"SUCCESS 6 เมืองภาคใต้"
"SUCCESS 6 เมืองภาคใต้"
ปัญหาเปลี่ยน มาตรการเปลี่ยน
1.การประเมินความเปราะบางของคณะทำงาน 6 เมืองในพื้นที่ภาคใต้ ได้แก่ เมืองบ่อยาง พะตง ควนลัง และปาดังเบซาร์ของจังหวัดสงขลา เมืองละงู จังหวัดสตูลและเมืองโตนดด้วน จังหวัดพัทลุง พบประเด็นสำคัญ
1.1 บริบทเมืองที่เปลี่ยนไป ตั้งแต่การใช้ประโยชน์ที่ดิน เพื่อที่อยู่อาศัยเพิ่มมากขึ้น เชิงพาณิชย์มากขึ้น พื้นที่สีเขียวลดลง มีการเปลี่ยนสิทธิ์จากมือคนพื้นที่เป็นเอกชนต่างถิ่น, ประชากรแฝงต่างถิ่น ต่างด้าวเพิ่มมากขึ้น กระจัดกระจาย เมื่อเกิดสาธารณภัยล้วนเข้าไม่ถึงสิทธิพื้นฐาน, การเปลี่ยนทางน้ำ ขวางทางน้ำจากการถมที่เพื่อการพัฒนา, การแก้ปัญหาน้ำท่วม น้ำแล้ง แยกส่วนจากกัน ส่วนใหญ่ใช้มาตรการสิ่งก่อสร้าง และเป็นแนวทางแก้ปัญหาเพื่อสนองตอบปัญหาในอดีต ขณะที่ปัจจุบันและอนาคตเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม เท่ากับเป็นการไล่ตามปัญหา แก้ปัญหาเฉพาะหน้ามากกว่ามองเชิงระบบ
1.2 การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ พบรูปแบบการเปลี่ยนแปลงมากขึ้น ตั้งแต่รูปแบบการตกของฝน ที่มีการตกแช่ในพื้นที่ปริมาณมากและท่วมฉับพลัน ระบายไม่ทัน ฝนตกไม่ตรงตามฤดูกาล ฤดูกาลเปลี่ยนแปลงไม่แน่นอน หน้าร้อนน้ำท่วม ภาวะน้ำแล้งเพิ่มมากขึ้น, อุณหภูมิสูงขึ้น เกิดจากพฤติกรรมมนุษย์ การใช้พลังงาน สารเคมี การเผาไหม้ โดยสรุปคือรูปแบบของสภาพอากาศเปลี่ยนแปลงไม่อาจคาดเดา ไม่แน่นอน
1.3 กลุ่มเปราะบาง ส่วนใหญ่เข้าไม่ถึงข้อมูล ไม่มีส่วนร่วมในการแก้ปัญหา มักเป็นฝ่ายตั้งรับ ใช้ทุนประสบการณ์ ญาติพี่น้องและเครือข่ายช่วยเหลือกันเองก่อนได้รับความช่วยเหลือจากรัฐ เพศหญิงจะไม่มีส่วนเข้าไปตัดสินใจการแก้ปัญหา แต่รับรู้ผลกระทบที่เกิดในระดับครัวเรือน
ข้อค้นพบเหล่านี้นำมาสู่การปรับทัศนคติในการทำงานใหม่ หลายมาตรการที่เคยใช้ไม่อาจนำมาใช้แบบเดิม ด้วยเหตุแห่งปัญหาได้เปลี่ยนไปแล้ว
แนวทางรับมือและปรับตัว
1)เมืองละงู เน้นแนวคิดพัฒนาองค์กรระดับลุ่มน้ำ "ละงู:สายน้ำมีชีวิต" เปลี่ยนมุมมองต่อสายน้ำว่าเป็นสิ่งมีชีวิตเท่าเทียมกับมนุษย์ เชื่อมโยงเครือข่ายต้นน้ำ กลางน้ำ ปลายน้ำที่แยกส่วนจากกันมาร่วมกันวางมาตรการ/กติกา ผ่านธรรมนูญสายน้ำมีชีวิต ฟิ้นฟูทรัพยากรสำคัญ คือ เต่ากระอาน หอยปุ้งปิ้ง
