"การสื่อสารทางสังคมในภาวะวิกฤต"
"การสื่อสารทางสังคมในภาวะวิกฤต"
24 กพ.65 ทีม Hatyai sandbox เครือข่ายสื่อและผู้ที่เกี่ยวข้องร่วมประเมินสถานการณ์การแพร่ระบาดโควิด-19 ที่เชื้อโอไมครอนกำลังแพร่ระบาดหนัก โดยเฉพาะในพื้นที่อำเภอหาดใหญ่ เพื่อหาทางเสริมหนุนการทำงานของภาครัฐ พบประเด็นสำคัญดังนี้
1.สถานการณ์การแพร่ระบาด พบจำนวนผู้ป่วยสีเขียวมากขึ้นอย่างรวดเร็วทวีคูณ กลุ่มผู้ป่วยเหล่านี้ยังมีข้อกังวล กลัว ตื่นตระหนก อันเกิดจากประสบการณ์การสร้างความกลัวไว้ก่อนหน้า บวกกับข้อมูลจากภาคส่วนที่เกี่ยวข้องเริ่มเปลี่ยนแนวคิดจากเดิม ทำให้เกิดความสับสนและมีเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลาทำให้เกิดภาวะไม่แน่ใจในข้อมูลที่ได้รับ บางคนอยากติด(ได้เงินประกัน) ฯลฯ ผู้ป่วยจำนวนหนึ่งการ์ดตก ยอมให้ติดเชื้อ ด้วยคิดว่าไม่มีอาการหรือเป็นเพียงไข้หวัด ทำให้การแพร่เชื้อเป็นไปอย่างรวดเร็วกว้างขวาง
กลุ่มผู้ป่วยสีเขียวที่เพิ่มจำนวนอย่างรวดเร็วจนเกินภาระรับผิดชอบของบุคลากรสาธารณสุข ที่จะต้องให้คำแนะนำ การส่งต่อยาและอาหาร รวมถึงข้อกังวลที่จะแพร่เชื้อไปสู่กลุ่มเปราะบาง โดยเฉพาะเด็กเล็ก ผู้สูงอายุ 607,608 มีแนวโน้มกลุ่มนี้จะเพิ่มขึ้นในอีก ด้วยยังไม่ถึงจุดสูงสุด เชื่อว่าในช่วงเดือนสองเดือนจากนี้จะเป็นภาวะวิกฤตของการให้บริการหากไม่สามารถรองรับสถานการณ์ได้
2.คำถามต่อทิศทางนโยบายของเมือง จะรับมือโควิดนี้อย่างไร
เพื่อการรับมือวิกฤตที่อาจเกิดขึ้น บนฐานความรับผิดชอบร่วมกัน การแก้ปัญหาของเมืองหาดใหญ่ไม่จำเป็นจะต้องเหมือนที่อื่น(ตามนโยบายจากรัฐบาล) หากดูทุนทางสังคมในพื้นที่แล้ว เชื่อว่าสามารถระดมความช่วยเหลือและช่วยกันรับมือได้
เช่น หากบอกว่ายอมให้โควิดเป็นโรคประจำถิ่น ทิศทางเช่นนี้จะทำให้เกิดการติดเชื้อในหมู่ประชาชนไปสักเท่าไรจึงจะเกิดภูมิคุ้มกันหมู่ หรือการติดเชื้อที่ไม่เป็นภาระกับระบบสาธารณสุขควรจะอยู่ที่เท่าไรต่อวัน การดูแลกลุ่มเสี่ยงโดยเฉพาะเด็กเล็ก ผู้สูงอายุที่มีโรคประจำตัวควรมีแนวปฏิบัติอย่างไร จะแยกผู้ป่วยออกมาได้อย่างไร กรณีการเพิ่ม CI หรือประสานโรงแรมเปิดทางเลือกให้ผู้มีกำลังจ่ายในการไปพักสังเกตุอาการหรือพักตัว เพื่อเลี่ยงการแพร่เชื้อให้คนในครอบครัว เหล่านี้ ผู้รับผิดชอบควรจะมีการประเมินและวางแผนสื่อสารกับสังคมอย่างทันสถานการณ์ฺ
3.การสื่อสารทางสังคม ร่วมกันตอบคำถามหลักๆ ได้แก่
-สถานการณ์จริงเป็นเช่นไร ผู้ป่วยที่เข้าสู่ระบบเขียว เหลือง แดง เท่าไร อย่างไร
-แผนการบริหารจัดการรองรับในแต่ละช่วงเวลาเป็นอย่างไร
-การบริหารทรัพยากร งาน เงิน คนของระบบสาธารณสุขเพียงพอ หรือไม่อย่างไร
-ผู้ป่วยกลุ่มเขียว เหลือง แดง เมื่อติดโควิดแล้วจะต้องทำอย่างไร ดูแลตัวเองอย่างไร หากครอบครัวติด 1 คนแล้วคนอื่นจะทำอย่างไร มีแนวทางปฎิบัติที่กระชับ ชัดเจนสื่อสารกับประชาชน
-สังคมจะช่วยกันดูแล ช่วยเหลือกันอย่างไร
4.ในส่วนทีม Hatyai sandbox จะช่วยเสริมการติดต่อประสานงานหรือให้คำปรึกษา แนะนำ ด้วย call center ปัจจุบันทีมเส้นด้ายหาดใหญ่เป็นหน่วยอาสาสมัครเข้าไปช่วยรพ.หาดใหญ่ ณ โรงแรมเจบี สามารถจัดระบบรับส่งยาได้วันละ 1000 ชุด กำลังพบปัญหาสายเข้าจำนวนมากที่โทรเข้ามาสอบถามหรือบอกเล่าความกังวล หรือช่วยระบบส่งต่อยา อาหาร
เพื่อลดช่องว่างดังกล่าวมีแนวทางร่วมกับบุญชัยมือถือ บริษัทโอมิโปรฯ คณะพยาบาล ม.อ. มูลนิธิชุมชนสงขลา เปิดคู่สายและจัดทีมช่วยทีมเส้นด้าย ณ ห้องประชุมมูลนิธิชุมชนสงขลาและคณะพยาบาล ม.อ.
Relate topics
- จดหมายข่าวโครงการประชาสังคมร่วมแรงเพื่อเปลี่ยนแปลงเมือง (SUCCESS) ฉบับที่ 1 - 10
- ก้าวที่ 1 ของ iMedCare ธุรกิจเพื่อสังคมของสงขลา"
- "แผนผังภูมินิเวศ"
- เครือข่าย SUCCESS เมืองควนลังร่วมงานส้มโอเมืองควนลังปี 2567
- "ทีม iMedCare วิถีผู้ดูแลผู้ป่วยที่บ้าน"
- อังกฤษที่ผมเห็น ตอนที่ 11 - 21
- อังกฤษที่ผมเห็น ตอนที่ 1 - 10
- "iMed@home ระบบกลุ่ม"
- สมัชชาสุขภาพจังหวัดสงขลาชูวาระ "พลิกโฉมพลังพลเมืองสงขลาเพื่อสังคมสุขภาวะที่ยั่งยืน"
- กิจกรรมรับบริจาคโลหิตประชารัฐสงขลาประจำเดือนตุลาคม 2567