“สถานการณ์ด้านเศรษฐกิจและสังคมสงขลา ในอีก ๕ ปีข้างหน้า”

by punyha @22 ต.ค. 65 13:33 ( IP : 171...59 ) | Tags : ข่าวสาร-ประชาสัมพันธ์ , 4PW
photo  , 1079x720 pixel , 75,417 bytes.

“สถานการณ์ด้านเศรษฐกิจและสังคมสงขลา ในอีก ๕ ปีข้างหน้า”

นำเสนอโดย นางจณิสตา จุลสุวรรณ์ ผู้แทนจากสำนักพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมภาคใต้ ในงานวันพลเมืองสงขลา ปี ๒๕๖๕ วันที่ ๒๗ กันยายน ๒๕๖๕ ณ โรงแรมเบญจพร อำเภอเมือง จังหวัดสงขลา


สถานการณ์เศรษฐกิจข้อมูลล่าสุด มูลค่าผลิตภัณฑ์รวมจังหวัดสงขลา รายงานปี ๒๕๖๓ มีขนาดเศรษฐกิจอยู่ที่ ๒๓๓,๗๓๓ ล้านบาท  ขนาดเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับหนึ่งของภาคใต้ ใหญ่เป็นลำดับที่ ๑๕ ของประเทศ เศรษฐกิจหลักคือภาคอุตสาหกรรม มีมูลค่าเศรษฐกิจ ๗๓,๕๓๖ ล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ ๓๑.๕ ผลิตภัณฑ์มวลรวม  ภาคบริการ ๒๙,๔๔๔ ล้านบาท ภาคเกษตรมูลค่า ๒๘,๔๙๑ ล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ ๑๒.๖ และ ๑๒.๒ ตามลำดับ


โครงสร้างเศรษฐกิจจังหวัดสงขลาภาคเกษตรมีแนวโน้มความสำคัญที่ลดลง จากสัดส่วนปี ๒๕๕๙ อยู่ที่ ๑๔.๑๓  ปี ๖๓ โครงสร้างเศรษฐกิจ ๑๒.๑๙ ในขณะที่ภาคอุตสาหกรรมมีแนวโน้มลดลงนิดหน่อยแต่ยังเป็นโครงสร้างสำคัญของเศรษฐกิจจังหวัดสงขลา ภาคสาขาบริการมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง จากปี ๒๕๕๙ ๕๐.๐๗ ปี ๒๕๖๓ การเจริญเติบโต ๕๖.๓๕ ภาคบริการมีความสำคัญเพิ่มขึ้นในจังหวัดสงขลา เมื่อพิจารณาการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจย้อนหลัง ๕ ปี จังหวัดสงขลามีภาคเกษตรมีแนวโน้มหดตัว ๒.๔๗ ในขณะเดียวกันภาคอุตสาหกรรม จากมีแนวโน้มลดลงแต่ในปี ๒๕๖๓ โตขึ้น พบว่ามีภาคที่น่าสนใจในช่วงโควิดที่ภาคอื่นหดตัวลง ขณะที่ภาคอุตสาหกรรมเติบโตขึ้นโดยเฉพาะอุตสาหกรรมถุงมือยางและส่วนของอุตสาหกรรมอาหาร โต ๐.๒ เปอร์เซนต์


ในส่วนของภาคบริการ จังหวัดสงขลาเริ่มมีปัญหาตั้งแต่ ปี ๖๓ จากสถานการณ์โควิด หดตัว ๓.๕ เมื่อดู ภาพรวมอัตราการเติบโตของจังหวัดเฉลี่ย ๕ ปี การขยายตัวลดลงไม่มากอยู่ที่ ๐.๖ ต่อปี เนื่องจากปี ๒๕๖๑ มีอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจค่อนข้างดี  ในขณะเดียวกันรายได้เฉลี่ยต่อหัว ๑๔๐,๕๖๒ ต่อคน/ต่อปี เป็นอันดับ ๖ ของภาคใต้และ เป็นลำดับที่ ๒๖ ของประเทศ รายได้เฉลี่ยต่อหัวต่อคน เดิมสูงสุดอยู่ที่จังหวัดภูเก็ตแต่ตอนนี้อยู่ที่จังหวัดชุมพร รายได้เฉลี่ยภาคใต้จังหวัดภูเก็ตก่อนโควิด หลังโควิดคือจังหวัดชุมพร


