"เมืองสร้างสรรค์ขององค์การยูเนสโกด้านอาหาร"

by punyha @9 พ.ย. 65 10:55 ( IP : 171...33 ) | Tags : ข่าวสาร-ประชาสัมพันธ์ , 4PW
photo  , 960x720 pixel , 93,461 bytes.

"เมืองสร้างสรรค์ขององค์การยูเนสโกด้านอาหาร"

โดยนายเทพรัตน์ จันทพันธ์ สถาบันการเรียนรู้เพื่อปวงชน ในงานวันพลเมืองสงขลา ๒๕๖๕ วันที่ ๒๗ กันยายน ที่ผ่านมา

๑)เมืองสร้างสรรค์มีการจัดตั้งเป็นคณะกรรมการระดับจังหวัดแล้วในปัจจุบัน เมืองสร้างสรรค์เป็นเครื่องมือหนึ่งของยูเนสโกว่าด้วยการพัฒนาเมืองอย่างยั่งยืน ขับเคลื่อนเศรษฐกิจบนฐานทุนวัฒนธรรม ทรัพยากรพื้นที่ของชุมชน เป้าหมายเน้นเรื่องของความยั่งยืน ประเทศไทยสมัครเป็นเมืองสร้างสรรค์ในปี ๒๕๕๘ โดยเริ่มสมัครเมืองภูเก็ต

๒)เมื่อนึกถึงเครื่องมือ จังหวัดสงขลาจะนึกถึงมรดกโลก สงขลาขับเคลื่อนเรื่องนี้มาสักพักหนึ่ง เมื่อปีที่แล้ว อพท.องค์กรบริหารพื้นที่พิเศษเพื่อการจัดทำการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน ได้ทำเรื่องของรายงานเบื้องต้นเรื่องความพร้อมของจังหวัดสงขลา ซึ่งคัดเลือกเรื่องของอาหารเป็นจุดเด่นของสงขลา สงขลามีภาครัฐ องค์กรเอกชน ร่วมกับ ๕ มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล และอาชีวศึกษา โดยทำในเรื่องฐานข้อมูลการทำเมืองสร้างสรรค์ โดยในช่วง ๕ ปีจะดูว่ามีการทำกิจกรรมอะไรบ้าง อุตสาหกรรมสร้างสรรค์เรื่องอาหารทำอะไรบ้าง ทางทีม อพท.ให้ที่ปรึกษามาดำเนินการและได้มีการทำรายงานเป็นตัวตั้งต้น ซึ่งมีหลายเมืองที่ส่งเพื่อคัดเลือกเป็นเมืองสร้างสรรค์ ปีที่แล้วประเทศไทยส่งไป ๕ เมือง คือ จังหวัดนครปฐม จังหวัดสุพรรณบุรี จังหวัดน่าน และจังหวัดเพชรบุรี และจังหวัดเชียงราย โดยจังหวัดเพชรบุรีได้รับคัดเลือกเป็นเมืองสร้างสรรค์ด้านอาหาร

๓)กระบวนการขับเคลื่อนเมืองสร้างสรรค์ ข้อที่สำคัญคือ ๑๗ การเป็นหุ้นส่วนการพัฒนาที่ต้องสะท้อนให้เห็นว่ามีความร่วมมือกันอย่างแท้จริง โดยเน้นการสร้างความร่วมมือระหว่างภาคเอกชนและภาคประชาสังคม โดยจังหวัดสงขลาได้ร่วมกับองค์กร ๑๕ ภาคีรับรองใน กรอ. และตั้งเป็นคณะทำงานระดับจังหวัด ซึ่งจะบรรจุในแผนยุทธศาสตร์จังหวัด ได้รับการสนับสนุนจาก อบจ. โดยบรรจุในแผนและสนับสนุนต่อในการขับเคลื่อน

