"ประเมินความเปราะบางของ 4 ชุมชนเมืองบ่อยาง"
"ประเมินความเปราะบางของ 4 ชุมชนเมืองบ่อยาง"
หัวใจของปัญหาความเปราะบางของชุมชนเมืองบ่อยางที่ประกอบด้วยคนจนเมืองกว่าครึ่งของ 55 ชุมชนในพื้นที่ทน.สงขลา พบปัญหาที่อยู่อาศัยเป็นแกนกลาง เมื่อมีเหตุปัจจัยจากความเสี่ยงไม่ว่าจะเป็นอุบัติภัยหรือการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศจึงได้รับผลกระทบได้ง่าย
คณะทำงานโครงการ SUCCESS เมืองบ่อยาง เก็บข้อมูลด้วยตนเองเพื่อประกอบการศึกษาประเมินความเปราะบางของเมือง นัดวิเคราะห์ข้อมูลภาพรวม 4 ชุมชนกรณีศึกษา ได้แก่ บาลาเซาะ แหลมสนอ่อน ศาลาเหลืองเหนือ และสนามบิน เป็นกิจกรรมที่ 1.3 ของโครงการ
แม้จะอ่อนประสบการณ์ แต่อาศัยความพยายาม ประมวลข้อมูลด้วยมือก่อนส่งต่อให้นำข้อมูลเข้าสู่โปรแกรม SPSS ประมวลผลต่อไป การเก็บข้อมูลและประมวลผลด้วยตนเองจะให้แกนนำเข้าใจปัญหาและเพิ่มทักษะการนำข้อมูลมาใช้ประโยชน์ เป็นอีกวิธีการในการพัฒนาศักยภาพ แม้ทีมงานจะประกอบด้วยแกนนำชุมชนที่เป็นจิตอาสาบวกกับประธานชุมชน ต่างก็สามารถดำเนินการศึกษาข้อมูลด้วยตนเองได้
ประเด็นสำคัญที่พบในเบื้องต้น สภาพการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศในเมืองบ่อยางมีความหลากหลาย โดยรวมพบความเปลี่ยนแปลงในด้านปริมาณฝน ซึ่งส่งผลต่อการเกิดอุทกภัยทั้งใหญ่และระดับชุมชน โดยเฉพาะบาลาเซ๊าะที่พบทั้งกัดเซาะชายฝั่ง ลม และอุทกภัย ความเป็นชุมชนมุสลิม มีสมาชิกในครอบครัวเฉลี่ย 7 คน ด้านอุณหภูมินั้นสูงขึ้นรับรู้ได้ในกลุ่มผู้สูงอายุ เด็ก ที่เป็นกลุ่มเปราะบางและอาศัยอยู่ในบ้าน
ที่น่าสนใจก็คือศาลาเหลืองเหนือ ที่ชุมชนเกือบทั้งหมดอาศัยเช่าที่ของเอกชนอยู่มายาวนาน ทำให้เมื่อประสบเหตุจะไม่ได้รับความช่วยเหลือจากท้องถิ่น ด้วยติดเงื่อนไขกฏหมาย ขณะที่ชุมชนอื่นก็อาศัยอยู่ในที่ดินของการรถไฟบ้าง ธนารักษ์บ้าง ล้วนเปราะบางในด้านที่อยู่อาศัยทั้งสิ้น
แหลมสนอ่อนพบภัยจากลม ที่ทำให้เกิดไฟฟ้าดับตามมา ทำให้ต้องมีระบบไฟฟ้าสำรอง
การปรับตัวของชุมชน อาศัยช่วยตนเอง ช่วยกันเอง โดยสมาชิกในครอบครัว เพื่อนฝูง มากกว่าที่จะรอความช่วยเหลือจากรัฐที่มักมาช้าและไม่ตรงความต้องการ สิ่งที่ชุมชนปรารถนาจะดำเนินการ ประกอบด้วยการรับรู้ข้อมูลข่าวสาร การเตือนภัย การเข้าถึงสิทธิพื้นฐานตามกฏหมาย พัฒนากลไกการประสานข้อมูลระดับซอย/ชุมชน/หย่อมบ้าน การสร้างช่องทางสื่อสารร่วมกับหน่วยงาน การสร้างกองทุนกลางของตนเอง เพื่อเป็นกองทุนหมุนเวียนด้านอาชีพและจัดการผลกระทบระยะสั้น และการแก้ปัญหาด้านที่อยู่อาศัย การซ่อมแซมปรับปรุงบ้าน
บันทึกจากกิจกรรมเมื่อวันที่ 5 มีนาคม 2565
Relate topics
- "kickoff รถรับส่งผู้ปวยตำบลควนโส"
- "รถเติมสุขอำเภอนาทวี"
- "รถเติมสุขอำเภอสะบ้าย้อย"
- "พัฒนาระบบรถรับส่งผู้ป่วยพบแพทย์ตำบลคูหา"
- "ประชุมทีมเครือข่ายเกษตรสุขภาพจังหวัดสงขลา"
- "พัฒนาระบบบริการรถรับส่งผู้ป่วยพบแพทย์ อบต.บาโหย"
- พัฒนาPlatform รองรับบริการรถรับส่งสาธารณะจ.สงขลา
- กลางเดือนมีนาคม 2568 ดีเดย์เริ่มทดลองวิ่งรถบริการ
- การเก็บข้อมูลเพื่อปรับสภาพบ้านคนพิการติดเตียง
- "เครือข่ายเกษตรสุขภาพจังหวัดสงขลา" ประชุมแกนคณะทำงานครั้งที่ 1/2568