งานวันพลเมืองสงขลา 2565 EP 1
"งานวันพลเมืองสงขลาปี 2565 วันแรก"
ปีนี้จัดขึ้นตรงกับวันที่ 27 กันยายน 2565 องค์กรภาคีเครือข่ายในพื้นที่จังหวัดสงขลาร่วม 30 องค์กรร่วมมือกันจัดงานวันพลเมืองสงขลา เพื่อสานพลังความร่วมมือ ภายใต้แนวคิด 15 ปีวิสัยทัศน์สงขลา 2570 มีทั้งการนำเสนอผลงานของ 28 องค์กร การปาฐกถา การนำเสนอข้อมูลสถานการณ์ด้านเศรษฐกิจ สังคมจากสภาพัฒน์ฯ การจุดประกายกรณีศึกษาดีๆ การเสนอเป้าหมายร่วมการดำเนินการในด้านเศรษฐกิจสร้างสรรค์ สังคมเป็นสุข สิ่งแวดล้อมยั่งยืน และการออกบู๊ท
โดยจัดขึ้น ณ ห้องเพิ่มพูนและห้องมั่งมีศรีสุข โรงแรมเบญจพร อำเภอเมือง จังหวัดสงขลา มีสมาชิกเข้าร่วมในวันแรก 148 คน มีการถ่ายทอดสดตลอดกิจกรรมผ่านเพจ พลเมืองสงขลา สถานีวิทยุม.อ สงขลาโฟกัส และเครือข่าย
เริ่มด้วยการแสดงจากม.ราชภัฎสงขลา การกล่าวรายงานวัตถุประสงค์และแนวทางดำเนินงานโดย ดร.สมพร สิริโปราณานนท์ ผู้ก่อตั้งมูลนิธิชุมชนสงขลา และการปาฐกถาพิเศษจาก นายบัญญัติ จันทน์เสนะ กล่าวถึงพัฒนาการของสงขลานับแต่สมัยท่านเป็นผู้ว่า กระทั่งมีโอกาสได้ก่อตั้ง 15 ภาคีบริหารจัดการ เข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนาจังหวัด ผ่านการจัดทำวิสัยทัศน์สงขลา 2570 และผลการดำเนินงาน 15 ปีที่ผ่านมา
จากนั้นมีการนำเสนอผลงานของภาคีความร่วมมือชุดแรก ต่อด้วยการนำเสนอ “สถานการณ์ด้านเศรษฐกิจและสังคมสงขลา ในอีก 5 ปีข้างหน้า”
โดย นางจณิสตา จุลสุวรรณ์ ผู้แทนจากสำนักพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมภาคใต้ บนฐานข้อมูลปัจจุบัน พร้อมชี้ประเด็นสำคัญที่ควรคำนึงในอนาคต อาทิ การเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยี การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ การเปลี่ยนโครงสร้างประชากร โรคอุบัติใหม่ ภาวะเงินเฟ้อ ราคาน้ำมันแพงจากเงื่อนไขสงคราม เป็นต้น
ต่อด้วยการเสวนาจาก 3 มุมมองต่อภาพอนาคตสงขลา ได้แก่ นายนิพัทธ์ อุดมอักษร เลขานุการนายกอบจ.สงขลา รศ.ดร.ณฐพงศ์ จิตรนิรัตน์ ผู้แทนภาควิชาการ นายชัยวุฒิ บุญวิวัฒนาการ ผู้แทนภาคเอกชน ดำเนินรายการโดย นางสาวอรุณรัตน์ แสงละออง สถานีวิทยุ ม.อ. ชี้ให้เห็นความเปลี่ยนแปลงหลังยุคโควิด ที่ท้องถิ่นมีบทบาทกว่าโลกาภิวัฒน์ และทุนของสงขลา การต่อยอดภูมิปัญญาท้องถิ่นและฐานทร้พยากรที่หลากหลายนำเทคโนโลยีและวิทยาศาสตร์เข้ามาเติมเต็ม ยกระดับเพิ่มมูลค่า
ช่วงบ่ายมีการแยกห้องย่อย "เศรษฐกิจสร้างสรรค์" นำเสนอกรณีศึกษา ที่มีทั้งแนวคิดการสร้างเศรษฐกิจหมุนเวียน การยกระดับผลผลิตทางเกษตร อาหารเพื่อสุขภาพ การสร้างเศรษฐกิจฐานราก พร้อมกับวางเป้าหมายการขับเคลื่อนในอีก 5 ปีข้างหน้า อาทิ สงขลาเมืองเก่าสู่มรดกโลก สงขลาเมืองสร้างสรรค์ด้านอาหาร UNESCO เกษตรสุขภาพเพื่อเศรษฐกิจฐานราก
เกษตรกรรมยั่งยืน ความมั่นคงทางอาหาร การท่องเที่ยวชุมชน
ห้องย่อย "สิ่งแวดล้อมยั่งยืน" นำเสนอผลการประเมินความเปราะบางของ 4 เมืองที่มีต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ได้แก่ เมืองบ่อยาง เมืองควนลัง เมืองพะตง เมืองปาดังเบซาร์ รวมถึงการสร้างมาตรการชั่วคราวแก้ปัญหากัดเซาะชายฝั่งของทต.ม่วงงาม ชี้ให้เห็นปัจจัยกายภาพที่กำลังเปลี่ยนแปลงจากฝีมือมนุษย์ และความแปรปรวนไม่แน่นอนของสภาพภูมิอากาศ ขณะที่กลุ่มเปราะบางทางสังคมไม่มีส่วนร่วมในการรับมือ โดยนักวิจัยชุมชนของแต่ละเมืองร่วมกันศึกษาและนำเสนอผล เพื่อสร้่างความร่วมมือในการแก้ปัญหากับหน่วยงานภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง พร้อมชี้เป้า 5 ปี ริเริ่มกิจกรรม“นวตกรรม” ด้านสิ่งแวดล้อมยั่งยืน ทางเลือก การประสานสถาบันศาสนากับสิ่งแวดล้อม การต่อยอดกิจกรรมเด่น การทำงานแบบมีส่วนร่วมและความร่วมมือเครือข่าย การวิจัยชุมชน เป็นต้น
ชมคลิปย้อนหลัง
พิธีเปิด
ห้องย่อยเศรษฐกิจสร้างสรรค์
ห้องย่อยสิิ่งแวดล้อมยั่งยืน
Relate topics
- จดหมายข่าวโครงการประชาสังคมร่วมแรงเพื่อเปลี่ยนแปลงเมือง (SUCCESS) ฉบับที่ 1 - 10
- ก้าวที่ 1 ของ iMedCare ธุรกิจเพื่อสังคมของสงขลา"
- "แผนผังภูมินิเวศ"
- เครือข่าย SUCCESS เมืองควนลังร่วมงานส้มโอเมืองควนลังปี 2567
- "ทีม iMedCare วิถีผู้ดูแลผู้ป่วยที่บ้าน"
- อังกฤษที่ผมเห็น ตอนที่ 11 - 21
- อังกฤษที่ผมเห็น ตอนที่ 1 - 10
- "iMed@home ระบบกลุ่ม"
- สมัชชาสุขภาพจังหวัดสงขลาชูวาระ "พลิกโฉมพลังพลเมืองสงขลาเพื่อสังคมสุขภาวะที่ยั่งยืน"
- กิจกรรมรับบริจาคโลหิตประชารัฐสงขลาประจำเดือนตุลาคม 2567