สรุปข้อมูลการประเมินความเปราะบางเมืองควนลังร่วมกับภาคีเครือข่ายหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ครั้งที่ 1
วันที่ 12 เม.ย 65
โครงการประชาร่วมแรงเพื่อเปลี่ยนแปลงเมือง ควนลัง (success ควนลัง) ได้นำข้อสรุปจากการลงพื้นที่เพื่อประเมินความเปราะบาง ของชุมชนทุ่งเขียวหวาน และคลองต่ำพฤกษชาติ ในการรับมือกับภาวะภัยแล้งและอุณหภูมิที่สูงขึ้น
โดยนำเอาปัญหา สาเหตุ และข้อเสนอแนะต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับสำนักงานชลประทานที่ 16 มานำเสนอ เพื่อร่วมกันวางแนวทาง ในการ แก้ไขปัญหาโดยการประสานงาน กับสำนักงานชลประทานที่ 16 ตัวแทนชุมชน ชุมชนทั้ง 2 ชุมชน เทศบาลเมืองควนลัง และองค์กรต่างๆ ได้ร่วมกันแสดงแนวคิด และหาข้อคิดเห็นร่วมกันเพื่อเป็นแนวทางในการ แก้ไขปัญหา ซึ่งได้รับความร่วมมือจากทุกฝ่ายเป็นอย่างดี และสามารถ หาข้อสรุปร่วมในการแก้ไขปัญหา เพื่อนำไปทำแผน ในการจัดสรรงบประมาณเพื่อลงมาแก้ไขปัญหาในพื้นที่เป็นอันดับ ต่อไป
1.การเปิด-ปิดประตูระบายน้ำ มาตราทางน้ำ มาตรา 5 คลองต่ำไม่ได้เปิดประกาศมาตราทางน้ำ ต้องส่งเรื่องไปที่โยธา
2.คลอง 1 ซ ร 1 ทำเพื่อระบายน้ำ เพื่อให้รับกับคลอง ร1 น้ำใต้ดินแห้ง มีแผนทำประตูกันน้ำ ประตู 1 ซ มี 1 แห่ง ประตูน้ำที่ปากคลองวาดที่ไปบรรจบที่คลอง ร1
3.สามแยกทำกำแพงแนวตั้ง ตั้งแต่สะพานหน้า 7-11
4.คลองวาดเข้าดำเนินการไม่ได้
5.เพิ่มประตูไสลด์ 2 จุด ที่รื่นฤดี กับ ศาลาทุ่งเขียวหวาน และปรับปรุงที่บางแฟบ 1 จุด
6.กรณีการสร้างโรงงานในพื้นที่รอยต่อระหว่างทุ่งตำเสา ฉลุง และควนลัง ให้ทางสำนักงานชลประทานที่ 16 ร่วมแสดงความดิเห็นยับยั้งในการสร้างโรงงานอุตสาหกรรมในฐานะที่กรมชลประทานเป็นผู้บริหารน้ำ
7.เรื่องน้ำสกปรก – ข้อกำหนดของกองช่าง ต้องมีบ่อดักไขมันในแบบขออนุญาต
8.เรื่องขยะ – การใช้ถังขยะ ใช้รถขยะ
ข้อมูลการเตรียมจัดเวที
ประเด็นที่จะคุยกับสำนักงานชลประทาน
1.ความเดือดร้อนและผลกระทบที่เกิดขึ้นต่อประชาชน
-น้ำไม่เพียงพอสำหรับการอุปโภค และการเกษตร
-บ่อน้ำของชาวบ้านแห้งขอด
-น้ำสกปรกไม่สามารถนำมาใช้ได้
-ปัญหาการพังทลายของคลองชลประทาน
-ถนนชลประทานที่ชำรุด
2.สาเหตุของปัญหา
การขุดคลองชลประทานที่ต้องการระบายน้ำท่วม
การออกแบบให้มีการขุดลึกมากกว่าปกติในบริเวณชุมชนคลองต่ำพฤกษชาติและชุมชนทุ่งเขียวหวาน
ทำให้น้ำผิวดินบริเวณใกล้คลองซึมลงคลองจนเกิดภาวะแห้งแล้งและขาดแคลนน้ำ
