"เกษตรและอาหารสุขภาพจังหวัดสงขลา"

by punyha @18 มี.ค. 65 10:06 ( IP : 124...224 ) | Tags : ข่าวสาร-ประชาสัมพันธ์ , 4PW
  • photo  , 1477x1108 pixel , 179,673 bytes.
  • photo  , 1706x960 pixel , 117,950 bytes.
  • photo  , 960x720 pixel , 98,314 bytes.
  • photo  , 1706x960 pixel , 108,348 bytes.
  • photo  , 1706x960 pixel , 96,845 bytes.
  • photo  , 1108x1477 pixel , 78,595 bytes.
  • photo  , 1108x1477 pixel , 107,600 bytes.
  • photo  , 1108x1477 pixel , 123,230 bytes.
  • photo  , 960x1706 pixel , 135,538 bytes.
  • photo  , 960x1706 pixel , 152,944 bytes.
  • photo  , 960x1706 pixel , 118,160 bytes.
  • photo  , 1477x1108 pixel , 166,428 bytes.
  • photo  , 1108x1477 pixel , 111,579 bytes.
  • photo  , 1477x1108 pixel , 158,723 bytes.
  • photo  , 1477x1108 pixel , 145,159 bytes.

"เกษตรและอาหารสุขภาพจังหวัดสงขลา"

สมัชชาสุขภาพจังหวัดสงขลา มูลนิธิชุมชนสงขลา กขป.เขต 12 เครือข่ายเกษตรสุขภาพจังหวัดสงขลา ตัวแทนสสจ. ประชุมร่วมกันเพื่อกำหนดแนวทางดำเนินการในปี 65

มีประเด็นหลักที่ได้ข้อสรุปร่วมกันดังนี้

1.ระดับเขต ปัจจุบันทางสาธารณสุขแจ้งว่าในการรับมือโควิด-19 และการส่งเสริมสมุนไพร เขต 12 มี 7 รพ./โรงงานมีความต้องการรับซื้อฟ้าทลายโจร ขมิ้นชัน มะขามป้อม ที่ปลูกแบบอินทรีย์ซึ่งจะต้องให้ได้สารสำคัญไม่ต่ำกว่า 10% ที่ปัจจุบันรับซื้อจากภาคกลาง ต้องการส่งเสริมให้มีการผลผลิตจากเกษตรกรในพื้นที่ โดยมีคณะเภสัชมอ.ช่วยเป็นพี่เลี้ยงให้คำแนะนำ จากการดำเนินงานที่ผ่านมาพบปัญหายังมีสารตกค้างในดิน ทางแก้ต้องทำโรงเรือนระบบปิดหรือทำโครงสร้างดินใหม่ ซึ่งสามารถทำแผนโครงการสนับสนุนและเชื่อมกับงานเมืองสมุนไพรหรืออื่นๆ

กขป.เขต 12จะประสานงานกับทีมสสจ.มาทำรายละเอียดถึงรูปแบบการผลิต/โรงเรือน/ขนาด/ปัจจัยการผลิต เพื่อเป็นเมนูทางเลือกให้กับเกษตรกร ประสานหาพื้นที่ตำบลในการดำเนินการ เช่น ต.ทุ่งตำเสา กำลังจะลองทำในเชิงพื้นที่ปลูกกระท่อม และนำเสนอเรื่องนี้ในวันเสาร์ที่ 26 มีนาคมเวทีสาธารณะของกขป.เขต 12 เพื่อประสานความร่วมมือกันต่อไป

2.ทีมอาหารปลอดภัยสสจ.สงขลาลงตรวจผักในตลาด และจากโรงคัดแยก GMP สุ่มตรวจ...พบผักที่ปนเปื้อนและมีการสอดไส้ผักที่ไม่ได้มาตรฐานมาในกลุ่มที่มีการรับรองมาตรฐานแล้ว ขณะที่จังหวัดสงขลามี 19 รพ.ต้องการผักปลอดภัยสู่ระบบโรงครัว แต่ละแห่งมีฐานข้อมูลของตนเอง ปรับให้เป็นปัจจุบันปีละ 2 ครั้ง

ปัจจุบันแต่ละรพ.จะดำเนินการบริหารจัดการไม่เหมือนกัน และรพ.มีหลายระดับ เสนอให้เชิญหน.โภชนาการ เจ้าหน้าที่วัสดุ หรือเชิญ รพ.หาดใหญ่มาหารือร่วมกัน เพื่อช่วยกันปรับระบบบริหารจัดการในเชิงนโยบาย ในส่วนของข้อมูล/ราคากลาง(แต่ละมาตรฐานที่ไม่เหมือนกัน) ชนิดผัก/ผลไม้  และชวนดำเนินการในทดสอบระบบของ iGreensmile ที่เครือข่ายกำลังดำเนินการ ซึ่งจะทำนำร่องร่วมกับสหกรณ์จังหวัดในอำเภอควนเนียง รัตภูมิ หาดใหญ่