2)เมืองโตนดด้วย ใช้แนวทาง "สายน้ำสายชีวิต" ฟื้นฟูสายคลองย่อยที่มีทุกหมู่บ้าน จัดทำธนาคารน้ำใต้ดิน ฝายมีชีวิต ประดุจเส้นเลือกฝอยหล่อเลี่้ยงแผ่นดินให้มีชีวิต สร้างกติกาการใช้ระบบนิเวศในการรับมือและป้องกันอุทกภัย และรองรับการท่องเที่ยวอย่างสมดุล
3)เมืองบ่อยาง ยกระดับเครือข่ายพัฒนาเมืองเป็นองค์กรนิติบุคคลที่เข้มแข็ง พัฒนาศักยภาพ เชื่อมประสานผังและแผนชุมชนเพื่อรับมือสาธารณภัย สร้างธนาคารคนเมือง สร้างชุมชนสีเขียวลดขยะ ปรับสภาพแวดล้อมด้วยสวนผักคนเมือง
4)เมืองควนลัง ใช้กรรมการไตรภาคีร่วมกำหนดทิศทางการพัฒนา สร้างเครือข่ายผู้ใช้น้ำที่มีทั้งเกษตรกร กลุ่มเปราะบาง ผู้อยู่อาศัยมากำหนดกติกาการใช้น้ำอย่างเป็นธรรม พร้อมกับเตรียมพร้อมสู่การเป็นพื้นที่ผลิตอาหาร รักษาพื้นที่สีเขียวให้เกิดประโยชน์ต่อระบบนิเวศ
5)เมืองพะตง ใช้แนวติด "พะตงบ้านฉัน" มองเห็นประชากรทั้งต่างด้าว ต่างถิ่น สถานประกอบการโรงงาน และคนดั้งเดิม ล้วนเป็นคนบ้านเดียวกัน อาศัยอยู่ในบ้านหลังเดียวกัน ร่วมกำหนดแนวทางการพัฒนา
6)เมืองปาดังเบซาร์ ใช้แนวคิด "มิตรภาพสองแผ่นดิน" สร้างเมืองไร้มลพิษจากการขนส่งจราจร การเผาไหม้ข้ามแดน มีความปลอดภัยจากอุบัติเหตุ การขนส่ง น่าอยู่ด้วยพลเมืองจิตอาสา ร่วมคิด ร่วมทำ
ทุกเมืองเน้นกรรมการที่มาจากผู้มีส่วนเกี่ยวข้องมาทบทวนแนวคิด แนวทางดำเนินการ ทำงานเชิงรุกรับมือปัญหาที่จะเกิดในอนาคต พร้อมกับมาตรการปฎิบัติการเพื่อสร้่างตัวอย่างการรับมือและปรับตัว
6 กันยายน 2565
Relate topics
- จดหมายข่าวโครงการประชาสังคมร่วมแรงเพื่อเปลี่ยนแปลงเมือง (SUCCESS) ฉบับที่ 1 - 10
- ก้าวที่ 1 ของ iMedCare ธุรกิจเพื่อสังคมของสงขลา"
- "แผนผังภูมินิเวศ"
- เครือข่าย SUCCESS เมืองควนลังร่วมงานส้มโอเมืองควนลังปี 2567
- "ทีม iMedCare วิถีผู้ดูแลผู้ป่วยที่บ้าน"
- อังกฤษที่ผมเห็น ตอนที่ 11 - 21
- อังกฤษที่ผมเห็น ตอนที่ 1 - 10
- "iMed@home ระบบกลุ่ม"
- สมัชชาสุขภาพจังหวัดสงขลาชูวาระ "พลิกโฉมพลังพลเมืองสงขลาเพื่อสังคมสุขภาวะที่ยั่งยืน"
- กิจกรรมรับบริจาคโลหิตประชารัฐสงขลาประจำเดือนตุลาคม 2567