จังหวะก้าวเครือข่ายพัฒนาเมืองสงขลา
จังหวะก้าวที่ดี ก้าวต่อไปของเครือข่ายพัฒนาเมืองสงขลา คือ การวิเคราะห์ข้อมูลภาพรวมทั้งเมือง ของเมืองบ่อยาง สงขลา โดย พอช.มีกำหนดนัดเปิดเวทีไว้แล้ว ประมาณปลายเดือนพฤศจิกายน ถึง ต้นเดือนธันวาคม 65
ทั้งนี้ทุกชุมชน ต้องลุกขึ้นมาจัดทำข้อมูลของชุมชนตนเองให้เรียบร้อย ส่วนที่ต้องซ่อม ยังพอมีเวลา ส่วนที่ยังไม่ทำ ก็ชวนกันลุกขึ้นมาทำ
-ชุมชนตั้งอยู่ในที่ดินกี่ประเภท ที่ราชพัสดุ /ที่ดินเอกชน / ที่ดินกรมเจ้าท่า/ที่ดินวัด / ที่ดินการรถไฟ
-มีโฉนด /สัญญาเช่า หรือ ไม่มี
ความต้องการ
-อยากมีบ้าน มีที่ดิน เป็นของตนเอง
-อยากอยู่ที่เดิม หรือย้ายไปพร้อมๆกัน ไปอยู่ที่อื่น
กรณีย้ายไปอยู่ที่อื่น ต้องการอยู่ในที่ดินแบบไหน ที่ดินหลวง หรือที่ดินมีโฉนด
ขอถือโอกาสชี้แจงสร้างความเข้าใจร่วมกันให้ตรงกันว่า พอช.และภาคีเครือข่ายฯ ที่สนับสนุน ไม่ได้ พัฒนาหรือแก้ไขหรือช่วยเหลือเฉพาะชุมชนในพื้นทีริมคลองสำโรงนะคะ
พวกเราทำพร้อมกันในทุกประเภทที่ดิน ทุกชุมชนในเขตเทศบาลนครสงขลา แต่ขึ้นอยู่กับมีแกนนำ แกนตาม แกนนอนและพ่อแม่พี่น้องที่ลุกขึ้นมา ด้วยความสมัครใจ ชวนกันลุกขึ้นมามากน้อยแค่ไหน
การมีระบบที่ดี และ ชัดเจน จึงจะทำให้พวกเรามีชีวิตที่ดีขึ้นจากเดิมได้
ข้อเขียนนี้ ถือเป็นการร่วมกันพัฒนาศักยภาพของพวกเราคนเมืองบ่อยางโดยนำมาจากสถานการณ์ที่เกิดขึ้นจริง
เมื่อวันที่ 5 พ.ย.65 ทางรายการต้องการเชิญผู้เข้าร่วมจำนวน 30 คนที่เกี่ยวข้องกับพื้นที่คลองสำโรงทั้งทางตรงและทางอ้อม โดยให้พี่อ้นช่วยดูๆ ก็ได้กลุ่มเป้าหมายมาจำนวน 22 คน แจ้งชื่อ - นามสกุลและหมายเลขโทรศัพท์ ให้ทีมงานไป
ส่วนพี่อ้นเองก็แจ้งไปที่ส่วนตัวของ ทั้ง 22 คน เพื่อยืนยันและสร้างความเข้าใจและกติกาที่ตรงกัน ส่วนหนึ่งแจ้งเจ้าตัวโดยตรง อีกส่วนหนึ่งแจ้งผ่านคนใกล้ชิด
เมื่อวานนี้ (6 พ.ย.) เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นจริงคือ กลุ่มเป้าหมาย 22 คน เข้าใจผิดคิดเองและไม่สอบถามก่อนว่า จะชวนเพื่อนชวนผู้ที่นอกเหนือจาก 22 คนนี้ไปด้วยได้มั้ย
สิ่งที่เกิดขึ้นจริงๆคือ
1.มีจำนวนคนมากกว่าจำนวนเก้าอี้ที่ทางรายการจัดเตรียมไว้
2.งบประมาณในการดูแลผู้เข้าร่วมรายการ เกินจำนวน กว่าที่ทางผู้จัดหรือเจ้าภาพจัดเตรียมไว้เป็นจำนวนมาก
