"iGreenSmile"
"iGreenSmile"
ในที่สุด Platform iGreenSmile :ระบบบริหารจัดส่งวัตถุดิบอาหารปลอดภัยสู่โรงครัวโรงพยาบาล โรงแรม ร้านอาหาร เวอร์ชั่นแรกก็พร้อมที่จะใช้งาน ด้วยการเชิญกลุ่มเกษตรกรมาทดสอบการใช้ระบบ
"iGreenSmile กับกลุ่มใต้ร่มบุญ"
Application iGreenSmile ดำเนินการโดยมูลนิธิชุมชนสงขลาและเครือข่ายเกษตรสุขภาพจังหวัด ภายใต้การสนับสนุนจากสำนักงานนวตกรรมแห่งชาติ(NIA) ออกแบบมาเพื่อบริหารจัดการวัตถุดิบอาหารปลอดภัยและอินทรีย์ล่วงหน้าเข้าสู่โรงครัวโรงพยาบาล โรงแรม ร้านอาหาร ฯลฯ ไม่ได้เปิดใช้ทั่วไป แต่ใช้เฉพาะ 3 กลุ่ม user ที่ผ่านการตกลงความร่วมมือกันเท่านั้น
ขั้นตอนแรก User สมัครสมาชิก แล้วรอให้ Admin กลางอนุมัติการใช้งาน
1.กรณีลูกค้า แบ่งเป็น โรงพยาบาล โรงแรม ร้านอาหาร โมเดิร์นเทรด ศูนย์การค้า อื่นๆ
2.คู่ค้า แบ่งเป็น บริษัท/ห้างหุ้นส่วน วิสาหกิจ สหกรณ์การเกษตร อื่นๆ
3.เกษตรกร แบ่งเป็นมาตรฐาน GAP และเกษตรอินทรีย์ เกษตรกรที่จะเข้าสู่ระบบจะค้องผ่านการรองรับมาตรฐานแล้วเท่านั้น
จากนั้น User แต่ละประเภทบันทึกข้อมูลเข้าสู่ระบบ
1.กรณีลูกค้า สมัครสมาชิกแล้ว บันทึกข้อมูลชนิดผัก ผลไม้ ข้าว ที่ต้องการพร้อมราคา มาตรฐาน ช่วงเวลารับส่ง สามารถส่งข้อมูลภาพรวมที่ต้องการทั้งหมด เพื่อให้เกษตรกรได้เข้าถึงข้อมูลความต้องการทางการตลาดร่วมกัน จากนั้นระบุคำสั่งซื้อเฉพาะผลผลิตที่เปิดให้คู่ค่าเสนอการสั่งจองรับส่งผลผลิต ลูกค้าจะเป็นผู้กำหนดว่าจะให้คู่ค้าใด จากนั้นก็รอรับผลผลิต
2.กรณีคู่ค้า สมัครสมาชิกแล้ว จะมองเห็นข้อมูลจากลูกค้าที่ตนเลือกเป็นเป้าหมาย สั่งจองคำสั่งการผลิต เมื่อลูกค้ายืนยันคำสั่งการผลิตแล้ว จะวางแผนการผลิต ส่งให้กับกลุ่มเกษตรกรในสังกัด ทำการผลิตและส่งผลผลิตตามคำสั่งซื้อ 3.กรณีเกษตรกร ได้รับคำสั่งการผลิตแล้ว จะมาวางแผนการผลิต และส่งผลผลิต
วิสาหกิจชุมชนหม่อนผลแปรรูปกลุ่มใต้ร่มบุญ แผนกอินทรีย์ ต.พะตง อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา จะเป็นกลุ่มเกษตกรที่จะร่วมใช้ระบบเป็นกลุ่มแรก ประกอบด้วยกลุ่มย่อย ได้แก่
1.กลุ่มสไมล์ฟาร์ม มีสมาชิก 7 คน
2.กลุ่มทองเต็มพริ้มฟาร์ม สมาชิก 1 คน
3.โชกุนฟาร์ม สมาชิก 1 คน
4.ปันสุขฟาร์ม สมาชิก 24 คน
5.จงบายใจ สมาชิก 23 คน
6.ตานูนฟาร์ม สมาชิก 1 คน
7.ลุงเผิน สมาชิก 3 คน
8.สุวรรณรัตน์ฟาร์ม สมาชิก 2 คน
แต่ละกลุ่มกระจายอยู่ในหลายอำเภอ ได้แก่ คลองหอยโข่ง สะเดา เทพา หาดใหญ่ การปรึกษาหารือระหว่างกันใช้กลุ่ม line หรือผ่านระบบประชุมทางไกล โดยแต่ละกลุ่มเรียนรู้การจัดการการผลิตไม่ต่างกันนัก และได้รับมาตรฐาน PGS มาแล้ว ต้องการผลผลิตในวิถีเกษตรอินทรีย์ส่งให้กับผู้บริโภค
ข้อเสนอแนะของกลุ่มต่อการใช้งานก็คือ จำแนกมาตรฐานการผลิตใน platform ให้ชัดว่าเป็นเกษตรปลอดภัย และเกษตรอินทรีย์ และลูกค้าสามารถส่งคำสั่งซื้อให้กับคู่ค้าที่ผ่านการตกลงกันแล้วได้โดยตรง