๔)ปัจจุบันอยู่ระหว่างการจัดทำข้อมูลประกอบการเขียน ซึ่งปี ๒๕๖๘ จะสามารถขับเคลื่อนเพื่อยื่นเสนอเป็นเมืองสร้างสรรค์ได้ ซึ่งหากผ่านการประเมินจะมีการสนับสนุนงบประมาณ โดยการได้เป็นเมืองสร้างสรรค์ จะมีเครือข่ายของเมืองในระดับโลก จะมีการประชุมแลกเปลี่ยนร่วมกัน จะมีเครือข่ายต่างๆ จำนวนมากและสามารถใช้ตรายูเนสโกกับเมืองได้ และเป็นแผนที่ในหมุดหมายของยูเนสโก ซึ่งนักท่องเที่ยวจะเข้ามาจำนวนมาก หัวใจอีกส่วนคือ เน้นให้คนรุ่นใหม่กลับมาที่เมืองและจัดสร้างอาชีพได้ เพื่อเป็นการส่งต่อความยั่งยืน

๕)ซึ่งตอนนี้มีการเก็บข้อมูลสูตรอาหารพื้นถิ่นของจังหวัดสงขลาในแต่ละทุกอำเภอ มีธีมหลักๆ คือวัฒนธรรมบนฐานภูมินิเวศน์ลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลา และพหุวัฒนธรรมที่เป็นหลัก สิ่งที่ยังขาดคือเรื่องของความเป็นนานาชาติ โดยปีหน้าจะจัดในเรื่องอาหารนานาชาติและจัดเครือข่ายเมืองสร้างสรรค์และการจัดทำเป็นเครือข่ายเมืองสร้างสรรค์ร่วมกับภูเก็ต และจังหวัดเพชรบุรี เพื่อแลกเปลี่ยนเมืองสร้างสรรค์ด้านอาหาร ซึ่งจะมีกิจกรรมรายละเอียดต่างๆ สิ่งที่กำลังขับเคลื่อนคือสมาคมเชฟ ของสงขลายังไม่มีสมาคมเชฟ ซึ่งจะมีการจัดตั้งสมาคมเชฟเพื่อขับเคลื่อน และการสร้างอาหารจากวัตถุดิบพื้นถิ่นและเชื่อมโยงกับการดูแลสิ่งแวดล้อม อาหารที่มาจากเกษตรอินทรีย์ ผลิตภัณฑ์ลดขยะ เป็นส่วนหนึ่งของเมืองสร้างสรรค์ด้านอาหาร และยังมีเรื่องของการถ่ายทอดอาหารผ่านศิลปะ ซึ่งสามารถทำเป็นที่ระลึกของเมืองได้อย่างมีเสน่ห์

๖)กระบวนการต่อไปคือเมื่อจัดตั้งคณะกรรมการระดับจังหวัด มีการผลักดันเป็นนโยบายระดับจังหวัด ซึ่งจะขับเคลื่อนได้ชัดเจนขึ้น และตรงไหนที่ขาดอยู่จะทำให้ครบ และบางอย่างที่เราเป็นจุดเด่นอยู่แล้วจะทำให้ชัดเจนขึ้นและจะมีการยื่นสมัครเป็นเมืองสร้างสรรค์ในปี ๒๕๖๘ ที่สำคัญคือการเขียนใบสมัคร ต้องเน้นให้มีเนื้อหาที่ชัดเจน ข้อดีของเมืองสร้างสรรค์คือต้องมีแผน ๕ ปีและแผนระดับจังหวัดที่จะมีต่อไปในอีก ๕ ปี ซึ่งเป็นข้อกำหนดของเมืองสร้างสรรค์มรดกโลก

#สงขลาเศรษฐกิจสร้างสรรค์

เขียนโดย ชาคริต โภชะเรือง

เผยแพร่  1 พฤศจิกายน 2565

Relate topics

personมุมสมาชิก

เยือนอเมริกา ดูงานมูลนิธิชุมชน

เยือนอเมริกา ดูงานมูลนิธิชุมชน.

เครือข่าย

เครือข่ายมูลนิธิชุมชน