"ความเปราะบางเมืองบ่อยาง"

by punyha @9 พ.ย. 65 10:59 ( IP : 171...33 ) | Tags : ข่าวสาร-ประชาสัมพันธ์ , 4PW , โครงการ SUCCESS
photo  , 960x720 pixel , 88,650 bytes.

"ความเปราะบางเมืองบ่อยาง"

คุณบุณย์บังอร ชนะโชติ ตัวแทนคณะทำงานเมืองบ่อยาง นำเสนอในงานวันพลเมืองสงขลา ๒๕๖๕ เมื่อวันที่ ๒๗ กันยายน ๒๕๖๕ ที่ผ่านมา

ทั้งนี้ผลกระทบของกลุ่มเปราะบางที่มีต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ซึ่งมีหลายกลุ่ม เช่น กลุ่มคนจนเมือง กลุ่มที่เข้าไม่ถึงสิทธิต่างๆ คนต่างถิ่นต่างชาติ ประชากรแฝง คนพิการ ผู้สูงอายุ เด็ก ส่วนใหญ่พบว่าเมื่อเกิดภัยพิบัติกลุ่มเหล่านี้มักได้รับผลกระทบเป็นกลุ่มแรกๆ มีการศึกษาเพื่อประเมินความเปราะบางของเมืองต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ซึ่งกลุ่มเมืองดังกล่าวได้รับการสนับสนุนจากสหภาพยุโรป ภายใต้โครงการประชาสังคมร่วมแรงเพื่อเปลี่ยนแปลงเมือง(SUCCESS)


๑.เมืองบ่อยางอยู่ในพื้นที่เทศบาลนครสงขลา มีการคัดเลือกพื้นที่ศึกษาโดยใช้เกณฑ์ตามลักษณะพื้นที่เป็นหลัก ในพื้นที่ ๔ ชุมชนจาก ๕๕ ชุมชน คือชุมชนแหลมสนอ่อนมีทะเลล้อมรอบ ชุมชนสนามบินเป็นชุมชนอยู่ใจกลางเมือง เสี่ยงต่อน้ำท่วมขัง ชุมชนบาลาเซาะห์เก้าแสนเป็นชุมชนที่มีการกัดเซาะชายฝั่งชัดเจน และชุมชนศาลาเหลืองเหนือ เป็นชุมชนที่ตั้งอยู่ในที่ดินเอกชนและเป็นชุมชนที่อยู่ริมคลองสำโรงซึ่งมีปัญหาน้ำเน่าเสีย การศึกษาคือใช้แบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์ ใช้กับหน่วยงาน ใช้ชาวบ้านในแต่ละชุมชนลงเก็บข้อมูลด้วยตัวเอง ฟังความเห็นโดยเฉพาะกลุ่มเปราะบางผู้พิการ ผู้ป่วยติดเตียง แบ่งตามอาชีพตามช่วงวัย


๒.ผลการศึกษา กรณีที่เป็นชุมชนกลุ่มตัวอย่าง ๑๐๐ เปอร์เซ็นต์ไม่มีส่วนร่วมในการบริหารแผนของชุมชน ที่อยู่อาศัยไม่มีความมั่นคง กลุ่มผู้หญิงมีส่วนร่วมคือไม่มีอำนาจในการตัดสินใจเวลาเกิดปัญหา ในการเก็บข้อมูลทำความเข้าใจจากเรื่องที่ใกล้ตัว ด้วยการนำเรื่องภัยพิบัติโรคโควิดมาเป็นตัวตั้งต้นเชื่อมโยงไปถึงสาธารณภัยอื่น ทำให้ชุมชนมองเห็นว่าการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศไม่ใช่เรื่องไกลตัว ทำให้เห็นความเปราะบางของเมืองตัวเองอย่างที่ไม่เคยเห็นมาก่อน  หน่วยงานราชการก็ยังไม่เข้าใจเมืองที่ตัวเองทำงานอยู่ บางส่วนบอกว่าเพิ่งย้ายมา ยังไม่รู้จักเมืองบ่อยาง ความเปราะบางในระดับบุคคลในกลุ่มแรงงานนอกระบบจะได้รับผลกระทบในช่วงฤดูฝนมากกว่าช่วงหน้าร้อน โดยเฉพาะชาวประมงชายฝั่ง มอเตอร์ไซค์รับจ้าง หาบเร่แผงลอย หน้ามรสุมรายได้ลดหรือแถบไม่มีรายได้เลย อาชีพรับจ้าง ในระดับเพศ ผู้หญิงจะได้รับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงจากสภาพภูมิอากาศ มากกว่าผู้ชายเนื่องจากอยู่ที่บ้านมากกว่าผู้ชาย กลุ่มผู้สูงอายุได้รับผลกระทบอย่างมากในช่วงหน้าร้อน ชุมชนหลายชุมชนเป็นชุมชนแออัด สภาพบ้านเป็นหลังคามุงสังกะสี ซึ่งจะได้รับผลกระทบอย่างมาก ในระดับครัวเรือนสิ่งที่เจอเมื่อถามว่ารับมืออย่างไร ได้รับคำตอบคือ การพึ่งพาอาศัยกันเอง เช่น ชุมชนบาลาเซาะห์เก้าแสน อาศัยกัน ๘-๑๐ คน แต่ในช่วงภัยพิบัติใช้วิธีการช่วยเหลือกันเอง เป็นเรื่องที่เหนือความคาดคิดว่าการช่วยเหลือกันในเมืองยังมีน้ำใจต่อกัน


๓.หน้าฝนในพื้นที่บ่อยางมีความยาวนานขึ้น ปริมาณน้ำฝนเพิ่มขึ้น ซึ่งต้องหาวิธีการในการจัดการตัวเองโดยใช้ผลจากการศึกษามาใช้ ในการระดมความคิดเห็นกัน โดยสรุปว่าต้องหาวิธีการในการพึ่งพาตนเอง โดยได้รับบทเรียนจากโควิด ซึ่งหากรอภาครัฐอย่างเดียวจะไม่สามารถช่วยเหลือกันเองได้ โดยเริ่มจากชุมชนในพื้นที่และชุมชนใกล้เคียง โดยอาศัยปัญหาเรื่องที่อยู่อาศัยซึ่งเป็นปัญหาร่วมและหาวิธีการในการแก้ปัญหาเมืองร่วมกันของชุมชนทั้ง ๕๕ ชุมชนที่มีจำนวนประชากรประมาณ ๕๘,๐๐๐ กว่าคน ส่วนใหญ่เป็นคนที่เข้ามาใหม่แต่มาอยู่ทับซ้อนกับชุมชนเดิม เนื่องจากเมืองบ่อยางเป็นศูนย์กลางทางเศรษฐกิจ ศูนย์กลางมหาวิทยาลัย มีกลุ่มประชากรแฝงที่เป็นนักศึกษา เป็นแรงงานรับจ้าง แรงงานส่วนหนึ่งส่วนใหญ่มาจากจังหวัดนครศรีธรรมราช หากมาจากภาคอีสานจะมารับจ้างเป็นหลัก

#ร่วมสร้างสังคมเป็นสุข

เขียนโดย ชาคริต โภชะเรือง

เผยแพร่  1 พฤศจิกายน 2565

Relate topics

personมุมสมาชิก

เยือนอเมริกา ดูงานมูลนิธิชุมชน

เยือนอเมริกา ดูงานมูลนิธิชุมชน.

เครือข่าย

เครือข่ายมูลนิธิชุมชน