ภาคสาขาการผลิตหลัก จังหวัดสงขลาโครงสร้างการผลิตหลักคือสาขาอุตสาหกรรม โครงสร้างเชิงศกของอุตสาหกรรม ก๊าซธรรมชาติ ๒๗.๖๑ เปอร์เซ็นต์ ส่วนที่เหลือเป็นอุตสาหกรรมต่อเนื่องจากการแปรรูปภาคการเกษตร ไม่ว่าจะเป็นอุตสาหกรรมยาง ๒๐.๗๐ เปอร์เซ็นต์ อุตสาหกรรมอาหาร ๑๙.๑๘ เปอร์เซ็นต์ ผลิตภัณฑ์ไม้  ๑๐.๖๙ เปอร์เซ็นต์

ภาคอุตสาหกรรมปี ๖๓ การขยายตัวเพิ่มขึ้น ภาคการเกษตรจังหวัดสงขลาในช่วง ๕ ปีที่ผ่านมา ๔๘ เปอร์เซ็นต์เป็นการผลิตยางพารา ซึ่งยางพารามีปริมาณผลผลิตมากเป็นอันดับสองของภาคใต้รองจากสุราษฏร์ธานี ในส่วนของการผลิตพืชผัก ๑๘ เปอร์เซ็นต์ หรือคิดเป็นอันดับสองของการผลิต การประมงและการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ ๑๓  ผลไม้ ๗ % โค ๓  สุกร ๓ %  ข้าว ๒ เปอร์เซนต์


ภาคบริการ สาขาการผลิตที่สำคัญที่มีมูลค่าสูง ๕๖.๓๕ ช่วงปี ๒๕๖๓ การขยายตัวหดตัว แต่เมื่อเฉลี่ย ๕ ปี มีการลดลงไม่มาก ภาคบริการจังหวัดสงขลาที่สำคัญ ได้แก่ สาขาการค้าฯ คิดเป็นร้อยละ ๑๙.๓๘ การศึกษา ร้อยละ ๑๓.๘๗ การเงินฯ ร้อยละ ๑๑.๒๙ อสังหาริมทรัพย์ ร้อยละ ๑๑.๑๒ บริหารภาครัฐ ร้อยละ ๙.๒๕ และก่อสร้าง ร้อยละ ๙.๒๔

-สถานการณ์ด้านการท่องเที่ยว ผลกระทบจากโควิดส่งผลกระทบต่อการท่องเที่ยวในจังหวัดสงขลา จำนวนนักท่องเที่ยว ปี ๒๕๖๔ มีจำนวน ๕๓๒.๕ พันคน คิดเป็นร้อยละ ๘.๘๘ ของภาคใต้ ส่วนใหญ่เป็นนักท่องเที่ยวชาวไทย เนื่องจากมาเลเซียยังไม่เปิดประเทศ โดยเริ่มเปิดเป็นปกติในปี ๒๕๖๕ อัตราการขยายตัวเฉลี่ยในช่วง ๕ ปี (พ.ศ. ๒๕๖๐ – ๒๕๖๔) มีการหดตัวร้อยละ ๒๗.๒๘ ซึ่งสูงกว่าของภาคและประเทศ ทั้งนี้จำนวนนักท่องเที่ยวได้ลดลงจากผลกระทบโควิดตั้งแต่ปลายปี ๒๕๖๒ ต่อเนื่องจากจนถึงปี ๒๕๖๕ ที่เริ่มฟื้นตัวดีขึ้นจากการผ่อนปรนมาตรการโควิด-๑๙ และมาตรการการเดินทางระหว่างประเทศ การกลับมาเปิดให้บริการใน ปี ๒๕๖๕ คาดว่าแนวโน้มจะเติบโตอย่างแน่นอนเนื่องจากมีการเปิดเมืองการท่องเที่ยว รายได้จากการท่องเที่ยว มีแนวโน้มเป็นไปตามจำนวนนักท่องเที่ยวที่เปลี่ยนแปลงไป ร้อยละ ๐.๕ ของภาคใต้


