iGreenSmile กับกลุ่มใต้ร่มบุญ
iGreenSmile กับกลุ่มใต้ร่มบุญ
Application iGreenSmile ออกแบบมาเพื่อบริหารจัดการวัตถุดิบอาหารปลอดภัยและอินทรีย์ล่วงหน้าเข้าสู่โรงครัวโรงพยาบาล โรงแรม ร้านอาหาร ฯลฯ ไม่ได้เปิดใช้ทั่วไป แต่ใช้เฉพาะ 3 กลุ่ม user ที่ผ่านการตกลงความร่วมมือกันเท่านั้น
ขั้นตอนแรก User สมัครสมาชิก แล้วรอให้ Admin กลางอนุมัติการใช้งาน
1.กรณีลูกค้า แบ่งเป็น โรงพยาบาล โรงแรม ร้านอาหาร โมเดิร์นเทรด ศูนย์การค้า อื่นๆ
2.คู่ค้า แบ่งเป็น บริษัท/ห้างหุ้นส่วน วิสาหกิจ สหกรณ์การเกษตร อื่นๆ
3.เกษตรกร แบ่งเป็นมาตรฐาน GAP และเกษตรอินทรีย์ เกษตรกรที่จะเข้าสู่ระบบจะค้องผ่านการรองรับมาตรฐานแล้วเท่านั้น
จากนั้น User แต่ละประเภทบันทึกข้อมูลเข้าสู่ระบบ
1.กรณีลูกค้า สมัครสมาชิกแล้ว บันทึกข้อมูลชนิดผัก ผลไม้ ข้าว ที่ต้องการพร้อมราคา มาตรฐาน ช่วงเวลารับส่ง สามารถส่งข้อมูลภาพรวมที่ต้องการทั้งหมด เพื่อให้เกษตรกรได้เข้าถึงข้อมูลความต้องการทางการตลาดร่วมกัน จากนั้นระบุคำสั่งซื้อเฉพาะผลผลิตที่เปิดให้คู่ค่าเสนอการสั่งจองรับส่งผลผลิต ลูกค้าจะเป็นผู้กำหนดว่าจะให้คู่ค้าใด จากนั้นก็รอรับผลผลิต
2.กรณีคู่ค้า สมัครสมาชิกแล้ว จะมองเห็นข้อมูลจากลูกค้าที่ตนเลือกเป็นเป้าหมาย สั่งจองคำสั่งการผลิต เมื่อลูกค้ายืนยันคำสั่งการผลิตแล้ว จะวางแผนการผลิต ส่งให้กับกลุ่มเกษตรกรในสังกัด ทำการผลิตและส่งผลผลิตตามคำสั่งซื้อ
3.กรณีเกษตรกร ได้รับคำสั่งการผลิตแล้ว จะมาวางแผนการผลิต และส่งผลผลิต
วิสาหกิจชุมชนหม่อนผลแปรรูปกลุ่มใต้ร่มบุญ แผนกอินทรีย์ ต.พะตง อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา ประกอบด้วยกลุ่มย่อย ได้แก่
1.กลุ่มสไมล์ฟาร์ม มีสมาชิก 7 คน
2.กลุ่มทองเต็มพริ้มฟาร์ม สมาชิก 1 คน
3.โชกุนฟาร์ม สมาชิก 1 คน
4.ปันสุขฟาร์ม สมาชิก 24 คน
5.จงบายใจ สมาชิก 23 คน
6.ตานูนฟาร์ม สมาชิก 1 คน
7.ลุงเผิน สมาชิก 3 คน
8.สุวรรณรัตน์ฟาร์ม สมาชิก 2 คน
แต่ละกลุ่มกระจายอยู่ในหลายอำเภอ ได้แก่ คลองหอยโข่ง สะเดา เทพา หาดใหญ่
การปรึกษาหารือระหว่างกันใช้กลุ่ม line หรือผ่านระบบประชุมทางไกล โดยแต่ละกลุ่มเรียนรู้การจัดการการผลิตไม่ต่างกันนัก และได้รับมาตรฐาน PGS มาแล้ว ต้องการผลผลิตในวิถีเกษตรอินทรีย์ส่งให้กับผู้บริโภค
