต้องดำเนินการอีกแบบ

-ข้อเสนอแนะและข้อสรุปจากที่ประชุมก็คือ ขอเช่าจากธนารักษ์เพื่อการอยู่อาศัย หากไม่ทำเรื่องการท่องเที่ยว จะขอเช่าได้เพียง 3 ปี หากปรับตัวเป็นชุมชนรองรับการท่องเที่ยวจะสามารถขอเช่าระยะยาว 30 ปี โดยมีหน่วยงานที่ต้องเข้ามาเกี่ยวข้องคือ ทสจ. ที่ดินจังหวัด พอช. ทน.สงขลา

-ครัวเรือนที่จะขอเช่าได้ มีเพียง 58 หลังเท่านั้น โดยนับจากครัวเรือนปัจจุบันที่มีหลังคาบ้านอยู่จริง เพื่อกันมิให้เกิดการขยายจำนวนครัวเรือน และครัวเรือนมีความพร้อมและสมัครใจ

-ขอเช่าได้รายละ 50 ตารางวาเท่านั้น

-สมาชิกร่วมกันพัฒนาสภาพแวดล้อมให้เป็นบ้านน่าอยู่ น่ามอง สอาด รองรับการท่องเที่ยว

personมุมสมาชิก

เยือนอเมริกา ดูงานมูลนิธิชุมชน

เยือนอเมริกา ดูงานมูลนิธิชุมชน.

เครือข่าย

เครือข่ายมูลนิธิชุมชน