การค้าชายแดนของจังหวัดสงขลา ปี ๒๕๖๔ มีมูลค่า ๓๓๕,๙๙๕.๗ ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ ๓๕.๗๐ ของมูลค่าการค้าชายแดนทั่วประเทศ  และร้อยละ ๙๘.๑๙ ของมูลค่าการค้าชายแดนไทย-มาเลเซีย โดยมีด่านชายแดนที่สำคัญ คือด่านสะเดาและด่านปาดังเบซาร์  สินค้าส่งออกสำคัญ ได้แก่ ยางพารา เครื่องคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์  รถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ สินค้านำเข้า ได้แก่ เทปแม่เหล็ก จานแม่เหล็กสำหรับคอมพิวเตอร์ ส่วนประกอบคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ ไดโอด ทรานซิสเตอร์และอุปกรณ์กึ่งตัวนำ ในส่วนของมูลค่าชายแดนไทยมาเลเซียมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น การเชื่อมโยงการค้าระหว่างจีนและประเทศเพื่อนบ้านและอาเซียนตอนล่าง การค้าชายแดนของจังหวัดสงขลาในปี ๒๕๖๕ มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น


สถานการณ์ด้านสังคมจังหวัดสงขลา ประชากรและความหนาแน่น ในปี ๒๕๖๓ จำนวน ๑.๔๗ ล้านคน คิดเป็น ๒.๑๖ ของประชากรประเทศ ความหนาแน่นของประชากร ๑๙๓ คนต่อตารางกิโลเมตร จังหวัดสงขลาต้องรับภาระในส่วนของประชากรแฝง เนื่องจากเป็นศูนย์กลางต่างๆศูนย์กลางราชการ การศึกษา และภาคอุตสาหกรรมที่ต้องใช้แรงงานต่างด้าว และเป็นศูนย์กลางแรงงานต่างด้าว แบกรับภาระประชากรแฝงสูงมาก  โครงสร้างประชากรสงขลาเริ่มเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ สัดส่วนผู้มีอายุ ๐-๑๔ ปี จำนวน ๑๙.๑๘ เปอร์เซ็นต์

สงขลามีอัตราการเกิดที่สูงกว่าสัดส่วนของประเทศ กลุ่มวัยแรงงาน มีจำนวน ๖๐.๕๕ % มีแนวโน้มลดลง หากเทียบกับระดับประเทศ ผู้สูงอายุ จำนวน ๑๖.๒๗ %  เมื่อวิเคราะห์การศึกษา คุณภาพการศึกษา เมื่อเทียบกับประเทศ จำนวนปีการศึกษาสงขลาค่อนข้างดี คิดเป็น ๑๐.๗๖ เปอร์เซ็นต์ของคนที่อยู่ในระบบการศึกษา  คนจังหวัดสงขลามีแนวโนมได้รับการศึกษาที่ดีขึ้น

กำลังแรงงานและการว่างงาน กำลังแรงงาน มีแรงงานสูง ปี ๒๕๖๓ มีกำลังแรงงาน ๘๖๓๕๓๕ คน มีเพียงต่อการขยายธุรกิจภาคบริการต่างๆ อัตตราการว่างงานปี ๖๔  ๒.๘๔ ร้อยคนไม่มีงานทำเกือบ ๓ คน หนี้สินครัวเรือน ปี ๒๕๖๒ หนี้สินครัวเรือนลดลง แต่ปัจจุบันมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นจากสถานการณ์เงินเฟ้อ หรือต้นทุนการผลิต โดยเฉพาะต้นทุนพลังงานที่เพิ่มขึ้น ภาวการณ์พึ่งพาและต้นทุนการบริโภคที่สูงขึ้น  สัดส่วนคนจนและความเหลื่อมล้ำ คิดเป็น  ๖.๐ % และช่วงโควิดเพิ่มขึ้น ๖.๖๖%  แนวโน้มคนจนเพิ่มขึ้น เหตุผลสำคัญคือจังหวัดสงขลาได้รับผลกระทบจากโควิด การจ้างงานลดลง ทำให้คนจนพึ่งพาสินค้าที่สูงขึ้นในการดำรงชีพ  ความเหลื่อมล้ำกลุ่มคนรวยและผู้มีรายได้น้อย ค่าความเหลื่อมล้ำแม้จะต่ำกว่าระดับประเทศ คือ ๐.๔๓ % การเหลื่อมล้ำของประชากรด้านรายได้มีแนวโน้มลดลง แต่อย่างไรก็ตามผลกระทบจากโควิดค่าความเหลื่อมล้ำของประชาชนในพื้นที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น


