"SGS-PGS วางแผนการขับเคลื่อนปี 2565"

  • photo  , 1477x1108 pixel , 191,310 bytes.
  • photo  , 1080x810 pixel , 80,583 bytes.
  • photo  , 1080x810 pixel , 84,968 bytes.
  • photo  , 960x720 pixel , 116,070 bytes.
  • photo  , 960x720 pixel , 96,987 bytes.
  • photo  , 960x720 pixel , 98,712 bytes.
  • photo  , 960x720 pixel , 111,164 bytes.
  • photo  , 1477x1108 pixel , 133,433 bytes.
  • photo  , 1477x1108 pixel , 175,248 bytes.
  • photo  , 1477x1108 pixel , 192,017 bytes.
  • photo  , 1477x1108 pixel , 163,722 bytes.

"SGS-PGS วางแผนการขับเคลื่อนปี 2565"

วันที่ 24 ตุลาคม 2565 เครือข่ายเกษตรสุขภาพจังหวัดสงขลา และมูลนิธิชุมชนสงขลา ภายใต้การขับเคลื่อนร่วมสร้างเศรษฐกิจสร้างสรรค์ นัดเกษตรกรที่ผลิตแบบเกษตรอินทรีย์ซึ่งผ่านการรับรองมาตรฐานSGS-PGS จำนวน 28 แปลงมารับใบรับรอง

พร้อมกันนั้นได้ร่วมเรียนรู้รูปแบบการจัดการแปลงผัก/สวนผักตั้งแต่การวางแนวปกป้องแปลง การจัดโซนการผลิต/ผังแปลง รูปแบบการผลิต การจัดการปุ๋ย ข้อเสนอแนะจากกรรมการตรวจแปลง ซึ่งมีความหลากหลายของพื้นที่ ขนาดแปลง รูปแบบ ชนิดผัก ไม้ผล ทำให้มองเห็นจุดที่จะต้องปรับปรุง จุดประกายความคิด และเรียนรู้ทางเทคนิคไปปรับใช้

จากนั้นเกษตรกรได้ติดตั้ง Application :Green Smile สมัครสมาชิก และลงข้อมูลแปลงการผลิต เพื่อให้ Admin อนมุัติรับรองความเป็น SGS-PGS และให้แม่ข่าย ซึ่งประกอบด้วยวิสาหกิจหม่อนไหมใต้ร่มบุญและวิสาหกิจเกษตรสุขภาพควนลัง ดึงเข้าสู่สมาชิกของทีม เกษตรกรจะได้ Qrcode ของตนเองในการนำไปใช้เพื่อการตลาด การสื่อสารประชาสัมพันธ์ และเป็นระบบสอบย้อนผลผลิตสร้างความเชื่อมั่นให้กับผู้บริโภคต่อไป

และหารือความร่วมมือส่งเสริมการตลาด ซึ่งมูลนิธิชุมชนสงขลา/สมัชชาสุขภาพจังหวัด(4PW)และกขป.เขต 12 จะร่วมดำเนินการ นำแนวคิด "ตลาดนำการผลิต" มาใช้ โดยประสานความร่วมมือกับรพ. โรงแรม ร้านอาหาร ที่สนใจต้องการผลผลิตผัก ผลไม้ ข้าว สู่เมนูสุขภาพของตน โดยอาศัย Application : iGreensmile จัดส่งวัตถุดิบอาหารปลอดภัย ที่จะรองรับทั้งมาตรฐาน GAPและPGS โดยมีคู่ค้าคนกลางเป็นแม่ข่ายในการประสานงานกับลูกค้า ซึ่งจะนำเสนอข้อมูลความต้องการล่วงหน้ามาเปิดรับ order แล้วแม่ข่ายจะวางแผนการผลิตกับเกษตรกรในทีม เพื่อจัดส่งผลผลิตตาม order นั้น

ในช่วงพฤศจิกายน 2565 จะมีเวทีระดับอำเภอ ประสานเกษตรกรที่มีอยู่ในฐานข้อมูลราวสามพันคน ร่วมกับสหกรณ์เกษตรอำเภอ สสจ. และคู่ค้่าที่เป็นคนกลาง จัดเวทีสร้างความร่วมมือ พร้อมกับนำร่องในจุดที่มีความพร้อมเพื่อพัฒนาระบบการใช้งาน

พร้อมกับเปิดแนวคิดการตลาดรูปแบบอื่นๆ อาทิ การท่องเที่ยวเชิงเกษตร ซึ่งได้นำร่องในพื้นที่ตำบลควนลังไปแล้ว ความร่วมมือกับตลาดรถเขียว(ตลาดเคลื่อนที่)ในพื้นที่ศูนย์การค้า การลงข้อมูลต้นทุนการผลิตของเกษตรกรที่จะร่วมมือกับช.ช้างเกษตรในการจัดหาปัจจัยการผลิตเพื่อลดต้นทุนการผลิตให้กับกลุ่มเครือข่าย เป็นต้น

โดยเครือข่ายจะมีเวทีเรียนรู้พบกันอย่างสม่ำเสมอ ทุก 2 เดือน

personมุมสมาชิก

เยือนอเมริกา ดูงานมูลนิธิชุมชน

เยือนอเมริกา ดูงานมูลนิธิชุมชน.

เครือข่าย

เครือข่ายมูลนิธิชุมชน