ชวนภาคีเครือข่ายร่วมฟื้นฟูสร้างสรรค์ป่าต้นน้ำสงขลา

by punyha @9 มิ.ย. 65 09:39 ( IP : 171...125 ) | Tags : ข่าวสาร-ประชาสัมพันธ์ , 4PW
  • photo  , 960x720 pixel , 103,602 bytes.
  • photo  , 960x720 pixel , 114,586 bytes.
  • photo  , 960x753 pixel , 128,399 bytes.

ฟื้นฟูสร้างสรรค์ป่าต้นน้ำสงขลา

วันที่  19-20 มิถุนายน 2565  เยาวชน ทสม. ผาดำ จับมือนักศึกษา ฟื้นฟูสร้างสรรค์ป่าต้นน้ำ ณ น้ำตกป่าต้นน้ำ ผาดำ อำเภอคลองหอยโข่ง จังหวัดสงขลาให้ “ป่าสมบูรณ์ ต้นน้ำสะอาด คนอยู่ร่วมกับป่าอย่างยั่งยืน”

สร้างเสริมประสบการณ์ชีวิตในป่า เพื่อการฟื้นฟูรักษาป่าต้นน้ำด้วยการดูแลตนเองและช่วยเหลือกันและกัน

ความร่วมมือร่วมใจ ปกปักษ์รักษาป่าต้นน้ำ ของผองเพื่อนชาวผาดำ ที่สืบทอดต่อเนื่องกันมาจากรุ่นสู่รุ่น จนบัดนี้

กิจกรรมพิทักษ์ รักษาป่าต้นน้ำได้ย่างก้าวสู่ ”ยุคแห่งการฟื้นฟู”  ซึ่งยุวชน ทสม.ผาดำ  จึงมีจิตอาสาที่จะเข้าไปศึกษาเรียนรู้สภาพและทำการเก็บขยะในป่าต้นน้ำผาดำ เพื่อให้เป็นแหล่งต้นน้ำที่สะอาด ปลอดภัย

วัตถุประสงค์

1.เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบันของป่าต้นน้ำผาดำ

2.เพื่อการวางรูปแบบแนวทางสำหรับการฟื้นฟูรักษาป่าต้นน้ำผาดำ

3.เพื่อการติดตามดูแลพืชพันธุ์และต้นไม้ที่ผู้มีจิตอาสาได้เคยปลูกไว้ให้สมบูรณ์ต่อไป

4.เพื่อเก็บขยะตามลำธาร ห้วยหนอง พื้นที่ป่าต้นน้ำผาดำ

ผลที่คาดว่าจะได้รับ

-เยาวชนบริเวณพื้นที่ป่าต้นน้ำผาดำ ได้ตระหนักถึงการฟื้นฟูสภาพป่าต้นน้ำผาดำ

-เกิดแรงบันดาลแก่เยาวชนและคนทั่วไป ในอันที่จะช่วยกันรักษาป่าต้นน้ำ ตลอดจนจะเกิดความรักความร่วมมือกันของภาคส่วนต่างๆ ในการสร้างสรรค์สิ่งแวดล้อม เมืองสงขลา

ผู้เข้าร่วมกิจกรรม จำนวน 50 คน ประกอบด้วย เยาวชนบริเวณพื้นที่ป่าผาดำ 30 คน ผู้พิทักษ์ป่าผาดำอาวุโส 15 คน เยาวชนเมืองอาสา 5 คน

ขั้นตอนการดำเนินกิจกรรม

-ประสานงาน เยาวชน ทสม.ผาดำและผู้เกี่ยวข้องเพื่อเตรียมความพร้อมในกิจกรรม

-ประสานการสนับสนุน แนวทางกิจกรรมคณะกรรมการเมืองเพื่อการสนับสนุนกิจกรรมจากมูลนิธิพิทักษ์ป่าต้นน้ำสงขลา มูลนิธิชุมชนสงขลาและอื่นๆ

กำหนดการ  2 วัน  1 คืน

19 มิ.ย. 65

09.00 พร้อมกันที่โรงเรียนบ้านเก่าร้าง อ.คลองหอยโข่ง

10.00 ออกเดินทางเข้าป่าผาดำ

11.00 ถึงลานที่พักแรม จัดเตรียมW ที่พักแรมและ ร่วมกันรับประทานอาหารเที่ยง

13.00 - 16.00 กิจกรรมสำรวจ ซ่อมแซมและเก็บขยะ ทำความสะอาดพื้นที่ป่าต้นน้ำ ย่านน้ำตกผาดำ

16.00 - 17.00 พักผ่อนตามอัธยาศัย

17.00 - 18.00 อาหารเย็นและจัดเตรียมที่พัก.

