งานวันพลเมืองสงขลา 2565 EP 2

by punyha @30 ก.ย. 65 07:36 ( IP : 171...163 ) | Tags : ข่าวสาร-ประชาสัมพันธ์ , 4PW
  • photo  , 1477x1108 pixel , 168,191 bytes.
  • photo  , 1477x1108 pixel , 158,623 bytes.
  • photo  , 1477x1108 pixel , 176,756 bytes.
  • photo  , 1477x1108 pixel , 159,874 bytes.
  • photo  , 960x720 pixel , 85,447 bytes.
  • photo  , 1477x1108 pixel , 156,344 bytes.
  • photo  , 1477x1108 pixel , 149,947 bytes.
  • photo  , 1477x1108 pixel , 162,348 bytes.

"งานวันพลเมืองสงขลาปี 2565 วันที่สอง"

วันที่สองของงานวันพลเมืองสงขลา ตรงกับวันที่ 28 กันยายน 2565 ภาคเช้า ณ ห้องเพิ่มพูน โรงแรมเบญจพร มีผู้เข้าร่วม 140 คน ในห้องย่อยหลังจากนำเสนอ VTR ผลการดำเนินงานขององค์กรภาคีความร่วมมือ ด้าน "สังคมเป็นสุข" มีการนำเสนอกรณีศึกษา สำคัญ โดยเฉพาะการรับมือโควิดที่ผ่านมา

เริ่มด้วย Hatyai sand box บทเรียนการรับมือโควิดหาดใหญ่  โดย ดร.ไพโรจน์ ชัยจิระธิกุล บอกเล่าการมีส่วนร่วมของภาคเอกชน ประชาสังคม จับมือกับภาคสาธารณสุขและท้องถิ่นในการรับมือโควิดในพื้นที่ โดยเฉพาะการรวมตัวของอาสาสมัคร เส้นด้าย ร่วมตรวจเชิงรุก ระดมทรัพยากร อาสาสมัครมีส่วนร่วมกระทั่งสถานการณ์คลี่คลาย

ตามด้วยแนวทางการดูแลกลุ่มเปราะบาง เยาวชนนอกระบบการศึกษา โดยนางสาวกัญนภัส จันทร์ทอง สมาคมอาสาสร้างสุข บอกเล่าช่องว่างการทำงาน อาทิ ฐานข้อมูลที่จะช่วยชี้เป้าเด็กที่ขาดโอกาสทางการศึกษา / เด็กนอกระบบการศึกษา หน่วยงานด้านการศึกษาขาดการเชื่อมโยงข้อมูล ปัญหาเด็กแขวนลอย ที่จะต้องส่งเข้า กศน. หรือหน่วยงานภาคประชาชนที่โฟกัสด้านการศึกษามีน้อยมาก และสถานการณ์โควิดกับการเรียนออนไลน์ เป็นตัวเร่งให้เด็กหลุดจากระบบ

ต่อด้วย iMedCare ระบบการดูแลผู้ป่วยที่บ้าน โดย ดร.แสงอรุณ อิสระมาลัย ที่ต่อยอดงานวิจัยในการดูแลผู้ป่วยติดเตียงและผู้สูงอายุ จนพัฒนาหลักสูตรเฉพาะขึ้นมาบริการ และร่วมกับมูลนิธิชุมชนสงขลา พัฒนาPlatform iMedCare และผู้ดูแลที่บ้านมาดูแลผู้ป่วยติดบ้านติดเตียง

และบ้านหลบมุมชุมชนใหม่ โดย นายนายพัชฐ์สิชณ ศรประสิทธิ์ กำนันตำบลพะตง เล่าสภาพการทำงานกับชุมชนในพื้นที่อุตสาหกรรมที่เต็มไปด้วยแรงงานต่างชาติ ต่างถิ่น ผู้บุกรุกที่ดินรถไฟ และบ้านเช่า ที่จะต้องอยู่ร่วมกับประชากรดั้งเดิมบนสำนึกคนบ้านเดียวกัน

จากนั้นเป็นการเสนอร่างทิศทางการสร้างสังคมเป็นสุขสงขลาในอีก 5 ปีข้างหน้า ที่ร่างโดยผศ.ณัฏฐาพงศ์  อภิโชติเดชาสกุล มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา โดย รศ.ดร.จุฑารัตน์ สถิรปัญญา สร้างอาสาสมัครเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตและคุณภาพสังคม พัฒนากลไกสู่การสร้างเมืองแห่งความปลอดภัย ยกระดับแนวคิดสังคมไม่ทอดทิ้งกันเพื่อลดความเหลื่อมล้ำทางสังคม ขับเคลื่อนมรดกทางวัฒนธรรมสู่เมืองสร้างสรรค์

ภาคบ่ายเป็นการนำเสนอห้องย่อย เศรษฐกิจสร้างสรรค์ โดย รศ.ดร.จุฑารัตน์ สถิรปัญญา สิ่งแวดล้อมยั่งยืน โดย ผศ.ดร.นฤทธิ์ ดวงสุวรรณ และสังคมเป็นสุข โดย รศ.ดร.จุฑารัตน์ สถิรปัญญา และให้ข้อเสนอแนะเพิ่มเติมโดย นายจารึก ไชยรัตน์ สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ(สช.) ดำเนินรายการโดย นายบัญชร วิเชียรศรี ที่จะนำข้อเสนอแนะไปสู่การวางแผนปฎิบัติการ เชื่อมโยงเครือข่ายความร่วมมือ บางส่วนก็ผลักดันเข้าสู่ฝ่ายนโยบายทั้งจังหวัดและท้องถิ่น รวมถึงการจับมือกันร่วมดำเนินการในส่วนภาคีความร่วมมือ โดยจะนำผลการจัดกิจกรรมไปนำเสนอในการประชุม 15 ภาคีบริหารจัดการอีกด้วย

ทั้งนี้เป้าร่วมดังกล่าว แกนนำของภาคีความร่วมมือจะนำไปสู่การกำหนดตัวชี้วัด วางแนวการดำเนินงานร่วมกันต่อไป โดยเน้นรูปแบบการทำงานของเครือข่ายแนวราบ มีการประสานการขับเคลื่อนร่วมกัน

พิธีปิด เริ่มด้วยการกล่าวสรุปงานแบบศิลปินหนังตะลุง โดยนายประเสริฐ รักษ์วงศ์ เลขานุการสมาคมศิลปินพื้นบ้าน และปิดการประชุม โดย นางสาวปรินดา ปาลาเร่ รองนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดสงขลา ที่ประกาศความพร้อมของอบจ.ที่จะร่วมกับภาคีเครือข่ายในการพัฒนาจังหวัด


ชมย้อนหลัง

ห้องสังคมเป็นสุข




พิธีปิด

personมุมสมาชิก

เยือนอเมริกา ดูงานมูลนิธิชุมชน

เยือนอเมริกา ดูงานมูลนิธิชุมชน.

เครือข่าย

เครือข่ายมูลนิธิชุมชน