ข้อเสนอแนะของกลุ่มก็คือ จำแนกมาตรฐานการผลิตใน platform ให้ชัดว่าเป็นเกษตรปลอดภัย และเกษตรอินทรีย์ และลูกค้าสามารถส่งคำสั่งซื้อให้กับคู่ค้าที่ผ่านการตกลงกันแล้วได้โดยตรง
การทำงานร่วมกับทีมกลาง วิสาหกิจจะนัดหมายหัวหน้ากลุ่มมากำหนดแนวทางร่วมกันในการใช้งานระบบ ตั้งแต่การประชุมร่วมกันทุกสัปดาห์ผ่านระบบประชุมทางไกล การประสานหน่วยงานเข้ามาสนับสนุนแก้ปัญหาการผลิต การฝึกใช้งานระบบ พร้อมส่งข้อมูลพื้นฐานของเกษตรกรในกลุ่ม ได้แก่ ชื่อ ที่อยู่ เบอร์ติดต่อ พิกัด มาตรฐานที่ได้รับพร้อมใบรับรอง
โดยระยะที่สอง ระบบจะออกแบบการวางแผนการผลิต การลงบันทึกต้นทุนการผลิต กระบวนการผลิต ปัญหาที่พบ เพื่อใช้ประโยชน์ร่วมกันต่อไป
หมายเหตุ Platform GreenSmile ประกอบด้วยระบบย่อย 3 ส่วนได้แก่
1)ระบบฐานข้อมูลเกษตรกรระดับจังหวัด www.communeinfo.com บันทึกข้อมูล ชื่อ ที่อยู่ ที่ติดต่อ มาตรฐาน ขนาดแปลง ชนิดผลผลิต ปัจจุบันมีข้อมูลเกษตรกรอยู่ในระบบ 3100 กว่าราย ระบบนี้จะให้หน่วยงานต่างๆที่เกี่ยวข้อง ได้สามารถเข้าถึงข้อมูลกลางนี้ร่วมกัน รวมถึงข้อมูลความต้องการผลผลิตในภาพรวมที่จะได้จาก app iGreenSmile
2)Application GreenSmile รองรับเกษตรกรที่ผ่านการผลิตแบบอินทรีย์สำหรับผัก ผลไม้ สวนยางยั่งยืน ปศุสัตว์ และธนาคารต้นไม้ และสนับสนุนการทำงานของเครือข่ายเกษตรสุขภาพแต่ละจังหวัด
3)Application iGreenSmile รองรับการตลาดเชื่อมโยงลูกค่า คู่ค้า และเกษตรกรเข้าสู่การบริหารจัดการวัตถุดิบอาหารผัก ผลไม้ ข้าวสู่โรงพยาบาล โรงแรม ร้านอาหาร ฯลฯ
Relate topics
- จดหมายข่าวโครงการประชาสังคมร่วมแรงเพื่อเปลี่ยนแปลงเมือง (SUCCESS) ฉบับที่ 1 - 10
- ก้าวที่ 1 ของ iMedCare ธุรกิจเพื่อสังคมของสงขลา"
- "แผนผังภูมินิเวศ"
- เครือข่าย SUCCESS เมืองควนลังร่วมงานส้มโอเมืองควนลังปี 2567
- "ทีม iMedCare วิถีผู้ดูแลผู้ป่วยที่บ้าน"
- อังกฤษที่ผมเห็น ตอนที่ 11 - 21
- อังกฤษที่ผมเห็น ตอนที่ 1 - 10
- "iMed@home ระบบกลุ่ม"
- สมัชชาสุขภาพจังหวัดสงขลาชูวาระ "พลิกโฉมพลังพลเมืองสงขลาเพื่อสังคมสุขภาวะที่ยั่งยืน"
- กิจกรรมรับบริจาคโลหิตประชารัฐสงขลาประจำเดือนตุลาคม 2567