"ความเปราะบางเมืองปาดังเบซาร์"
"ความเปราะบางเมืองปาดังเบซาร์"
นำเสนอโดย คุณอรรตพล วิชิตพงษ์ รองนายกเทศมนตรี คณะทำงาน SUCCESS เมืองปาดังเบซาร์ ในงานวันพลเมืองสงขลา ๒๕๖๕ วันที่ ๒๗ กันยายน ๒๕๖๕ ที่ผ่านมา
๑.ปาดังเบซาร์มีพื้นที่ ๑๑.๒๒ ตารางกิโลเมตร ทิศตะวันตกติดกับประเทศมาเลเซีย ทิศตะวันออกติดกับอำเภอสะเดา ทิศใต้ติดกับประเทศมาเลเซียบางส่วน ทิศตะวันออกติดกับอำเภอคลองหอยโข่ง ปาดังเบซาร์เป็นที่ราบลุ่มในหุบเขา
๒.การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศสัมพันธ์ฺกับปัญหาหมอกควันข้ามแดนซึ่งกระทบกับพื้นที่มาอย่างยาวนานมาก และปัญหามลภาวะจากการขนส่งโลจิสติกส์ที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศโดยรวมไปด้วย เกิดจากการเติบโตทางเศรษฐกิจ ซึ่งต้องรับมือต่อการเปลี่ยนแปลง โครงสร้างพื้นฐานของเมืองการวางผังโครงสร้างพื้นฐานมีข้อจำกัด การรับนโยบายจากภาครัฐที่ไม่สามารถแก้ไขได้
๓.จากการศึกษาพบว่าการเข้าออกประเทศมาเลเซียทำให้เศรษฐกิจของพื้นที่โตไปด้วย พื้นที่ที่ศึกษาคือ ชุมชนต้นพะยอม ๑ และชุมชนต้นพะยอม ๒ ซึ่งมีรถเทรนเลอร์เข้าออกบริเวณหน้าด่าน ทำให้เกิดมลพิษจากท่อไอเสีย ค่าPM.๒.๕ มีผลกระทบต่อโรงเรียน ชุมชนโดยตรง และการเผาขยะบริเวณแนวชายแดน ก่อนหน้านี้มีไร่อ้อยในประเทศมาเลเซีย ทำให้มีควันต่างๆ กระทบต่อกลุ่มเปราะบาง คือ กลุ่มนักเรียน และผู้สูงอายุ จากข้อมูลของโรงพยาบาลปาดังเบซาร์ เป็นข้อมูลการเจ็บป่วยของคนในชุมชน ส่งผลกระทบต่อโรคระบบทางเดินหายใจ ซึ่งเป็นปัญหาใหญ่ที่ต้องมาร่วมวิเคราะห์ว่าจะปรับตัวรับมืออย่างไร ซึ่งจากสถานการณ์โควิดทำให้ชุมชนมีการปรับตัวแล้วบางส่วนคือจำเป็นต้องสวมใส่หน้ากากก่อนออกจากบ้าน ทำให้สามารถป้องกันปัญหาเรื่องหมอกควันไปได้บางส่วน ทำให้ข้อมูลจำนวนผู้ป่วยทางเดินหายใจจากระบบขนส่งลดลง
๔.ในพื้นที่ปาดังเบซาร์ได้รับผลกระทบจากลมตะวันตกและลมตะวันออก เนื่องจากอยู่ในพื้นที่หุบเขา ซึ่งหมอกควันข้ามแดนเมื่อเข้ามาต้องใช้ระยะเวลาพอสมควร สิ่งที่ป้องกันได้คือ ไม่ออกไปนอกบ้าน เด็กนักเรียนก็ใช้วิธีการเล่นเฉพาะในโรงเรียน คนที่ไปทำงานเลือกการออกไปทำงานนอกบ้านมากกว่าสนใจเรื่องคุณภาพชีวิต ผู้หญิงจะให้ความสำคัญกับการดูแลสุขภาพมากกว่าผู้ชาย ในพื้นที่มีความหลากหลายทางพหุวัฒนธรรม แต่สถานการณ์โควิดทำให้ชุมชนมีความจำเป็นต้องออกมาทำกิจกรรมในการช่วยเหลือกันในรูปแบบต่างๆ
๕.ในการทำงานเพื่อเก็บข้อมูลภายใต้โครงการประชาสังคมร่วมแรงเพื่อเปลี่ยนแปลงเมืองอยู่ภายใต้สถานการณ์โควิด ซึ่งปรับตัวโดยการใช้ความสัมพันธ์ของคนในชุมชนเพื่อเก็บรวบรวมข้อมูล จากการเก็บข้อมูลนำมาสู่การทำข้อมูลเชิงสถิติของการจราจรระหว่างพื้นที่ชายแดน และมีการปรับตัวในการอยู่ร่วมกับสถานการณ์ และได้เชิญหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้ามาเพื่อร่วมแลกเปลี่ยนกัน ว่าแต่ละหน่วยงานมีบทบาทมีหน้าที่ต้องทำอะไร โดยเป็นการหารือในการหาแนวทางเพื่อแก้ปัญหาร่วมกันมากกว่าหาคนผิดมารับผิดชอบ และสร้างความรู้สึกให้หน่วยงานรู้สึกว่าเป็นส่วนหนึ่งของปาดังเบซาร์ ซึ่งสามารถช่วยเหลือหรือแก้ไขอะไรเพื่อปาดังเบซาร์ได้บ้าง
เขียนโดย ชาคริต โภชะเรือง
เผยแพร่ 3 พฤศจิกายน 2565
Relate topics
- จดหมายข่าวโครงการประชาสังคมร่วมแรงเพื่อเปลี่ยนแปลงเมือง (SUCCESS) ฉบับที่ 1 - 10
- ก้าวที่ 1 ของ iMedCare ธุรกิจเพื่อสังคมของสงขลา"
- "แผนผังภูมินิเวศ"
- เครือข่าย SUCCESS เมืองควนลังร่วมงานส้มโอเมืองควนลังปี 2567
- "ทีม iMedCare วิถีผู้ดูแลผู้ป่วยที่บ้าน"
- อังกฤษที่ผมเห็น ตอนที่ 11 - 21
- อังกฤษที่ผมเห็น ตอนที่ 1 - 10
- "iMed@home ระบบกลุ่ม"
- สมัชชาสุขภาพจังหวัดสงขลาชูวาระ "พลิกโฉมพลังพลเมืองสงขลาเพื่อสังคมสุขภาวะที่ยั่งยืน"
- กิจกรรมรับบริจาคโลหิตประชารัฐสงขลาประจำเดือนตุลาคม 2567