ผลกระทบจากที่ผ่านมา ปัจจัยที่มีผลกระทบจากการพัฒนา โดยเฉพาะจากสถานการณ์โควิดเป็นปัจจัยบวกในภาคอุตสาหกรรมแต่ผลกระทบที่รุนแรงมีมากกว่า ไม่สามารถทำการผลิตได้ ทำให้กระบวนการผลิตลดลงและภาคการท่องเที่ยวได้รับผลกระทบอย่างรุนแรงมาก โดยเฉพาะนักท่องเที่ยวจากการปิดประเทศและไม่สามารถรองรับนักท่องเที่ยวจากประเทศเพื่อนบ้าน ประเทศมาเลเซีย


ประเด็นท้าทายของจังหวัดสงขลา ในอีก ๕ ปี ข้างหน้า ประเด็นท้าทายในเรื่องของ

๑)การพัฒนาที่ต้องคำนึงถึงในเรื่องความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี ในยุคการพัฒนาเทคโนโลยีแบบก้าวกระโดด นำเทคโนโลยีดิจิตอลมาใช้ในทุกรูปแบบ ระบบออนไลน์ทุกชีวิต การดำรงชีวิตในการบริโภค ในเรื่องเศรษฐกิจสงขลามีเรื่องภาคการเกษตรที่ต้องอาศัยเทคโนโลยีเพื่อการผลิตมากขึ้น เพื่อลดต้นทุนหรือการแปรรูปและเพิ่มมูลค่า ในส่วนของภาคบริการใช้เทคโนโลยีเป็นเครื่องมือเพื่อลดต้นทุนและอำนวยความสะดวก ระบบการตลาดออนไลน์ที่มีบทบาทในการดำรงชีวิตของผู้ผลิตและผู้บริโภค ซึ่งจะเป็นโอกาสที่ดีให้จังหวัดสงขลาได้มีการพัฒนากระบวนการผลิตด้วยเทคโนโลยีดิจิตอล และจังหวัดเองต้องมีการเตรียมพร้อมคนให้มีความรู้เท่าทันเทคโนโลยีดิจิตอลที่ไม่ทำให้การดำรงชีวิตได้รับความเดือดร้อนจากดิจิตอล ซึ่งมีความสุ่มเสี่ยงในกลุ่มเด็กและเยาวชนที่ต้องควบคุมการใช้เทคโนโลยีเพื่อให้ใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อการพัฒนา

๒)การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของโลก การเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิโลกมีความรุนแรงของภัยธรรมชาติ ทำให้เกิดโรคอุบัติใหม่/อุบัติซ้ำ หรือภาคการเกษตร โครงสร้างการผลิตที่สำคัญคือยางพาราที่ต้องอาศัยการเจริญเติบโตที่เหมาะสม สภาพอากาศที่แปรปรวนทำให้ผลผลิตยางพาราที่ลดลงและผลผลิตไม้ผลที่มีแนวโน้มลดลงจากปริมาณน้ำฝนที่ทำให้ต้นไม้ไม่เจริญเติบโตที่เหมาะสม และเกิดโรคระบาดต่างๆ โดยเฉพาะโรคระบาดในสัตว์เลี้ยงและโรคระบาดในโรคพืช เช่นโรคเชื้อราในยางพารา ซึ่งต้องเพิ่มต้นทุนในการแก้ปัญหาโรคระบาด และผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงจากสภาพภูมิอากาศที่ทำให้เกิดอุทกภัยมากขึ้น

