iGeen Smile ตอนที่ 3
"iGeen Smile" ตอนที่ 3
มาถึงส่วนสำคัญที่สุด นั่นคือ การเขียนโครงการ น้องโบว์ทีมพี่เลี้ยงบอกเราในภายหลังว่า ทีมเราถือว่าเป็น "ม้ามืด" ที่ไม่คิดว่าจะเข้าขบวนจนสามารถขอการสนับสนุนได้
หัวใจการเขียนข้อเสนอโครงการ ประกอบด้วย 5 ส่วนสำคัญที่ชวนสมองบวม คือ
ข้อมูลทั่วไป มี 4 หัวข้อย่อย
1.บทสรุปผู้บริหาร(ชื่อโครงการ/ภาพรวมโครงการ)
2.ข้อมูลผู้เสนอโครงการ
3.ข้อมูลนิติบุคคล
4.วัตถุประสงค์ของโครงการ
ส่วนที่ 2 ข้อมูลด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม มี 1 ข้อย่อย คือ 5.ข้อบ่งชี้ความเป็นนวัตกรรมของโครงการ (ระดับความเป็นนวัตกรรม/ลักษณะความเป็นนวัตกรรม/รายละเอียดความเป็นนวัตกรรม/ความแตกต่างระหว่างสิ่งที่มีอยู่แล้วในปัจจุบันกับแนวคิดหรือเทคโนโลยีใหม่ที่ใช้ในโครงการ/เอกสารอ้างอิงทางวิชาการ/ทรัพย์สินทางปัญญา)
ส่วนที่ 3 ข้อมูลด้านธุรกิจ 1 ข้อย่อย คือ 6. การวิเคราะห์ข้อมูลธุรกิจ ได้แก่ ข้อมูลด้านการตลาด/กลยุทธ์ทางธุรกิจ (Business Model Canvas)
ส่วนที่ 4 ข้อมูลด้านการเงินและการลงทุน 1 ข้อย่อยเช่นกัน ได้แก่ 7. ข้อมูลด้านการเงินและการลงทุน ได้แก่ แผนการลงทุนเพื่อขยายผลเชิงพาณิชย์ของโครงการ/แผนทางการเงิน (Financial Plan) และส่วนที่ 5 ข้อมูลด้านแผนเงิน แผนงาน ตัวชี้วัด และผลกระทบของโครงการ มี 4 ข้อย่อย ประกอบด้วย 8. งบประมาณโครงการ 9. แผนการดำเนินงานของโครงการ 10. ตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการ 11. ผลกระทบของโคร
ทั้งหมดนี้ NIA มีหัวข้อมาให้ ผู้ประกอบการทำหน้าที่นำรายละเอียดมาจับใส่ ซึ่งก็ไม่ง่าย ทีมทำงานจึงมีส่วนสำคัญมาก ทั้งเชิงเนื้อหา เทคนิค/รูปแบบการนำเสนอ หลายข้อมูลนำเสนอในรูปแบบอินโฟกราฟิก แผนผัง/ตารางการวิเคราะห์
หากไม่มีทีมที่สมดุลก็ยากนักที่จะไปต่อ
แนวทางที่นำเสนอประกอบด้วย 4 ขั้นตอน
ขั้นตอนที่ 1.การจัดการฐานข้อมูลกลาง ระบบฐานข้อมูลกลางของเกษตรกรรายบุคคลและกลุ่มของพื้นที่ระดับหมู่บ้าน/ชุมชน ตำบล อำเภอ จังหวัด เขต และภาค ที่สามารถให้ภาคส่วนรัฐ ท้องถิ่น เอกชน วิชาการ เครือข่ายเกษตรกรเข้ามาใช้ในการทำงานส่งเสริมการผลิตและการตลาดเกษตรและอาหารเพื่อสุขภาพร่วมกัน โดยคณะกรรมการระดับจังหวัดที่จะมีการจัดตั้งร่วมกันในการบริหารจัดการ
ขั้นตอนที่ 2 การจัดการวัตถุดิบและการซื้อขายในตลาดล่วงหน้า การสั่งจองสินค้าล่วงหน้า โดยให้ลูกค้าส่งข้อมูลความต้องการวัตถุดิบ ผัก ผลไม้ ข้าว แยกประเภท จำนวนที่ต้องการ พร้อมราคา ล่วงหน้า(3 เดือน) ระบบจะประมวลผลความต้องการออกมาเป็นรายงานเชิงสถิติ สามารถเลือกดูเชิงพื้นที่อำเภอ/จังหวัด ข้อมูลที่ได้เกษตรกรจะได้นำไปวางแผนการผลิตได้ว่่าตลาดมีความต้องการวัตถุดิบอะไร
ขั้นตอนที่ 3 การวางแผนการผลิต กลุ่มเกษตรกรสามารถบันทึกข้อมูลพื้นฐานระบุข้อมูล ชื่อกลุ่ม/สวน ที่อยู่ พิกัด จำนวนสมาชิก ข้อมูลสมาชิกรายบุคคล พื้นที่การผลิต ประเภทผลผลิต(ผัก ผลไม้ ข้าว) มาตรฐานการผลิต กิจกรรมการผลิต พร้อมภาพถ่าย ออกรายงานข้อมูลเกษตรกรเชิงพื้นที่/ประเภทผลผลิต/มาตรฐาน
ขั้นตอนที่ 4 การรับส่งผลผลิต Platform จะอำนวยความสะดวกในการบันทึกบัญชีผลผลิตของสมาชิกในกลุ่มที่มาจัดส่ง ณ โรงคัดแยก พร้อมระบบบันทึกการตรวจสอบคุณภาพและมาตรฐานการผลิต ณ โรงคัดแยก และจัดส่งผลผลิตไปสู่โรงครัว บันทึกปริมาณผลผลิต ราคาผลผลิตต่อครั้งที่จัดส่ง ออกรายงานรายครั้ง รายเดือน รายปี เพื่อให้เห็นปริมาณสินค้าที่สามารถดำเนินการได้
ทั้งหมดนี้ผ่านการพูดคุย ระดมความเห็น ปรับแก้กันหลายครั้งกว่าที่จะได้ข้อสรุปเป็นข้อเสนอโครงการ 26 หน้า
Relate topics
- จดหมายข่าวโครงการประชาสังคมร่วมแรงเพื่อเปลี่ยนแปลงเมือง (SUCCESS) ฉบับที่ 1 - 10
- ก้าวที่ 1 ของ iMedCare ธุรกิจเพื่อสังคมของสงขลา"
- "แผนผังภูมินิเวศ"
- เครือข่าย SUCCESS เมืองควนลังร่วมงานส้มโอเมืองควนลังปี 2567
- "ทีม iMedCare วิถีผู้ดูแลผู้ป่วยที่บ้าน"
- อังกฤษที่ผมเห็น ตอนที่ 11 - 21
- อังกฤษที่ผมเห็น ตอนที่ 1 - 10
- "iMed@home ระบบกลุ่ม"
- สมัชชาสุขภาพจังหวัดสงขลาชูวาระ "พลิกโฉมพลังพลเมืองสงขลาเพื่อสังคมสุขภาวะที่ยั่งยืน"
- กิจกรรมรับบริจาคโลหิตประชารัฐสงขลาประจำเดือนตุลาคม 2567