3.ผู้เข้าร่วม ขาดการเคารพกติกา และมารยาทการอยู่ในที่ประชุม เนื่องจากเห็นว่า อยู่ในที่โล่งกว้าง กลางแจ้งและไม่ได้อยู่ห้องประชุม
4.การพูดคุยสะท้อนความคิด ไม่ตรงกับคำถาม และออกมาในลักษณะแสดงตนมากกว่าการตอบคำถามและเสนอแนวคิด
5.การบริหารจัดการเวลาต้องเคร่งครัดและให้เกียรติผู้จัดหรือเจ้าภาพ
พวกเรามาร่วมกันพัฒนาศักยภาพตนเองพร้อมๆกับการพัฒนาเมืองบ่อยาง นะคะ
วันที่ 7 พ.ย.65 ตัวแทนของกองทุน WWF เดินทางมาแจ้งความคืบหน้าเกี่ยวกับการทำงานด้านการจัดการขยะ(สิ่งแวดล้อม) ในพื้นที่เทศบาลนครสงขลา ดังนี้
1.การเซ็นสัญญาโครงการ กับเทศบาลนครสงขลา และชุมชนที่เข้าร่วมโครงการ ทางกองทุนฯเตรียมความพร้อมไว้แล้ว แต่ทางเทศบาลฯแจ้งว่า กองทุนฯ ต้องรอนายกเทศมนตรีนครสงขลาคนใหม่เข้ารับตำแหน่งเป็นที่เรียบร้อยก่อน และจะเป็นผู้ลงนามในสัญญา
2.กองทุนฯและมูลนิธิ Terra Cycle สนับสนุนงบประมาณด้านการจัดการขยะ (สิ่งแวดล้อม) ให้กับชุมชนที่อยู่ใน " เครือข่ายพัฒนาเมืองสงขลา" จำนวน 17 ชุมชน โดยจะมีกิจกรรมที่มีการออกแบบมาโดยเฉพาะสำหรับแต่ละชุมชน ซึ่งมูลนิธิ Terra Cycle จะสนับสนุนทุนต่อยอดเพื่อทำธุรกิจด้านการจัดการขยะแก่กลุ่มหรือชุมชนที่สนใจ
3.ขณะนี้กองทุนฯและมูลนิธิ Terra Cycle กำลังดำเนินการจัดสรรงบประมาณ ซึ่งคาดว่า จะเริ่มการเบิกจ่ายงบประมาณได้ในระยะเดือนมกราคม 2566 (เนื่องจากต้องรอการลงนามของนายกเทศมนตรีก่อน)
ขออนุญาตแจ้งผ่านกลุ่มนี้ เพื่อรับทราบความคืบหน้าพร้อมๆกันทั้งภาคีเครือข่ายและชุมชนในเครือข่ายพัฒนาเมืองสงขลา 17 ชุมชน
บุณย์บังอร ชนะโชติ บันทึกเรื่องราว
Relate topics
- จดหมายข่าวโครงการประชาสังคมร่วมแรงเพื่อเปลี่ยนแปลงเมือง (SUCCESS) ฉบับที่ 1 - 10
- ก้าวที่ 1 ของ iMedCare ธุรกิจเพื่อสังคมของสงขลา"
- "แผนผังภูมินิเวศ"
- เครือข่าย SUCCESS เมืองควนลังร่วมงานส้มโอเมืองควนลังปี 2567
- "ทีม iMedCare วิถีผู้ดูแลผู้ป่วยที่บ้าน"
- อังกฤษที่ผมเห็น ตอนที่ 11 - 21
- อังกฤษที่ผมเห็น ตอนที่ 1 - 10
- "iMed@home ระบบกลุ่ม"
- สมัชชาสุขภาพจังหวัดสงขลาชูวาระ "พลิกโฉมพลังพลเมืองสงขลาเพื่อสังคมสุขภาวะที่ยั่งยืน"
- กิจกรรมรับบริจาคโลหิตประชารัฐสงขลาประจำเดือนตุลาคม 2567