การทำงานร่วมกับทีมกลาง วิสาหกิจจะนัดหมายหัวหน้ากลุ่มมากำหนดแนวทางร่วมกันในการใช้งานระบบ ตั้งแต่การประชุมร่วมกันทุกสัปดาห์ผ่านระบบประชุมทางไกล การประสานหน่วยงานเข้ามาสนับสนุนแก้ปัญหาการผลิต การฝึกใช้งานระบบ พร้อมส่งข้อมูลพื้นฐานของเกษตรกรในกลุ่ม ได้แก่ ชื่อ ที่อยู่ เบอร์ติดต่อ พิกัด มาตรฐานที่ได้รับพร้อมใบรับรอง
โดยระยะที่สอง ระบบจะออกแบบการวางแผนการผลิต การลงบันทึกต้นทุนการผลิต กระบวนการผลิต ปัญหาที่พบ เพื่อใช้ประโยชน์ร่วมกันต่อไป
หมายเหตุ Platform GreenSmile ประกอบด้วยระบบย่อย 3 ส่วนได้แก่
1)ระบบฐานข้อมูลเกษตรกรระดับจังหวัด www.communeinfo.com บันทึกข้อมูล ชื่อ ที่อยู่ ที่ติดต่อ มาตรฐาน ขนาดแปลง ชนิดผลผลิต ปัจจุบันมีข้อมูลเกษตรกรอยู่ในระบบ 3100 กว่าราย ระบบนี้จะให้หน่วยงานต่างๆที่เกี่ยวข้อง ได้สามารถเข้าถึงข้อมูลกลางนี้ร่วมกัน รวมถึงข้อมูลความต้องการผลผลิตในภาพรวมที่จะได้จาก app iGreenSmile
2)Application GreenSmile รองรับเกษตรกรที่ผ่านการผลิตแบบอินทรีย์สำหรับผัก ผลไม้ สวนยางยั่งยืน ปศุสัตว์ และธนาคารต้นไม้ และสนับสนุนการทำงานของเครือข่ายเกษตรสุขภาพแต่ละจังหวัด
3)Application iGreenSmile รองรับการตลาดเชื่อมโยงลูกค่า คู่ค้า และเกษตรกรเข้าสู่การบริหารจัดการวัตถุดิบอาหารผัก ผลไม้ ข้าวสู่โรงพยาบาล โรงแรม ร้านอาหาร ฯลฯ
iGreenSmile
แต่ละขั้นตอนต้องรอบคอบ ก่อนใช้งาน คุยทีมก่อนที่จะให้ USER ได้ทดสอบการใช้งาน ไล่ดูภาพรวมของ App อีกครั้ง
พบในส่วนที่จะต้องเพิ่มเติม
1)ขั้นตอนสมัครสมาชิก เพื่ออำนวยความสดวกให้สอดคล้องกับพฤติกรรมของ User การสมัครสมาชิกเพียงแค่กรอกชื่อ นามสกุล และอีเมล์ ก็ยังไม่พอ ให้เพิ่มเบอร์โทรเพื่อให้สามารถใช้เป็น password ได้ง่ายกว่าการให้ Admin อนุมัติสิทธิ์แล้วแจ้งผลไปทางอีเมล์ ส่วนใหญ่เกษตรกรอาจไม่ได้ใช้อีเมล์ในชีวิตประจำวัน
เพิ่มประเภทย่อยของแต่ละuserหลักทั้ง 4 ได้แก่ ลูกค้า/คู่ค้า/กลุ่มเกษตรกร/เกษตรกร และใช้สีเป็นสัญลักษณ์ เพิ่มสีเกษตรกรเป็นสีน้ำตาล รวมถึงเพิ่มในส่วนของคู่ค้า/กลุ่มเกษตรกร/เกษตรกรให้เลือกมาตรฐาน ได้แก่ เกษตรปลอดภัย/เกษตรอินทรีย์
2)ปรับการเขียนโปรแกรมในส่วนของการแก้ไขย้อนกลับบางรายการ การให้มีการยืนยันซ้ำเพื่อกันกรณีมือไปโดนไม่ได้ตั้งใจ การทำให้เกิดการรับรู้ถึงความแตกต่างเมื่อได้กดใช้งานไปแล้ว
3)เพิ่มการใช้งานของกลุ่มเกษตรกร ให้ทันการทดสอบระบบ
Relate topics
- จดหมายข่าวโครงการประชาสังคมร่วมแรงเพื่อเปลี่ยนแปลงเมือง (SUCCESS) ฉบับที่ 1 - 10
- ก้าวที่ 1 ของ iMedCare ธุรกิจเพื่อสังคมของสงขลา"
- "แผนผังภูมินิเวศ"
- เครือข่าย SUCCESS เมืองควนลังร่วมงานส้มโอเมืองควนลังปี 2567
- "ทีม iMedCare วิถีผู้ดูแลผู้ป่วยที่บ้าน"
- อังกฤษที่ผมเห็น ตอนที่ 11 - 21
- อังกฤษที่ผมเห็น ตอนที่ 1 - 10
- "iMed@home ระบบกลุ่ม"
- สมัชชาสุขภาพจังหวัดสงขลาชูวาระ "พลิกโฉมพลังพลเมืองสงขลาเพื่อสังคมสุขภาวะที่ยั่งยืน"
- กิจกรรมรับบริจาคโลหิตประชารัฐสงขลาประจำเดือนตุลาคม 2567