18.00 - 19.00 เป็นต้นไป สรุปผล และบรรเลงเพลงกล่อมป่า

20 มิ.ย. 65

เช้าตรู่ เตรียมตัว เตรียมอาหารเช้า

08.00  แลกเปลี่ยนเรียนรู้ ทบทวนแนวทาง การฟื้นฟูรักษาป่า ต้นน้ำสงขลา

19.30 เดินทางกลับ

หมายเหตุ  ผู้เข้าร่วมกิจกรรมฟื้นฟูรักษาป่าต้นน้ำ จะใช้วิธีการใช้ชีวิตในพื้นที่ป่า ด้วยการดูแลตนเองและช่วยเหลือกันและกันเป็นสำคัญ เช่นนี้แล้ว ผู้เข้าร่วมกิจกรรมทุกคนต้องเตรียมความพร้อมของตนเอง สำหรับการปรุงอาหาร รวมถึงอุปกรณ์เครื่องนอนสำหรับการพักแรมกลางป่า

การสนับสนุนจากมูลนิธิพิทักษ์ป่าต้นน้ำสงขลา  ข้าวสาร 30 ก.ก.  อาหารแห้ง เครื่องปรุง น้ำดื่มและเวชภัณฑ์ทาผิว


บันทึกชวนอ่าน

น้ำตกผาดำ ต้นน้ำคลองอู่ตะเภา กับ พญานาคสีดำ ตระกูลกัณหาโคตะมา

เมื่อวันที่ 31 พค. 2565 ได้มีโอกาสเดินทางเพื่อไปผจญภัยสู่ธรรมชาติ เทือกเขาแก้ว ที่น้อยคนนักที่มีโอกาสเข้าไปสัมผัสธรรมชาติ อันเงียบสงบ ได้ยินเพียงสายน้ำไหลจากน้ำตก อันมีชื่อว่า น้ำตกผาดำ อันนามแห่งนี้ ดูก็น่าเกรงขามแล้ว น้ำตกผาดำ อยู่ในเขตพื้นที่ ของอ.คลองหอยโข่ง จ.สงขลา

ผมเดินทางจากหาดใหญ่  สภาพอากาศเต็มใจไม่ร้อนนัก แต่ก็ฝนไม่ตกอย่างเมื่อวาน แวะตลาดแถวบ้านพรุ เพื่อนำผลไม้ ไปถวายนาคาดำ ตามที่ตั้งใจ  ผ่านทุ่งลุงอดีตบ้านกำเนิด เมืองเล็ก ๆในอดีต ที่ชาวบ้านปลูกต้นยางเป็นหลัก ที่พลาดไม่ได้ หยุดหน้าร้านข้าวมันไก่ทุ่งลุง  อิ่มอร่อยเหมือนเดิม เจ้าของร้านเคยอยู่บ้านติดกันหน้าป้อมตำรวจทุ่งลุงในอดีตกว่า 60 ปีแล้ว

ขอเล่าเรื่องราวของน้ำตกผาดำให้ฟังก่อนเดินทางต่อไป

น้ำตกผาดำยังเป็นแหล่งท่องเที่ยวใหม่ของจังหวัดสงขลาที่กำลังพัฒนา น้ำตกแห่งนี้อยู่ในบริเวณผืนป่าเขาแก้วซึ่งเป็นป่าต้นน้ำที่สำคัญอีกแห่งหนึ่งของจังหวัด อดีตเคยเป็นพื้นที่สีแดง เป็นที่ยึดครองของพรรคคอมมิวนิสต์ ประกอบกับสภาพความเป็นป่าใหญ่ดิบชื้น ไม่สะดวกในการเดินทาง ทำให้น้ำตกผาดำยังไม่เป็นที่รู้จัก

น้ำตกผาดำ มีสภาพเป็นป่าดิบชื้น มีความอุดมสมบูรณ์มาก เป็นป่าต้นน้ำมีพันธุ์ไม้แปลกตา น้ำตกมี 5 ชั้น สามารถเล่นน้ำได้ทุกชั้น

