"SUCCESS พะตง"

by punyha @17 มิ.ย. 65 08:44 ( IP : 171...85 ) | Tags : ข่าวสาร-ประชาสัมพันธ์ , โครงการ SUCCESS
  • photo  , 960x541 pixel , 118,138 bytes.
  • photo  , 960x1280 pixel , 206,965 bytes.
  • photo  , 1108x1477 pixel , 157,918 bytes.
  • photo  , 960x1280 pixel , 182,525 bytes.
  • photo  , 960x720 pixel , 144,589 bytes.
  • photo  , 960x720 pixel , 131,439 bytes.
  • photo  , 960x720 pixel , 115,305 bytes.
  • photo  , 960x1280 pixel , 210,216 bytes.
  • photo  , 1477x1108 pixel , 202,952 bytes.
  • photo  , 1704x961 pixel , 181,974 bytes.
  • photo  , 960x541 pixel , 77,281 bytes.
  • photo  , 960x541 pixel , 101,169 bytes.
  • photo  , 960x541 pixel , 100,300 bytes.
  • photo  , 960x540 pixel , 148,014 bytes.
  • photo  , 1704x961 pixel , 198,496 bytes.
  • photo  , 960x541 pixel , 90,028 bytes.
  • photo  , 1704x961 pixel , 172,456 bytes.
  • photo  , 1704x961 pixel , 200,563 bytes.
  • photo  , 960x541 pixel , 115,342 bytes.
  • photo  , 960x541 pixel , 110,985 bytes.
  • photo  , 960x541 pixel , 128,326 bytes.
  • photo  , 960x541 pixel , 93,988 bytes.
  • photo  , 960x540 pixel , 105,248 bytes.
  • photo  , 960x541 pixel , 95,667 bytes.
  • photo  , 960x540 pixel , 137,635 bytes.

"SUCCESS พะตง"

วันที่ 15 มิถุนายน 2565  คณะทำงานโครงการ SUCCESS เมืองพะตง นำดร.ผกามาศ ถิ่นพังงา และทีมงานมูลนิธิชุมชนสงขลา มูลนิธิ SCCCRN ลงพื้นที่ชุมชนบ้านหลบมุม ชุมชนแสนสุข และหมู่บ้านเด็กโสสะ อันเป็นพื้นที่ประเมินความเปราะบาง

เมืองพะตง เป็นพื้นที่ทำงานอย่างต่อเนื่องกับสถาบันสิ่งแวดล้อมไทย ตั้งแต่โครงการ ACCCRN ได้พัฒนาระบบเตือนภัยและแผนรับมือน้ำท่วมกับชุมชนต้นลุงและประธานคีรีวัฒน์ 10 ปีผ่านไป สภาพปัญหาน้ำท่วมเปลี่ยนมาเป็นการท่วมแบบฉับพลันจากสภาพพื้นที่เป็นทางผ่าน และระบบระบายน้ำ พื้นที่รับน้ำหายไป มีการถมที่จากโครงการหมู่บ้านจัดสรรและการบุกรุกที่ดินรถไฟ

สภาพปัญหาด้านสังคมเพิ่มมากขึ้นจากการมีบ้านเช่าจำนวนมาก ขยะมากขึ้น คนต่างชาติ ต่างถิ่น มากขึ้น จำนวนราว 6 พันคน (4 พันคนเป็นของเครือข่ายศรีตรัง) นายทุนเจ้าของเป็นคนต่างถิ่นไม่ค่อยให้ความร่วมมือ แต่ก็ยังมีพื้นที่สีเขียวที่รักษาเอาไว้อีกพอสมควร ปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศพบภัยแล้งหนักๆถึง 2 ครั้งในรอบ 10 ปี บางแห่งทต.จำเป็นต้องหาน้ำมาให้ ขณะที่พบแรงงานในสถานประกอบการขนาดเล็ก หรือมีกิจการรับช่วงต่อในพื้นที่จำนวนมากขึ้น(รู้ข้อมูลจากสถานการณ์โควิด)

แนวทางหลักๆที่จะแก้ปัญหา 1)การบริหารจัดการน้ำ

พัฒนากลไกบริหารจัดการน้ำที่มีหน่วยงานที่เกี่ยวข้องมาร่วมงานกัน จัดทำแผนการใช้งานให้ครอบคลุมทั้งน้ำท่วม น้ำใช้ น้ำเสีย วิเคราะห์การใช้น้ำในอนาคตที่สอดคล้องกับการพัฒนา การเปลี่ยนแปลง โดยมีมาตรการสำคัญ 1.ให้มีการสร้างผังระบายน้ำ จัดให้มีคูน้ำหลัก รอง ที่มีความกว้างยาวผ่านการวิเคราะห์ปริมาณน้ำอย่างเหมาะสม พร้อมกับประสานทางหลวงให้มีช่องระบายน้ำตามแนวถนนมากขึ้น 2.มีระบบน้ำสำรองกักน้ำไว้ใช้ในอนาคตที่จะมีความต้องการมากขึ้น โดยประสานกับอบต.พะตงที่อยู่ใกล้ป่าต้นน้ำ มีแหล่งต้นทุนน้ำในพื้นที่ 3.พัฒนาระบบนิเวศ ปลูกป่าริมคลอง สร้างกิจกรรมอนุรักษ์และเพิ่มความหลากหลายทางชีวภาพ รักษาพื้นที่รับน้ำธรรมชาติ ทางน้ำธรรมชาติ

2)สร้างการมีส่วนร่วมในการพัฒนาระดับชุมชน โดยเฉพาะบ้านหลบมุมที่มีบ้านเช่า บ้านที่บุกรุกที่ดินรถไฟ ให้มีตัวแทนแรงงานต่างถิ่น ต่างด้าวมาร่วมเป็นกรรมการ มีการสื่อสารต่อกันในฐานะที่ยอมรับการเป็นสมาชิกของชุมชน เรียนรู้ภาษาพื้นฐานของแรงงานต่างด้าว เพื่อร่วมกันกำหนดกติกาเพื่อการอยู่ร่วมกัน และร่วมกับพอช.แก้ปัญหาร่วมกับชุมชนในการจัดระเบียบชุมชนรุกที่การรถไฟ

3)ร่วมกับสถานีอนามัยเฉลิมพระเกียรติ จัดระบบบริการเพื่อรองรับสังคมสูงวัย เพิ่มทักษะผู้ให้บริการ จัดให้มีผู้ดูแลที่บ้านสร้างวิสาหกิจเพื่อชุมชนในการสร้างรายได้

4)ร่วมกับวิสาหกิจใต้ร่มบุญ ต.พะตง รวมกลุ่มจัดส่งผลผลิตเกษตรอินทรีย์สู่ตลาด

personมุมสมาชิก

เยือนอเมริกา ดูงานมูลนิธิชุมชน

เยือนอเมริกา ดูงานมูลนิธิชุมชน.

เครือข่าย

เครือข่ายมูลนิธิชุมชน