ผลการดำเนินงานของเครือข่ายพัฒนาเมืองสงขลา เทศบาลนครสงขลา
วันที่ 9 มีนาคม 2565 นางบุณย์บังอร ชนะโชติ แกนนำเครือข่ายพัฒนาเมืองสงขลา ใคร่ขออนุญาตนำเสนองานของเครือข่ายพัฒนาเมืองสงขลา เทศบาลนครสงขลา ดังนี้
1.การเชื่อมโยงเครือข่ายสร้างสายสัมพันธ์กับชุมชนต่างๆโดยการ
-ก่อตั้งกลุ่มสัจจะออมทรัพย์ในแต่ละชุมชนมาตั้งแต่เดือนธันวาคม 64 - กุมภาพันธ์ 65 ได้แล้วจำนวน 16 กลุ่ม 16 ชุมชน
-ฟื้นฟูจำนวน 1 กลุ่ม 1 ชุมชน
-กำลังช่วยกันก่อตัวเพื่อก่อตั้งจำนวน 6 กลุม 6 ชุมชน
2.ร่วมกันก่อตั้งกิจการธุรกิจของ "กลุ่มคนจนเมืองบ่อยางสงขลา " เพื่อเริ่มต้นลดการเป็นผู้พึ่งพิงและก้าวสู่การพึ่งพาตนเองของคนจนเมืองย่อยางสงขลาให้มากที่สุด การดำเนินงานของกิจการแบ่งเป็น
-การลดต้นทุนซื้อ โดยการจัดซื้อสินค้าที่จำเป็นในการดำรงชีพของสมาชิกกลุ่มออมทรัพย์ คือ ข้าวสาร น้ำดื่ม ไข่ไก่และน้ำมันพืช ด้วยการจัดซื้อสินค้าร่วมกันในคราวเดียวกันเป็นจำนวนมาก และจะมีการสต็อคสินค้าน้อยที่สุด
-ลดรายจ่าย (และอาจจะเพิ่มรายได้) โดยการผลิตของใช้ที่จำเป็นในครัวเรือน คือ ช่วยกันผลิตน้ำยาล้างจาน น้ำยาซักผ้าและน้ำยาเอนกประสงค์ สมาชิกกลุ่มผลิตร่วมกันแล้วแบ่งปันกันใช้และอาจจะจำหน่ายกันเองภายในกลุ่มและชุมชน
ในการเริ่มต้นกิจการธุรกิจของ" กลุ่มคนจนเมืองบ่อยางสงขลา" เงินลงทุน มาจาก
-งบบริจาค ซึ่งเบื้องต้น อาจารย์ณัฎฐาพงศ์ อภิโชติเดชาสกุล มหาวิทยาลัยราชภัฎสงขลา บริจาคงบสนับสนุนจำนวน 5,000 บาท (ห้าพันบาทถ้วน)
-เงินจำนวน 5 % จากยอดเงินฝากของสมาชิกกลุ่มออมทรัพย์จำนวน 16 กลุ่ม (ข้อมูลล่าสุดเดือนกุมภาพันธ์ 65 ยอดเงินฝากรวมจำนวน 56,000กว่าบาท)
3.จ้ดทำโครงการเพื่อนำเสนอ พอช. จัดหาที่อยู่ใหม่ให้แก่ผู้ที่แจ้งประสงค์ขอย้ายออกจากชุมชนแออัดที่อยู่เดิม และต้องการหาที่อยู่ใหม่ จำนวน 150 ราย(จากการสำรวจข้อมูลเมื่อเดือนธันวาคม 64)
4.ร่วมมือกับเครือข่ายบ้านมั่นคงเมืองสงขลา แก้ไขปัญหาการค้างชำระค่าเช่าที่ดินรถไฟเขตเทศบาลนครสงขลา โดยเพิ่มบทบาทหน้าที่ของแกนนำกลุ่มสัจจะออมทรัพย์ชุมชนต่างๆ ที่ก่อตั้งใหม่ให้เป็นผู้ดำเนินการสร้างความเข้าใจและจัดเก็บเงินค่าเช่าที่ค้างชำระรวมทั้งนำส่งเงินที่จัดเก็บได้แก่ พอช.โดยตรง แต่ทั้งนี้ต้องอาศัยอำนาจของพอช.ออกหนังสือระบุชื่อผู้ที่ได้รับมอบหมายการจัดเก็บและนำส่งเงินให้ชัดเจน เพื่อความเข้าใจที่ถูกต้องและตรงกันของผู้ค้างค่าเช่าในแต่ละชุมชน
พลังคนแหลมสนอ่อนมึอยู่จริง พวกเราร่วมกันนำพาชุมชนฝ่าด่านผ่านมาเป็นที่ 1 ในระดับ 55 ชุมชนเขตเทศบาลนครสงขลา
ตามมาด้วยเป็นที่ 1 ระดับอำเภอ
บ่ายโมงวันพุธที่ 16 มีนาคมที่จะถึง รวมพลังกันอีกสักครั้งเพื่อชนะเลิศระดับจังหวัด ด้านรักษาสิ่งแวดล้อม พวกเรามีขวดขยะแห้ง น้ำหมักจากเปลือกผลไม้ น้ำหมักจากเศษปลา กระเป๋าผ้าจากเสื้อยืดใช้แล้ว และอีกหลายผลงานที่ในบ้านของพวกเรามีนำมารวมกันไว้ตั้งแต่เช้าของวันที่ 16 ที่กลุ่มสัจจะออมทรัพย์ชุมชนแหลมสนอ่อน
พอถึงช่วงบ่าย คณะกรรมการให้คะแนนระดับจังหวัดจะมาขอคุยกับพวกเราว่า พวกเรารักชุมชนมากแค่ไหน ที่ทำไปก็เพราะรักบ้าน รักชุมชนของตนเองใช่มั้ย
ทุกคนทุกบ้านล้วนแต่มีผลงานสร้างสรรค์ นำออกมาเสนอกันเลยนะคะ
บุณย์บังอร ชนะโชติ บันทึกเรื่องราว
Relate topics
- จดหมายข่าวโครงการประชาสังคมร่วมแรงเพื่อเปลี่ยนแปลงเมือง (SUCCESS) ฉบับที่ 1 - 10
- ก้าวที่ 1 ของ iMedCare ธุรกิจเพื่อสังคมของสงขลา"
- "แผนผังภูมินิเวศ"
- เครือข่าย SUCCESS เมืองควนลังร่วมงานส้มโอเมืองควนลังปี 2567
- "ทีม iMedCare วิถีผู้ดูแลผู้ป่วยที่บ้าน"
- อังกฤษที่ผมเห็น ตอนที่ 11 - 21
- อังกฤษที่ผมเห็น ตอนที่ 1 - 10
- "iMed@home ระบบกลุ่ม"
- สมัชชาสุขภาพจังหวัดสงขลาชูวาระ "พลิกโฉมพลังพลเมืองสงขลาเพื่อสังคมสุขภาวะที่ยั่งยืน"
- กิจกรรมรับบริจาคโลหิตประชารัฐสงขลาประจำเดือนตุลาคม 2567