"แผนที่และประวัติศาสตร์ชุมชนแหลมสนอ่อน"

  • photo  , 1706x960 pixel , 154,136 bytes.
  • photo  , 960x720 pixel , 105,581 bytes.
  • photo  , 960x720 pixel , 108,885 bytes.
  • photo  , 1108x1477 pixel , 204,497 bytes.
  • photo  , 1477x1108 pixel , 167,129 bytes.
  • photo  , 1477x1108 pixel , 151,695 bytes.
  • photo  , 1477x1108 pixel , 162,112 bytes.
  • photo  , 960x720 pixel , 110,370 bytes.
  • photo  , 960x720 pixel , 118,349 bytes.
  • photo  , 1280x960 pixel , 120,088 bytes.
  • photo  , 1280x960 pixel , 174,501 bytes.
  • photo  , 1280x960 pixel , 173,871 bytes.

"แผนที่และประวัติศาสตร์ชุมชนแหลมสนอ่อน"

วันที่ 12 พ.ย.2565 นัดคณะทำงานและตัวแทนชุมชน โครงการถอดบทเรียนกรณีโควิด-19 และพัฒนาต้นแบบชุมชนเข้มแข็งในการรับมือกับภาวะฉุกเฉินด้านสุขภาพ กรณีชุมชนแหลมสนอ่อน ต.บ่อยาง อ.เมือง จ.สงขลา อยู่ภายใต้โปรแกรม “การยุติโรคระบาดด้วยนวัตกรรม” (Ending Pandemics through Innovation, EPI) โดยความร่วมมือระหว่างกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม (อว.) และสำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ(สช.) โดยมีมูลนิธิชุมชนสงขลาเป็นพี่เลี้ยง

เป้าหมาย ถอดบทเรียนการรับมือโควิด-๑๙ที่ผ่านมา และพัฒนาต้นแบบชุมชนเข้มแข็งเพื่อจัดการตนเองรับมือสาธารณภัยที่ลงมากระทบชุมชน

นัดหมายทีมคณะทำงานร่วมทำความเข้าใจเครื่องมือการพัฒนา ทบทวนข้อมูลชุมชนในภาพรวม คนและกลุ่มองค์กรในชุมชน สถานที่สำคัญ/หน่วยงานที่อยู่ในพื้นที่ กิจกรรมสำคัญ รวมถึงความต้องการข้อมูลที่อยากให้ทีมงานเก็บเพิ่ม อาทิ บ้านเช่า/บ้านแบ่งเช่า บ้านมีเลขที่กับเลขที่ชั่วคราว พร้อมตรวจสอบต้นทุนของชุมชน เช่น ช่างฝีมือ/งานช่างต่างๆ อุปกรณ์หรือเครื่องมือที่จะนำมาใช้เพื่อส่วนรวม ไอทีหรือเทคโนโลยีที่มี ยานพาหนะ และหาที่ว่างสาธารณะ แหล่งมั่วสุม การนับถือศาสนา โครงสร้างพื้นฐาน ระบบไฟ น้ำ จำนวนประชากรตามทะเบียนราษฏร์และประชากรแฝง เป็นต้น

พร้อมกับเติมเต็มแผนที่ทำมือ เพิ่มข้อมูลที่ตกหล่น และจัดทำ Timeline ประวัติศาสตร์ชุมชน

ชุมชนแหลมสนอ่อน อยู่ในพื้นที่เทศบาลนครสงขลา มีสมาชิก ๕๙ ครัวเรือน ๒๑๐ คน ประสบปัญหาการใช้กรรมสิทธิ์ที่ดินซุึ่งเป็นที่ราชพัสดุ กรมธนารักษ์ สมาชิกส่วนใหญ่เป็นผู้ประกอบการร้านอาหารอยู่อาศัยในพื้นที่มากว่า ๓๕ ปีในฐานะคนอพยพ ในเนื้อที่ ๑๓๐ ไร่(แปลงหมายเลขทะเบียนที่สข ๕๕๓ นับเฉพาะพื้นที่ชุมชนเพียง ๓๐ ไร่) แต่ไม่ได้ทำสัญญาเช่าให้ถูกต้อง

ทั้งนี้ก่อนปี ๒๕๐๐ มีชื่อเรียกสถานที่แห่งนี้ว่า "อ่าวกอและ" เป็นที่หลบพายุ ที่ทิ้งขยะ และที่จำหน่าย(ยิงนักโทษ) เริ่มมีชุมชนประมงพื้นบ้านอพยพมาตั้ง “ทับ” หรือ “กระท่อม” ต่อมาปี พ.ศ.๒๕๐๒ จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ได้มาตรวจราชการที่จังหวัดสงขลา เห็นว่าที่ตั้งชุมชนเหมาะที่จะพัฒนาเป็นสถานที่ท่องเที่ยว จึงสั่งให้รื้อย้ายชุมชนประมงพื้นบ้านที่อพยพมาจากรอบพื้นที่จังหวัดสงขลา บ้านหนองจิกจังหวัดปัตตานีให้ไปอยู่ที่ ท่าสะอ้าน หัวเขาแดง และเก้าเส้ง

ต่อมาปี พ.ศ.๒๕๑๑ มีการสร้างเขื่อนกันทรายและคลื่นปากร่องน้ำสงขลายาวประมาณ ๗๐๐ มตร โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อป้องกันตะกอนชายฝั่งทะเลไปตกในร่องน้ำเดินเรือของทะเลสาบสงขลา ส่งผลให้ตะกอนทรายที่เคลื่อนมาจากทิศใต้ตกทับถมทางด้านใต้โครงสร้างนี้ แหลมสนอ่อนเริ่มขยายพื้นที่เนื่องจากการสะสมตัวของตะกอนทรายดังกล่าวกว้างมากขึ้นนับจากนั้น

ปี ๒๕๒๕ รัฐบาลสมัยพลเอกเปรม ติณสูลานนท์ จัดระเบียบชายหาดสมิหลาแล้วก็ให้พ่อค้าแม่ค้าที่มาอยู่แถวชายหาดมาอยู่อาศัยที่ชุมชนแหลมสนอ่อนในปัจจุบัน โดยไม่ได้ทำสัญญาให้เป็นกิจลักษณะ สมาชิกเริ่มสร้างบ้านทำร้านอาหารประกอบกิจการของตนมานับสิบปี ไฟฟ้าที่ได้เป็นไฟชั่วคราว น้ำก็เป็นน้ำบาดาลเจาะเองหรือซื้อน้ำทาน

ฯลฯ

พร้อมใช้โอกาสนี้ประสานกลุ่มต่างๆ ในชุมชนแหลมสนอ่อน มาร่วมปรับฐานคิดการพัฒนา มีส่วนร่วมในการถอดบทเรียนจากอดีตไปยังอนาคตข้างหน้าอย่างเข้มแข็ง เพื่อให้คนเห็นคุณค่าและเกิดความร่วมมือกัน

Relate topics

personมุมสมาชิก

เยือนอเมริกา ดูงานมูลนิธิชุมชน

เยือนอเมริกา ดูงานมูลนิธิชุมชน.

เครือข่าย

เครือข่ายมูลนิธิชุมชน