การขับเคลื่อนเรื่องเมืองและการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ของประเทศไทย ความก้าวหน้าและทิศทางเชิงนโยบาย
“การขับเคลื่อนเรื่องเมืองและการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ของประเทศไทย ความก้าวหน้าและทิศทางเชิงนโยบาย"
โดย ดร.วิจารย์ สิมาฉายา ผู้อำนวยการ TEI นำเสนอในการประชุมใหญ่ "เมืองรู้ร้อนรู้หนาว" ๔ ตุลาคม ๒๕๖๕ ที่ผ่านมา ณ โรงแรมเดอะเบค เวเคชั่น ราชมังคลา อ.เมือง จ.สงขลา
๑.นโยบายและแผนการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ เป็นเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน SDGs ๑๗ เป้าหมาย การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศเป็นเรื่องที่สำคัญที่ส่งผลกระทบกับเราและเราต้องเรียนรู้
๒.ประเทศไทยเป็นประเทศที่จะได้รับผลกระทบเป็นอันดับที่ ๙ ของโลก ประเทศที่จะได้รับอันดับที่ ๒ คือ ประเทศเมียนมา ปากีสถาน บังคลาเทศน์ ในขณะที่ประเทศไทยปล่อยก๊าซเรือนกระจกไม่ถึง ๑ % แต่ได้รับผลกระทบมาก
๓.สิ่งที่สะท้อนการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศคือ เกิดขึ้นบ่อย ผลกระทบรุนแรงและเกิดใหญ่มากขึ้น เมืองจะมีการปรับตัวอย่างไรให้อยู่กับสภาพแวดล้อมให้ได้ ซึ่งการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศน้ำท่วมหรือภาวะแล้งเกิดขึ้นแล้ว เราจะอยู่ร่วมกันได้อย่างไร ตอนนี้อุณหภูมิของโลกเพิ่มกว่า ๑.๒ องศาเซลเซียล คาร์บอนมอนอกไซด์สูงขึ้น ระดับน้ำทะเลสูงขึ้น อุณหภูมิของโลกจะสูงขึ้นทั่วโลก จากการกระทำของมนุษย์จากการใช้พลังงานน้ำมัน ซึ่งมีแนวคิดที่จะควบคุมอุณหภูมิของโลกให้ต่ำลง ๒ องศาเซลเซียล โดยตั้งเป้าหมาย ๑.๕ องศา เรียกว่าข้อตกลงปารีส ซึ่งตามข้อตกลงเกียวโตบอกว่าประเทศที่กำลังพัฒนาเท่านั้นต้องลดคาร์บอน และมีข้อตกลงใหม่คือ ทุกประเทศต้องลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก อุณหภูมิต่างกัน ๐.๕ องศามีนัยยะมาก ผลกระทบที่เกิดขึ้นมากมาย
๔.ประเทศไทยจะเข้าสู่การเป็นกลางทางคาร์บอน(หมายถึงการลดการปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์สุทธิให้เป็นศูนย์) ส่วนใหญ่ประเทศต่างๆ ประกาศในปี ๒๐๕๐ ในระยะต่อไปคิดก๊าซเรือนกระจกทุกตัว ซึ่งทุกประเทศต้องให้ความร่วมมือในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกทุกชนิด
๕.รัฐบาลให้ความสำคัญต่อการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ และเศรษฐกิจหมุนเวียนเศรษฐกิจสีเขียว BCG ซึ่งนโยบายและแผนจะมีการเชื่อมโยงกัน ตลาดคาร์บอน เรื่องของเทคโนโลยี การเพิ่มพื้นที่สีเขียว การเงินการลงทุนโดยเฉพาะประเทศพัฒนาแล้ว ตอนนี้มีนวัตกรรมใหม่ๆ มาใช้ เช่น การปลูกข้าวแห้งสลับเปียก โครงการของ ธกส. เป็นต้น เรื่องของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศต่อไปจะเป็นมาตรการที่มีการควบคุมโดยกฎหมาย และต่อไปจะมีการรายงานตัวเลขไปสู่การประชุมเวทีนานาชาติ ตอนนี้ประเทศไทยอยู่ระหว่างการร่างกฎหมายที่ควบคุมทั้งประเด็นการลด การปรับตัว และการส่งเสริม และมีเรื่องคาร์บอนเครดิตซึ่งเป็นเรื่องใหม่ ร่วมกับสภาอุตสาหกรรม ประเทศไทยจะไปถึงเป้าหมายต้องใช้ BCG เป็นเศรษฐกิจที่เกิดจากการใช้ทรัพยากรธรรมชาติให้หมุนเวียนและน้อมนำเศรษฐกิจพอเพียงมาปรับใช้ โดยดูจุดแข็งสร้างรายได้ให้ชุมชนในพื้นที่อย่างไร เรามีสมุนไพร มีพลังงานที่เป็นผลิตผลทางการเกษตร ทำอย่างไรให้คนมีงานทำมีรายได้ มีการส่งต่อให้ลูกหลาน ใช้อย่างยั่งยืน ซึ่ง BCG ตอบโจทย์เรื่องการกระจายรายได้ชุมชน อุตสาหกรรมที่ดูแลสิ่งแวดล้อม และตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ทำอย่างไรให้ข้าวมีมูลค่าสูงขึ้นโดยใช้เทคโนโลยีนวัตกรรม เพื่อนำยุทธศาสตร์ใหม่ๆ เข้าไปขับเคลื่อน
๖.การจะทำให้คาร์บอนลดลงต้องลดให้น้อยลงมากที่สุด โดยการปลูกต้นไม้ ซึ่งต้องให้ความสำคัญ และบรรจุในแผนพัฒนาแห่งชาติ มีการให้ความสำคัญต่อเศรษฐกิจหมุนเวียนและคาร์บอนต่ำ ประเทศไทยให้ความสำคัญกับการปรับตัวมาก ซึ่งเราก็ยังได้รับผลกระทบอยู่มาก เป็นเรื่องสำคัญที่เราต้องมีการเตรียมความพร้อม เพื่อผลกระทบจากภัยพิบัติ
Relate topics
- จดหมายข่าวโครงการประชาสังคมร่วมแรงเพื่อเปลี่ยนแปลงเมือง (SUCCESS) ฉบับที่ 1 - 10
- ก้าวที่ 1 ของ iMedCare ธุรกิจเพื่อสังคมของสงขลา"
- "แผนผังภูมินิเวศ"
- เครือข่าย SUCCESS เมืองควนลังร่วมงานส้มโอเมืองควนลังปี 2567
- "ทีม iMedCare วิถีผู้ดูแลผู้ป่วยที่บ้าน"
- อังกฤษที่ผมเห็น ตอนที่ 11 - 21
- อังกฤษที่ผมเห็น ตอนที่ 1 - 10
- "iMed@home ระบบกลุ่ม"
- สมัชชาสุขภาพจังหวัดสงขลาชูวาระ "พลิกโฉมพลังพลเมืองสงขลาเพื่อสังคมสุขภาวะที่ยั่งยืน"
- กิจกรรมรับบริจาคโลหิตประชารัฐสงขลาประจำเดือนตุลาคม 2567