ร่วมแรงเปลี่ยนแปลงเมือง

by punyha @3 มิ.ย. 65 08:39 ( IP : 171...203 ) | Tags : ข่าวสาร-ประชาสัมพันธ์ , โครงการ SUCCESS
  • photo  , 1706x960 pixel , 177,952 bytes.
  • photo  , 960x540 pixel , 428,203 bytes.
  • photo  , 960x540 pixel , 449,904 bytes.
  • photo  , 960x540 pixel , 253,339 bytes.
  • photo  , 960x540 pixel , 320,446 bytes.
  • photo  , 960x540 pixel , 371,971 bytes.
  • photo  , 960x720 pixel , 114,820 bytes.
  • photo  , 1706x960 pixel , 138,128 bytes.
  • photo  , 1706x960 pixel , 126,452 bytes.
  • photo  , 1706x960 pixel , 126,452 bytes.
  • photo  , 1706x960 pixel , 145,905 bytes.
  • photo  , 1706x960 pixel , 137,379 bytes.
  • photo  , 960x540 pixel , 59,226 bytes.
  • photo  , 960x540 pixel , 68,430 bytes.
  • photo  , 960x540 pixel , 59,341 bytes.
  • photo  , 960x540 pixel , 56,142 bytes.
  • photo  , 960x540 pixel , 60,663 bytes.
  • photo  , 960x540 pixel , 66,593 bytes.
  • photo  , 960x540 pixel , 68,830 bytes.
  • photo  , 960x540 pixel , 58,704 bytes.
  • photo  , 1920x1080 pixel , 201,747 bytes.

ร่วมแรงเปลี่ยนแปลงเมือง

โครงการประชาสังคมร่วมแรงเพื่อเปลี่ยนแปลงเมือง (Success) ได้รับความสนับสนุนจากสหภาพยุโรป(EU) เพื่อขับเคลื่อนขบวนภาคประชาสังคมในการรับมือการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ โดยการทำงานผ่านมูลนิธิสถาบัน สิ่งแวดล้อมไทย (TEI) ศูนย์ประชาสังคมและการจัดการองค์กรเอกชนสาธารณประโยชน์ (CSNM) และมูลนิธิชุมชนสงขลา (SCF)

พื้นที่เป้าหมายในพื้นที่ภาคใต้และภาคอีสาน ภาคใต้ ๖ เมือง และภาคอีสาน ๖ เมือง รวม ๑๒ เมือง คือ  เมืองบ้านไผ่ เมืองบ่อยาง เมืองขอนแก่น เมืองควนลัง เมืองสามพร้าว เมืองพะตง เมืองหนองสำโรง เมืองปาดังเบซาร์
เมืองหนองคาย เมืองละงู เมืองสระใคร เมืองโตนดด้วน

ข้อสังเกตที่สำคัญในการพัฒนาเมือง

การขยายตัวของเมืองที่เปลี่ยนไป ด้วยผังเมืองที่เปลี่ยนแปลง ส่งผลกระทบต่อวิถีชีวิต วัฒนธรรมการอยู่ร่วมกันของชุมชน ชุมชนกลายเป็นชุมชนเมืองมากขึ้น ต่างคนต่างอยู่ การช่วยเหลือพึ่งพากันน้อยลง ซึ่งการแก้ปัญหาต้องคำนึงถึงความสอดคล้องและสมดุลย์ต่อระบบนิเวศน์ สร้างกระบวนการมีส่วนร่วม โดยใช้อำนาจละมุน หรือการแก้ปัญหาโดยใช้การบริหารจัดการแนวราบที่ให้ประชาชนตั้งแต่ต้นน้ำถึงปลายน้ำของระบบภูมินิเวศน์และต้นน้ำถึงปลายน้ำของโครงการที่เป็นผู้มีส่วนได้ส่วนเสียเข้ามากำหนดแนวทางร่วมกันตั้งแต่ต้นและมีส่วนร่วมทุกกระบวนการของการออกแบบการพัฒนาเมือง

การสร้างการทำงานร่วมกันในรูปแบบของการบูรณาการ มีคณะทำงาน/กลไกร่วม มีข้อตกลงร่วมกัน มีการพัฒนาความเข้มแข็งของคน กลุ่ม องค์กร ในชุมชนหมู่บ้าน เชื่อมโยงเป็นเพื่อนเป็นเกลอเป็นเครือข่ายร่วมกัน ใช้ความแตกต่างความหลากหลายของทรัพยากรธรรมชาติและความหลากหลายของกลุ่มผู้คนในการรับมือต่อการเปลี่ยนแปลง
การรับมือต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศก็คือการรับมือต่อการเปลี่ยนแปลงของสังคม ที่มีการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศเป็นโจทย์ร่วม

บันทึกสรุปจากการประชุมแลกเปลี่ยนโครงการประชาสังคมร่วมแรงเพื่อเปลี่ยนแปลงเมือง ระหว่างทีมภาคใต้และภาคอีสาน

วันที่ ๒ มิถุนายน ๖๕ เวลา ๑๓.๐๐ - ๑๗.๐๐ น. ผ่านระบบ ZOOM

ปราณี วุ่นฝ้าย  บันทึกเรื่องราว

personมุมสมาชิก

เยือนอเมริกา ดูงานมูลนิธิชุมชน

เยือนอเมริกา ดูงานมูลนิธิชุมชน.

เครือข่าย

เครือข่ายมูลนิธิชุมชน