เครือข่ายเมืองบ่อยางกับภารกิจเพื่อเรียนรู้ รับมือ และปรับตัวจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
เมื่อสภาพอากาศแปรปรวนทำให้เกิดฝนตกหนักและต่อเนื่องในพื้นที่เมิองบ่อยาง เทศบาลนครสงขลามาตั้งแต่วันที่ 2 เมษายน 65 จนถังวันนี้ ( 5 เมษายน 65) มีผลให้ชุมชนแออัดบางชุมชนมีน้ำท่วมขังบริเวณทางเดินเข้าบ้านในซอย และบ้านเรือนหลายหลังมีน้ำท่วมขังภายในบ้าน และกลายเป็นน้ำครำสกปรก
จากการศึกษาความเปราะบางของเมืองบ่อยาง สงขลา ในระยะเดือนสิงหาคม 2564 - เดือนเมษายน 2565 พบว่าปัญหาสำคัญที่เป็นปัญหาร่วมกันคือ ปัญหาความไม่มั่นคงด้านที่อยู่อาศัย
และเมื่อศึกษาในพื้นที่จริงของชุมชน 4 ชุมชนที่เลือกเป็นกรณีศึกษา ถึงผลกระทบที่ชุมชนได้รับจากสภาพอากาศที่แปรปรวนและการเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศ
มีข้อมูลแสดงให้เห็นว่าตั้งแต่ระดับชุมชนจนถึงระดับครัวเรือนส่วนใหญ่ต้องใช้หลักการพึ่งพาตนเอง เนื่องจากมีข้อจำกัดในการเข้าถึงความช่วยเหลือของภาครัฐอันเป็นผลสืบเนื่องมาจากความไม่มั่นคงด้านที่อยู่อาศัย
นอกจากนี้ข้อมูลได้ชี้ให้เห็นว่า ชุมชนเมืองบ่อยาง ประชากรเพศหญิงได้รับผลกระทบมากกว่าเพศชาย ความตระหนักและการมีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหา เพศชายมีน้อยกว่าเพศหญิงด้วยการให้เหตุผลว่า ผลกระทบที่ได้รับนั้นเป็นปัญหาที่เกิดขึ้นไม่บ่อยนัก
ชุมชนพานิชย์สำโรงอยู่ในที่ดินการรถไฟที่กำลังมีปัญหาการค้างชำระค่าเช่า ยายของเด็กๆ 3 คนเล่าว่าช่วงที่มีฝนตกหนักใน 3 วันที่ผ่านมาเกิดน้ำท่วมขังภายในบ้าน ต้องให้เด็กๆนอนในรถมอเตอร์ไชค์พ่วงข้าง
ชุมชนศาลาเหลืองเหนือ ปลูกบ้านของตนเองในที่ดินเช่าของเอกชน แม่เลี้ยงเดี่ยวที่มีลูกสาวคนหนึ่งพิการทางสติปัญญารได้อธิบายรูปถ่ายที่ส่งมาให้ดูว่า ฝนตกหนักช่วงวันที่ 2 - 5 เมษายนทำให้มีน้ำเอ่อขังบริเวณถนนในซอย ซึ่งจะเกิดขึ้นทุกครั้งที่มีฝนตกหนัก ส่วนในบ้านนั้นจะมีน้ำแช่ขังนานจนเป็นน้ำครำสกปรก เหตุจากบ้านปลูกในที่ดินลุ่มต่ำกว่าเพื่อนบ้าน เธอไม่มีรายได้มากพอที่จะปรับปรุงสภาพบ้าน จึงใช้วิธีการย้ายครอบครัวไปอาศัยบ้านเช่านอกชุมชนตั้งแต่หน้าฝนที่ผ่านมาและขณะนี้เธอกำลังประสบปัญหารายได้มีไม่พอสำหรับการชำระค่าเช่าบ้าน
ชุมชนบาลาเซาะห์เก้าแสนเป็นชุมชนแออัดที่ตั้งในที่ราชพัสดุ กรมธนารักษ์ ที่บางส่วนไม่ได้ทำสัญญาเช่าที่ถูกต้องโดยอาศัยอยู่รวมกันอบ่างหนาแน่นทั้งระดับครอบครัวและระดับชุมชน ประชากรส่วนหนึ่งพยายามขอความช่วยเหลือเพื่อหาที่อยู่ใหม่และมีที่ทำกิน
ส่วนชุมชนพัฒนาใหม่ เป็นชุมชนแออัดใจกลางเมืองบ่อยาง ตั้งอยู่ในที่ดินรถไฟ มีสัญญาเช่าแต่ค้างชำระค่าเช่า กรณีมีฝนตกหนักจะได้รับผลกระทบค่อนข้างน้อยเนื่องจากภาคราชการได้ติดตั้งเครื่องสูบน้ำขนาดใหญ่เตรียมพร้อมไว้ใกล้เคียงกับพื้นที่ชุมชน สภาพซอยที่มีน้ำขังสกปรกนั้นเกิดจากความแออัดของบ้านเรือนที่ปลูกสร้างโดยขาดการวางผังชุมชน
เป็นเรื่องที่น่ายินดีว่า โครงการ SUCCESS ได้ก่อให้เกิดการเริ่มต้นจนสามารถมองเห็นโจทย์ปัญหาร่วมกันได้ว่า เมืองบ่อยาง สงขลาซึ่งมีจำนวน ประชากรเกือบ 100,000 ชีวิต มีปัญหาสำคัญมากคือ ด้านที่อยู่อาศัย การแก้ไขเปลี่ยนแปลงปัญหาให้ดีขึ้น เริ่มมีทิศทางที่ชัดเจนขึ้น
ค่อยๆขยับทีละก้าว ปัญหาจะค่อยๆลดลง
บุณย์บังอร ชนะโชติ และทีมงาน บันทึกเรื่องราว
Relate topics
- จดหมายข่าวโครงการประชาสังคมร่วมแรงเพื่อเปลี่ยนแปลงเมือง (SUCCESS) ฉบับที่ 1 - 10
- ก้าวที่ 1 ของ iMedCare ธุรกิจเพื่อสังคมของสงขลา"
- "แผนผังภูมินิเวศ"
- เครือข่าย SUCCESS เมืองควนลังร่วมงานส้มโอเมืองควนลังปี 2567
- "ทีม iMedCare วิถีผู้ดูแลผู้ป่วยที่บ้าน"
- อังกฤษที่ผมเห็น ตอนที่ 11 - 21
- อังกฤษที่ผมเห็น ตอนที่ 1 - 10
- "iMed@home ระบบกลุ่ม"
- สมัชชาสุขภาพจังหวัดสงขลาชูวาระ "พลิกโฉมพลังพลเมืองสงขลาเพื่อสังคมสุขภาวะที่ยั่งยืน"
- กิจกรรมรับบริจาคโลหิตประชารัฐสงขลาประจำเดือนตุลาคม 2567