๓)การระบาดของโรคอุบัติใหม่ โควิดเป็นตัวอย่างที่ดีของโรคระบาดที่เกิดขึ้น ส่งผลกระทบทางด้านเศรษฐกิจและสังคม และการใช้ชีวิตจากการดำเนินมาตรการต่างๆ เช่น ต้องล็อคดาวน์ประเทศ และในขณะเดียวกันก็เป็นโอกาสในอนาคตหากมีการปรับตัว ในอนาคตจังหวัดสงขลามีมหาวิทยาลัยที่มีการวิจัยนวัตกรรมต่างๆ ในการวางแผนการพัฒนาในการผลิตพืชสมุนไพรหรืองานวิจัยนวัตกรรมทางการแพทย์ หรือการผลิตอุตสาหกรรมยางให้เป็นอุตสาหกรรมปลายน้ำ การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างทางสังคม ผู้สูงอายุที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น โครงสร้างกำลังวัยแรงงาน และเป็นศูนย์การศึกษาของภาคที่สามารถพัฒนาคนและกำลังแรงงานเพื่อรองรับในพื้นที่อื่นๆ และภาคการลงทุนอื่นๆที่สำคัญเพื่อให้พัฒนารองรับภาคการผลิต สังคมจังหวัดสงขลาต้องพึ่งพาเทคโนโลยีเพิ่มมากขึ้น เตรียมรองรับสังคมผู้สูงอายุ จังหวัดสงขลามีศักยภาพในการพัฒนาผู้สูงอายุที่มีศักยภาพสามารถพัฒนาการเติบโตของภาคได้

๔)การบริโภคที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ในเรื่องของอุตสาหกรรมอาหารที่เป็นอุตสาหกรรมเชื่อมโยงกับอุตสาหกรรมอาหารทะเลที่เชื่อมโยงกับพฤติกรรมของผู้บริโภครุ่นใหม่ที่เน้นการดูแลสุขภาพ โดยต้องให้ความสำคัญในการพัฒนา โดยอาจนำโมเดล BCG มาใช้เพื่อให้เกิดการพัฒนาที่ยั่งยืน

๕)สถานการณ์สงครามที่อาจจะเกิดขึ้นในอนาคต ซึ่งเรามีต้นทุนในเรื่องของพลังงาน ราคาน้ำมัน ภาคการค้าการขนส่งที่จังหวัดสงขลาต้องให้ความสำคัญหากมีการเชื่อมโยงทางการค้าที่มีการส่งออก  ในอนาคตสินค้าจะส่งออกในประเทศมหาอำนาจ เช่น จีน อเมริกา อินเดีย ซึ่งจะมีเรื่องของการกีดกันทางการค้า กรอบความร่วมมือต่างๆ ซึ่งประเทศไทยต้องเลือกขั้วอำนาจที่เป็นประโยชน์ในการตัดสินใจในการพัฒนาประเทศ

๖)ปัญหาเงินเฟ้อ ผลกระทบจากเศรษฐกิจที่มีแนวโน้มถดถอยทั่วโลกและระดับประเทศ คาดว่าจะมีการประกาศในตลาดทุน มีการนำเงินลงทุนกลับไปสู่ต่างประเทศเพิ่มมากขึ้น ผลกระทบจากเศรษฐกิจถดถอยทั่วโลกจะเป็นปัจจัยสำคัญที่จะส่งผลกระทบต่อภาวะเศรษฐกิจของประเทศและส่งผลต่อระดับจังหวัดสงขลา เพื่อนำไปสู่การวางแผนในการพัฒนาจังหวัดสงลาต่อไป

personมุมสมาชิก

เยือนอเมริกา ดูงานมูลนิธิชุมชน

เยือนอเมริกา ดูงานมูลนิธิชุมชน.

เครือข่าย

เครือข่ายมูลนิธิชุมชน