"ความเปราะบางของเมืองพะตง"

by punyha @9 พ.ย. 65 11:02 ( IP : 171...33 ) | Tags : ข่าวสาร-ประชาสัมพันธ์ , โครงการ SUCCESS , 4PW
photo  , 960x720 pixel , 155,368 bytes.

"ความเปราะบางของเมืองพะตง"

นำเสนอโดยคุณรัชนี บุญสกันท์ ในงานวันพลเมืองสงขลา ๒๕๖๕ วันที่ ๒๗ กันยายน ๒๕๖๕ ที่ผ่านมา


๑.เมืองพะตงประกอบด้วยคนดั้งเดิมในพื้นที่และคนที่อพยพมาจากที่อื่น ตำบลพะตงอยู่ห่างจากอำเภอหาดใหญ่ประมาณ ๒๐ กิโลเมตร โดยแบ่งเขตการปกครองออกเป็นเทศบาลตำบลและ อบต.


๒.การศึกษาความเปราะบางของชุมชนต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ โดยใช้บริบทพื้นที่ที่เป็นจุดรวมของความหลากหลายของชุมชนเมือง โดยเลือกพื้นที่ชุมชนบ้านหลบมุม เนื่องจากเป็นพื้นที่ที่รองรับการขยายตัวจากอำเภอหาดใหญ่ มีโรงงานอุตสาหกรรมมาตั้งในชุมชนบ้านหลบมุมจำนวนมาก ประมาณ ๑๔ โรงงาน มีที่เป็นโรงงานใหญ่ในพื้นที่ชุมชนบ้านหลบมุม ทำให้มีคนเข้ามาอาศัยจำนวนมากในพื้นที่ มีทั้งประชาชนที่เป็นประชาชนแฝง คือเป็นต่างถิ่นและต่างด้าว เป็นประชากรแฝงที่เข้ามาทำงานมากกว่าคนดั้งเดิม ทำให้เกิดปัญหาต่างๆ มากมาย เช่น ปัญหาการอยู่ร่วมกัน ปัญหายาเสพติด ปัญหาการสื่อสาร ปัญหาสังคมอื่นๆ


๓.เดิมชุมชนบ้านหลบมุมเมื่อ ๓๐ ปีที่แล้วเป็นชุมชนเกษตรทำสวนยางพารา แต่ได้มีการพัฒนาพื้นที่เพื่อเป็นเมืองมากขึ้น และเมื่อมีการพัฒนาเป็นเมืองมากขึ้นทำให้คนต่างถิ่นเข้ามามากขึ้น โดยเฉพาะในชุมชนริมทางรถไฟ จากการศึกษา ปัญหาทางด้านโครงสร้างหลักเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ชุมชนมีปัญหาเรื่องน้ำท่วมฉับพลัน เนื่องจากรับน้ำมาจากพื้นที่อื่นเนื่องจากเป็นทางผ่านของน้ำ ปัจจุบันฝนตกแค่ครึ่งชั่วโมงทำให้เกิดน้ำท่วมขังอย่างหนัก ซึ่งปีนี้น้ำท่วมไป ๒-๓ รอบแล้ว และในช่วงฤดูร้อนก็ทำให้เกิดน้ำท่วมเช่นกัน สาเหตุของน้ำท่วมเนื่องจากการเปลี่ยนพื้นที่เป็นบ้านจัดสรรขวางทางน้ำทำให้น้ำระบายไม่ทันเกิดน้ำท่วมขัง และมีการบุกเบิกพื้นที่อาศัยเพิ่ม ปัญหาที่พบคือบ้านบางหลังมีการพ่วงไฟฟ้าทำให้ค่าใช้จ่ายจากการใช้ไฟฟ้าเพิ่มขึ้นซึ่งมีการใช้ไฟน้อยแต่ค่าไฟแพงเดือนละประมาณ ๕๐๐ บาทต่อครัวเรือน


๔.ในช่วงสถานการณ์โควิดชุมชนเมืองได้รับผลกระทบมากเนื่องจากไม่สามารถประกอบอาชีพได้ ชุมชนขาดรายได้ โดยเฉพาะกลุ่มที่เป็นชุมชนต่างด้าว แต่ก็มีการช่วยเหลือกันในชุมชน โดยบริษัทและผู้ใหญ่ใจดีในพื้นที่ ซึ่งการช่วยเหลือร่วมกันทุกภาคส่วนสามารถแก้ปัญหาให้ผ่านไปได้

๕.ปัญหาหลักๆ คือ ความเปราะบางของชุมชนเมืองทำให้เกิดปัญหาต่างๆ ตามมา เช่น น้ำท่วม ภัยแล้งในช่วงฤดูแล้งมีปัญหาบ้าง แต่ไม่มากเท่าปัญหาน้ำท่วม ปัญหาน้ำในบ่อเป็นคราบ ไม่สามารถนำมาใช้อุปโภคบริโภคได้ การอยู่ร่วมกันของคนต่างด้าวและต่างท้องถิ่น ทำให้การสื่อสารไม่สามารถสื่อสารเข้าใจกันได้


๖.แนวทางการแก้ไขปัญหาคือ การใช้กิจกรรมเพื่อยึดเหนี่ยวจิตใจของคนโดยใช้กิจกรรมทางศาสนา, กิจกรรมพบปะแลกเปลี่ยนร่วมกัน จัดทำแผนชุมชนแบบมีส่วนร่วม โดยนำคนผู้นำที่เข้าใจภาษาแรงงานต่างชาติมาเป็นคณะกรรมการในชุมชน สร้างกลไกในการแก้ไขปัญหาร่วมกัน และมีการแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับรายได้ จัดตั้งวิสาหกิจชุมชน โดยนำทุนความรู้ ทุนมนุษย์ในพื้นที่มาแลกเปลี่ยนร่วมกัน เป็นการเสริมความรู้ให้ชุมชนที่เป็นกลุ่มหาเช้ากินค่ำได้มีรายได้เพิ่มขึ้น และผู้นำชุมชนได้ใช้โมเดลพะตงบ้านฉันมาขับเคลื่อนเพื่อให้เห็นเป้าหมายร่วมกัน ไม่ว่าจะเป็นคนต่างถิ่นคนต่างด้าว ต่างก็คือคนพะตงที่มาช่วยกันพัฒนาบ้านร่วมกัน สร้างความรู้สึกความเป็นเจ้าของร่วมกัน

เขียนโดย ชาคริต โภชะเรือง

เผยแพร่ 3 พฤศจิกายน 2565

personมุมสมาชิก

เยือนอเมริกา ดูงานมูลนิธิชุมชน

เยือนอเมริกา ดูงานมูลนิธิชุมชน.

เครือข่าย

เครือข่ายมูลนิธิชุมชน