3.วิธีการแก้ปัญหา ชวนร่วมกันระดมความคิดเห็น
4.ข้อเสนอแนะต่างๆ
-รักษาระดับน้ำในคลองชลประทานให้มีระดับที่ไม่น้อยเกินไปเพื่อหล่อเลี้ยงระดับน้ำในบ่อ
-การเปิด-ปิดประตู ระบายน้ำ
-เพิ่มประตูน้ำเพื่อกั้นเป็นฝายกักเก็บน้ำให้สามารถบริหารจัดการน้ำ
-จัดทำระบบผันน้ำจากคลองวาดเพื่อใช้ประโยชน์ในพื้นที่
-การบริหารจัดการน้ำคลองอิตำและคลองวาดให้สัมพันธ์กับเส้นทางน้ำในเขตตำบลควนลัง
-การส่งเสริมการปลูกข้าวแบบเปียกสลับแห้ง แบบประหยัดน้ำ
-แผนรณรงค์ให้ชาวบ้านลดการเผาตอซังและขยะเพื่อลดอุณหภูมิที่สูงขึ้นจากคาร์บอนไดออกไซด์
-การรณรงค์การไม่ทำลายป่าพื้นที่สีเขียวสำหรับประชาชน
-การจัดตั้งกลุ่มผู้ใช้น้ำควนลัง
จัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้หาข้อสรุปสร้างความยั่งยืนในการใช้น้ำของกลุ่มน้ำสาขาควนลัง
ประการแรก ก่อนเข้าเนื้อหาหลัก โดยธรรมชาติแล้วต้องมีประเด็นวอร์มก่อน โดยผู้ดำเนินการถ ชวนคุยกับใครๆในน้องประชุมว่า
-เป็นที่สนใจนะ ปีนี้ฝนตกหน้าแล้ง เพราะอะไร ใครทราบบ้าง
-ปีก่อนๆ นี่ใกล้สงกรานต์แล้ว ร้อนมาก ใช่ไหม เป็นม่ต่อเนื่อใช่ไหมสจ เมื่อปีก่อนๆนี้
-มีข้อสังเกต ความเห็นอะไรไหม ทำไม อากาศยิ่งร้อนขึ้น
-น้ำแล้ง หรือไม่พอใช้ เป็นเพราะอะไร
-เกี่ยวข้องกับชลประทานบ้างหรือไม่อย่างไร แล้วจึงเข้าประเด็นที่ 1
กรณีข้อ 3 วิธีแก้ปัญหา ขอปรึกษา ตามลำดับดังนี้
1)ขอฟังจากตัวแทนชุมชนก่อน ว่าควรทำอย่างไรดี
2)แล้วเทศบาลเมืองควนลังล่ะ ควรทำอย่างไรดี
3)ควรให้สำนักงานชลประทาน ที่ 16 ทำอย่างไร
4)อยากทราบว่า สำนักงานชลประทาน ที่ 16 ทำอะไรได้ หรือทำอะไรไม่ได้ เพราะอะไร
จากข้อ 4 เดิม ที่ว่าข้อเสนอแนะต่าง ๆ เปลี่ยนหัวข้อเป็น "ประเด็นที่อยากเจาะจงให้ชัดและเป็นรํปธรรม นำไปใช้จริง"
Relate topics
- จดหมายข่าวโครงการประชาสังคมร่วมแรงเพื่อเปลี่ยนแปลงเมือง (SUCCESS) ฉบับที่ 1 - 10
- ก้าวที่ 1 ของ iMedCare ธุรกิจเพื่อสังคมของสงขลา"
- "แผนผังภูมินิเวศ"
- เครือข่าย SUCCESS เมืองควนลังร่วมงานส้มโอเมืองควนลังปี 2567
- "ทีม iMedCare วิถีผู้ดูแลผู้ป่วยที่บ้าน"
- อังกฤษที่ผมเห็น ตอนที่ 11 - 21
- อังกฤษที่ผมเห็น ตอนที่ 1 - 10
- "iMed@home ระบบกลุ่ม"
- สมัชชาสุขภาพจังหวัดสงขลาชูวาระ "พลิกโฉมพลังพลเมืองสงขลาเพื่อสังคมสุขภาวะที่ยั่งยืน"
- กิจกรรมรับบริจาคโลหิตประชารัฐสงขลาประจำเดือนตุลาคม 2567