มาช่วงพัก ขอเล่าเรื่องพญานาคสีดำ "กัณหาโคตะมะ" กันต่อ เพื่อให้เข้ากับบรรยากาศการเดินทางในครั้งนี้ ที่มีการสัมผัสถึงเรื่องราวพญานาคสีดำ ก่อนเดินทาง2-3 วัน

พญานาคทีมีพระวรกายหรือเกล็ดเป็นสีดำนิลกาฬมหิธร จัดอยู่ในตระกูล"กัณหาโคตะมะ"  ส่วนใหญ่ถือกำเนิดจากฟองไข่ มักมีร่างกายกำยำบึกบึน เป็นพญานาคที่มีขนาดใหญ่ที่สุด อำนาจบารมีและอิทธิฤทธ์ปฏิหารย์ไม่แพ้ตระกูลอื่น พบเจอได้ยาก ชอบอาศัยในท้องน้ำลึกและที่เร้นลับ มักจะมีหน้าที่เป็นนักรบปกปักษ์รักษาเมืองบาดาล มีหลายพระองค์ที่ได้บำเพ็ญเพียรจนมากญาณบารมีจนเป็นพญานาคราชปกครองเหล่านาคทั้งหลาย

จากร้านข้าวมันไก่ทุ่งลุง ขับรถไปด้านหลัง กว่า 10 กม. มุ่งสู่ค่ายรัตนพล ผ่านดินแดนค่ายทหาร อันกว้างใหญ่ ขับรถต่อไปอีก 10 กว่ากม.

การเดินทางครั้งนี้ เราไม่เดินทางตาม google map  เราอยากเข้าไปสัมผัสพูดคุยกับชาวบ้าน ตลอดระยะระหว่างเดินทางสู่น้ำตกผาดำ

มาถึงแยกเลี้ยวขวา มุ่งสู่น้ำตกผาดำ  ขับตรงจะเป็นบ้านควนกบ เพื่อความมั่นใจก่อนจะเดินทางต่อไปหลังจากเห็นป้ายบอกทาง น้ำตกผาดำ ขอคุยกับชาวบ้าน ตรงไปเป็นน้ำตกผาดำถูกต้องไหม และไกลหรือไม่

เมื่อได้คำตอบเราเดินทางต่อไป บนถนนลาดยาวที่ค่อนข้างมีหลุมขรุขระเป็นช่วง ๆ ขับรถไกลออกไปพอสมควร เจอชาวบ้านอีกหลังหนึ่ง สอบถาม สภาพธรรมชาติ และ มีอะไรน่าแวะเที่ยวก่อนหรือไม่

วันนี้ เรามาถึงแค่ฝายกั้นน้ำที่ไหลมาจากน้ำตกผาดำ ตามที่ชาวบ้านแนะนำ จอดเดินลงไปชม กระแสน้ำไหลเชี่ยว พอได้เห็นหินก้อนใหญ่สีดำบ้าง หลังจากนั้นก็เดินทางไปถึงเส้นทางสิ้นสุดของถนนลาดยาง ชาวบ้านไม่แนะนำให้เดินทางต่อไป กับถนนดินแดงไกลอีก 11 กม.  เส้นทางนี้ ใช้รถมอเตอร์ไซต์อย่างเดียว

เราได้มีโอกาส อธิษฐานจิตถึงพญานาคสีดำ บริเวณฝายน้ำ และกลับ ระหว่างเดินทางกลับ ได้พบชาวบ้านอีกคนหนึ่ง แนะนำให้เดินทางไปอีกเส้นทาง ซึ่งต้องผ่านบ้านควนกบ สามารถนำรถยนต์เข้าไปถึงบริเวณ น้ำตกผาดำได้

การเดินทางผจญภัยสู่น้ำตกผาดำ ตอนที่ 1 ก็สิ้นสุดเพียงเท่านี้ คราวหน้า เราจะเดินทางไปอีกเส้นทางหนึ่ง เพื่อพิชิตน้ำตกผาดำให้ได้ครับ

ดร.สุชาติ มั่นคงพิทักษ์กุล

ExplorLiner

4/6/2565

personมุมสมาชิก

เยือนอเมริกา ดูงานมูลนิธิชุมชน

เยือนอเมริกา ดูงานมูลนิธิชุมชน.

เครือข่าย

เครือข่ายมูลนิธิชุมชน