"ความร่วมมือกับโครงการชลประทานสงขลา"

by punyha @16 มิ.ย. 65 14:14 ( IP : 171...163 ) | Tags : ข่าวสาร-ประชาสัมพันธ์ , โครงการ SUCCESS
  • photo  , 1567x1045 pixel , 148,450 bytes.
  • photo  , 1080x1440 pixel , 127,892 bytes.
  • photo  , 1080x810 pixel , 104,521 bytes.
  • photo  , 1080x810 pixel , 89,179 bytes.
  • photo  , 1080x810 pixel , 89,274 bytes.
  • photo  , 1704x961 pixel , 187,775 bytes.
  • photo  , 1704x961 pixel , 192,262 bytes.
  • photo  , 1704x961 pixel , 203,997 bytes.

"ความร่วมมือกับโครงการชลประทานสงขลา"

วันที่ 13 มิถุนายน 2565 คณะทำงานโครงการ SUCCESS เมืองควนลัง มูลนิธิชุมชนสงขลา และดร.ผกามาศ ถิ่นพังงา จากสถาบันสิ่งแวดล้อมไทย เข้าพบ ผอ.โครงการชลประทานสงขลา  ผอ.โครงการส่งน้ำและบำรุงรักษา เขต 16 และทีมงานเพื่อหารือความร่วมมือการบริหารจัดการน้ำในพื้นที่โครงการ ณ ห้องประชุม 1 โครงการชลประทานสงขลา

ร่วมเรียนรู้โครงสร้างการทำงานของชลประทานในระดับพื้นที่ ขอบเขตรับผิดชอบ แนวทางบริหารความเสี่ยงในการจัดทำโครงการ รวมถึงข้อจำกัดในการทำงานในหลายภารกิจที่ประชาชนทั่วไปยังไม่รู้ และการโอนถ่ายบางภารกิจไปให้ท้องถิ่นรับผิดชอบ พร้อมตอบข้อซักถาม และร่วมแลกเปลี่ยนแนวทางการบริหารจัดการน้ำ มีข้อสรุปการทำงานร่วมกันดังนี้

1.เห็นด้วยกับการบริหารจัดการน้ำในภาพรวม ที่จะต้องบูรณาการการทำงานร่วมกันระหว่างหน่วยงานต่างๆ อาทิ ชลประทาน ประปา ศูนย์อุตุฯ สถาบันวิชาการ อปท. ชุมชน บนฐานภูมินิเวศของลุ่มน้ำย่อย การทำงานร่วมกันจะเป็นอีกตัวอย่างพื้นที่ในการขยายผลในระดับชาติกับสถาบันสิ่งแวดล้อมไทยต่อไป

2.พัฒนากลไกหรือฟอรั่มการปรึกษาหารือร่วมกัน เพื่อร่วมกำหนดทิศทาง จัดทำแผนบริการจัดการน้ำตามสภาพปัญหา(กรณีควนลังคือ การใช้น้ำเพื่อการเกษตร น้ำใช้ในครัวเรือน) ศักยภาพ รับมือกับภาวะการเปลี่ยนแปลงของภูมิอากาศที่ไม่แน่นอน เริ่มจากการพูดคุยอย่างไม่เป็นทางการสร้างความไว้วางใจต่อกัน ค่อยๆพัฒนาความร่วมมือ ประสานคนที่เกี่ยวข้องเข้ามาทำงานร่วมกัน ในแต่ละเมือง(ควนลัง พะตง โตนดด้วน ละงู) โดยมูลนิธิชุมชนสงขลาจะทำหนังสือประสานงานมาเพื่อให้ชลประทาน มอบหมายภารกิจให้มีผู้รับผิดชอบเข้าร่วมหารือกับแต่ละพื้นที่ต่อไป

3.ร่วมเสริมศักยภาพและสร้างการมีส่วนร่วมของเครือข่ายผู้ใช้น้ำในแต่ละพื้นที่ จำแนกประเภทผู้ใช้น้ำตามสภาพปัญหา โดยประสานให้เกิดการทำงานร่วมกันเพื่อช่วยเสนอแนะแนวทางการแก้ปัญหา ร่วมให้ข้อมูล สร้างช่องทางสือสารข้อมูลเพื่อการเตือนภัย เฝ้าระวังความเสี่ยง และนำข้อมูล/ความรู้ไปใช้ในการรับมือและปรับตัว

การพบกันคราวนี้ได้ร่วมแลกเปลี่ยนผลการศึกษาประเมินความเปราะบางของเมืองในแต่ละมิติโดยเฉพาะการเปลี่ยนแปลงการใช้ประโยชน์ที่ดิน การถมที่ เปลี่ยนทางน้ำ รวมถึงบทบาทของภาคส่วนต่างๆที่เกี่ยวข้องอีกด้วย

personมุมสมาชิก

เยือนอเมริกา ดูงานมูลนิธิชุมชน

เยือนอเมริกา ดูงานมูลนิธิชุมชน.

เครือข่าย

เครือข่ายมูลนิธิชุมชน