imed@homeและภาคีเครือข่ายพัฒนาเมืองสงขลา
iMed@home คือแอพพลิเคชั่น จัดทำระบบข้อมูลกลางช่วยสนับสนุนการทำงานดูแลคนพิการ ผู้สูงอายุ กลุ่มเปราะบางทางสังคม อย่างมีส่วนร่วม พัฒนาโดยมูลนิธิชุมชนสงขลาและโปรแกรมเมอร์ภาณุมาศ นนทพันธ์ โดยงบประมาณจากรัฐบาลผ่านมาทางสำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ(สช.)เมื่อปี 2560 และความร่วมมือผ่านการ MOU ร่วมกันระหว่างกองทุนฟื้นฟูสมรรถภาพจังหวัดสงขลา อบจ.สงขลา พมจ.สงขลา มูลนิธิชุมชนสงขลา ฯลฯ รวม 11องค์กรความร่วมมือ
-จัดเก็บข้อมูลประชากรกลุ่มเปราะบางทางสังคม ทั้งผ่านแบบสอบถามหรือผ่านระบบเยี่ยมบ้าน นำข้อมูลรายบุคคลไปประกอบการทำแผนพัฒนาคุณภาพชีวิต พร่อมรายงานเชิงสถิติเชิงพื้นที่/ประเภท
-ระบบเยี่ยมบ้านเพื่อรายงานกิจกรรมการช่วยเหลือดูแลประชากรกลุ่มเปราะบางสำรวจความต้องการ การวัดสัญญาณชีพ วัดADL ฯลฯ ลดความซ้ำซ้อน ส่งต่อเชื่อมโยงการช่วยเหลือ พร้อมรายงาน
-มีระบบจำกัดสิทธิ์ในการเข้าถึงข้อมูลส่วนบุคคล การทำงานจะต้องได้รับความยินยอมจากกลุ่มเป้าหมาย
-การทำงานมีทั้งระบบ Admin ตามอำนาจหน้าที่รับผิดชอบ สามารถดูและแก้ไขข้อมูลรายบุคคล และการสมัครสมาชิกเพื่อให้สามารถใช้ระบบการเยี่ยมบ้าน หรือบันทึกนำเข้าผู้ป่วยรายใหม่ ผู้นำเข้าคนแรกจะสามารถดูและแก้ไขข้อมูลบุคคลนั้น
-การทำงานผ่านระบบกลุ่ม สามารถจัดทำ care plan คุณภาพชีวิตรายบุคคล
วันที่ 7 มิถุนายน 2565 ได้มีการอบรมการใช้งานให้กับสมาชิกจำนวนหนึ่ง ราว 10 ชุมชน ประเด็นสำคัญในการทำงานด้านข้อมูลมิได้หวังแค่ได้ข้อมูล แต่การทำข้อมูลจะนำเราไปสู่การปรับระบบการทำงานอย่างมีส่วนร่วม ใช้ข้อมูลในการตัดสินใจแก้ปัญหา ลดช่องว่าง ลดความเหลื่อมล้ำในการเข้าถึงบริการ
สมาชิกเห็นด้วยที่จะให้มีการเก็บข้อมูลผ่านระบบเยี่บมบ้านที่เราสามารถสนองตอบปัญหาได้มากกว่าเก็บผ่านแบบสอบถามหรือวิธีอื่นๆ ระบบเยี่ยมบ้านทำได้ทั้งรายวัน รายสัปดาห์หรือเดือนตามความเหมาะสม ข้อมูลที่ได้จะนำไปสู่การประสานหน่วยงานและร่วมกันแก้ปัญหาให้กับสมาชิก
มูลนิธิชุมชนสงขลาเป็นองค์กรพัฒนาเอกชน หรือ NGO ที่ทำงานร่วมกับหน่วยงานต่างๆ นายชาคริต โภชะเรือง ในฐานะกรรมการผู้จัดการ และเป็นเลขานุการคณะกรรมการเขตสุขภาพเพื่อประชาชน(กขป.)เขต 12 เป็นผู้ประสานงานสมัชชาสุขภาพจังหวัด/งานวันพลเมืองสงขลาอีกด้วย
เชื่อการทำงานแบบประสานความร่วมมือ มีประสบการณ์การทำงานร่วมกับภาครัฐ ท้องถิ่น เอกชนมากว่า 10 ปี
แนวทางการทำงานต่อไป
1)ร่วมกับอำเภอเมือง/พช. แก้ปัญหาความยากจน ค้นหากลุ่มเป้าหมายในชุมชน เก็บข้อมูลกลุ่มเป้าหมาย โดยงบความร่วมมือจากมูลนิธิชุมชนสงขลาในการอำนวยความสดวกในการลงเก็บข้อมูล และร่วมแก้ปัญหาแบบครบวงจร รอประสานหลังวันที่ 15 มิย.นี้
2)วางรากฐานการทำงานในชุมชนระยะยาว พัฒนาระบบการทำงานแบบมีส่วนร่วม โดยทำงานร่วมกันระหว่างมูลนิธิชุมชนสงขลา หน่วยงานกับชุมชน เบื้องต้นหาชุมชนนำร่องเพื่อสร้างการเรียนรู้กับเครือข่ายพัฒนาเมือง
-จัดเวทีประชาคมร่วมรับรู้ ร่วมตัดสินใจ
-จัดตั้งคณะทำงานแต่ละโซน/ซอย กลุ่มวัย กลุ่มอาชีพ ลงเก็บข้อมูลสร้างช่องทางสื่อสาร กำหนดแนวทางการทำงานร่วมกัน
-เก็บข้อมูล/ทบทวนข้อมูล/จัดระบบข้อมูล นำไปสู่การทำแผนชุมชนและพัฒนากรรมการชุมชน
-ประกาศใช้ข้อตกลงเป็นธรรมนูญชุมชน
พื้นฐานการทำงานอย่างมีส่วนร่วมและมีธรรมาภิบาลจะช่วยยกระดับการทำงานให้กับเครือข่ายต่อไป
Relate topics
- จดหมายข่าวโครงการประชาสังคมร่วมแรงเพื่อเปลี่ยนแปลงเมือง (SUCCESS) ฉบับที่ 1 - 10
- ก้าวที่ 1 ของ iMedCare ธุรกิจเพื่อสังคมของสงขลา"
- "แผนผังภูมินิเวศ"
- เครือข่าย SUCCESS เมืองควนลังร่วมงานส้มโอเมืองควนลังปี 2567
- "ทีม iMedCare วิถีผู้ดูแลผู้ป่วยที่บ้าน"
- อังกฤษที่ผมเห็น ตอนที่ 11 - 21
- อังกฤษที่ผมเห็น ตอนที่ 1 - 10
- "iMed@home ระบบกลุ่ม"
- สมัชชาสุขภาพจังหวัดสงขลาชูวาระ "พลิกโฉมพลังพลเมืองสงขลาเพื่อสังคมสุขภาวะที่ยั่งยืน"
- กิจกรรมรับบริจาคโลหิตประชารัฐสงขลาประจำเดือนตุลาคม 2567