ในการส่งเสริมการตลาด สามารถขยายผลเชื่อมโยงไปถึงห้องอาหารในโรงแรมและร้านอาหารปลอดภัย ซึ่งจะมีเมนูที่ได้รับการรับรอง การดำเนินการส่วนนี้พบปัญหาด้านราคาที่เกษตรกรต้องการและความต่อเนื่องของผลผลิต หรือยังมีผักสอดไส้ และการส่งเสริมผัก/ผลไม้ในมาตรฐาน PGS สามารถส่งแบบขายตรงให้กับเจ้าหน้าที่รพ. บุคลากร หรือผู้บริโภค รับส่งกันตามปริมาณความต้องการล่วงหน้า

3.การปรับธรรมนูญหรือกติกาเครือข่ายเกษตรสุขภาพจังหวัดสงขลา
ให้คงมาตรฐานกลางไว้ : ทรัพยากรการผลิต ปลอดการใช้สารเคมีที่เป็นอันตราย ระบบการป้องกัน  การใช้แรงงาน ไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม/ทำร้ายสัตว์ การจัดการเครื่องมือ/บรรจุภัณฑ์ และการมีส่วนร่วม

ทั้งนี้จุดที่ควรปรับปรุงมีดังนี้

1)กรณีมูลสุกร แยก PGS เป็น SGS-PGS ประเภท1(ไม่ใช้มูลสุกร),ประเภท2 (ใช้มูลสุกร)

2)กรณีแนวกันชน คงหลักเกณฑ์เดิม เพิ่มรายละเอียดในบางส่วนให้ชัดเจนมากขึ้น เช่น ความสูงของแนวกันชน

3)กรณี GMO(ที่อาจมากับมะละกอ/ข้าวโพด)ให้คงไว้เชิงหลักการ แต่อนุโลมให้ในเชิงปฎิบัติเนื่องจากไม่สามารถตรวจสอบได้ ควรผลักดันให้สวพ.ดำเนินการสุ่มตรวจต่อไป

4)กรณีฟื้นที่น้ำท่วมซ้ำซาก มีข้ออ้างว่าทำการผลิตในช่วงหน้าแล้ง ให้เกษตรกรแสดงข้อมูลคุณภาพดินประกอบ หรือเพิ่มมาตรฐานใหม่ : เกษตรนิเวศ แยกแบรนด์ใหม่ออกมา(หาข้อสรุปกันอีกครั้ง)

5)การลงตรวจแปลง จะมีการปรับการดำเนินการดังนี้

1.ปรับแอพฯ Greensmile ให้สามารถกรอกแบบฟอร์มใบสมัคร F1 หรือทำผังแปลง F2 เข้าดูข้อมูลธรรมนูญฯ และลงข้อมูลพื้นฐานที่จำเป็นเพิ่มเติม เกษตรกรลงข้อมูลล่วงหน้า มีการบันทึกกิจกรรมการผลิตล่วงหน้า สามารถดำเนินการผ่านหัวหน้ากลุ่มหรือลงด้วยตนเองก่อนตรวจแปลง

2.มีการทำ checklist หัวข้อที่จะตรวจให้ชัด พร้อมรายชื่อกรรมการ/เบอร์โทรและสวนที่ตรวจ ทำกระบวนการผ่านผู้ตรวจแปลง ที่จะเพิ่มเกษตรกรที่ผ่านการตรวจมาแล้วมาเป็นผู้ตรวจแปลง รวมถึงเครือข่าย ได้แก่ ทีมตานูน(พี่น้อย/จรัล/หมอรัตนา/ป้าสาว)

3.เรื่องสนับสนุนเพิ่มเติม คือการทำสติกเกอร์กลุ่ม

4.การทำงานร่วมกับ PGS ค่ายอื่น หากต้องการเข้าใช้ระบบตลาดที่เครือข่ายรับผิดชอบ ให้มีการตรวจแปลงเพิ่มเติมอีกครั้งเพื่อสร้างความเชื่อมั่น

ขั้นตอนหลังจากนี้ โปรแกรมเมอร์ปรับแอพฯ นัดประชุมทีมตรวจแปลงและแกนำสร้างความเข้าใจ อบรมการใช้แอพฯ และวางแผนการลงตรวจแปลงในช่วงหลังสงกรานต์

personมุมสมาชิก

เยือนอเมริกา ดูงานมูลนิธิชุมชน

เยือนอเมริกา ดูงานมูลนิธิชุมชน.

เครือข่าย

เครือข่ายมูลนิธิชุมชน