"จุดเปลี่ยนผ่านสำคัญ-ขาลงโควิด-19"
"จุดเปลี่ยนผ่านสำคัญ-ขาลงโควิด-19"
ทีม Hatyai sandbox ร่วมติดตามสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 ที่ไทยกำลังเข้าสู่จุดพีคของเชื้อโอไมครอน และขาลงของโควิด-19 ที่ควรระวังการติดเชื้อซึ่งมีแนวโน้มจะติดโควิดกันทุกคน และทำให้ระบบสาธารณสุขรับมือไม่ได้ มีข้อสรุปสำคัญๆดังนี้
1.การติดเชื้อที่มีตัวเลขรายงานอย่างเป็นทางการ ผ่านการตรวจ RT-PCR ของสงขลา(วิธีการตรวจหาเชื้อโควิด-19 มี 2 วิธีคือตรวจด้วย Antigen Test Kit กับ RT-PCR) ในช่วงนี้สงขลาจะมีตัวเลขเฉลี่ยอยู่ที่ 200 คนต่อวัน(ผู้ป่วยสีเหลือง-แดง) ส่วน ATK (ผู้ป่วยสีเขียว)จะอยู่ที่ 1300 คนต่อวัน โดยสรุปคือตัวเลขกลุ่มเสี่ยงนี้จะอยู่ที่อำเภอหาดใหญ่สูงสุด ผู้ป่วยกลุ่มเหลือง-แดงที่จะต้องเข้าสู่ระบบการรักษาพยาบาลยังมีน้อยถึงน้อยมาก มีผู้เสียชีวิตอยู่บ้างกลุ่มนี้จะไม่ฉีดวัคซีน เป็นผู้สูงอายุและมีโรคประจำตัว
กรณีนี้คาดว่าเราจะพบผู้ป่วยสีเขียวมากขึ้น คาดว่าจะขึ้นจุดสูงสุดในช่วงปลายเดือนหรือต้นเดือนมีนาคมนี้ ราว 2000 คนต่อวัน
ตัวเลขแม้จะใกล้เคียงความจริง แต่อาจจะมีกลุ่มเหลือง-แดงในชุมชนตกหล่นจากระบบอยู่บ้าง (ทน.หาดใหญ่มีประชากรแฝงราว 1.5 แสนบวกประชากรตามทะเบียนบ้าน 1.5 แสน หากมองในภาพอำเภอ อาจจะมีประชากรมากถึงกึ่งหนึ่งของจังหวัดสงขลาอาศัยที่นี่-ตัวเลขตามสิทธิบัตรทอง/ประกันสังคม/ราชการ)
2.ทิศทางเชิงนโยบาย ด้วยข้อจำกัดด้านงบประมาณและการจัดการ แนวโน้มรัฐจะบีบให้การรับมือโดยเน้นไปยังผู้ป่วยกลุ่มเหลือง-แดงเท่านั้น กรณีผู้ป่วยสีเขียวที่มีมากขึ้นแต่ไม่พบอาการรุนแรง กลุ่มนี้จะกลายเป็นโรคประจำถิ่น จึงให้อาศัย HI รองรับ บวกกับการกระจาย ATK ให้ประชาชนสามารถเข้าถึง ไม่เน้นการตรวจเชิงรุกอีกแล้ว ส่วนโรงงานยังมีนโยบายกักตัวเหมือนเดิม
จังหวัดมีนโยบายให้มี 1 ท้องถิ่น 1 CI รองรับผู้ป่วยที่เพิ่มมากขึ้น
ทน.หาดใหญ่เปิด CI เพิ่มขึ้นอีกที่รพ.เมย์ฟลาเวอร์ คาดว่าจะช่วยแบ่งเบาความต้องการของประชาชน ซึ่งมีความคาดหวังการเข้าถึงบริการ(ผลจากประสบการณ์จัดการโควิดช่วงก่อนหน้า)บวกกับความกังวลไม่อยากให้มีการแพร่เชื้อไปให้กลุ่มเสี่ยงในบ้าน คือ เด็ก ผู้สูงอายุ
ทีมเส้นด้ายหาดใหญ่สะท้อนการทำ HI จากความร่วมมือกับรพ.หาดใหญ่ เปิด callcenter พบความต้องการที่เข้ามาจำนวนมาก คือต้องการเข้าพัก CI ประชาชนมีข้อจำกัดในการรับรู้ว่าจะจัดการตัวเองอย่างไร ซึ่งเป็นปัญหาทา่งความรู้สึก ต้องการการสื่อสารทางสังคม รวมถึงการปรับระบบ Admitผู้ป่วย การส่งต่อข้อมูลกับ HIกับทีมไรเดอร์ส่งยา อาหาร ชุดboxset
ข้อเสนอแนะความร่วมมือในช่วงเวลาสำคัญนี้
1.ร่วมกับสสอ. รพ.ในพื้นที่ อปท.ปรับระบบบริหารจัดการให้ทันกับสถานการณ์ โดยเฉพาะการส่งต่อข้อมูล/ระบบ/งบประมาณ(จากสปสช.) ให้มีการกระจายความรับผิดชอบมากขึ้น รวดเร็วมากขึ้น บริหารแบบ one stop service มากขึ้น แล้วสื่อสารกับสังคมอย่างใกล้ชิด
บริหารความต้องการ CI ในกลุ่มผู้ป่วยสีเขียว ที่มี 7 เงื่อนไขการเข้าพักได้ คือ เป็นเด็ก ผู้สูงอายุที่มีโรคประจำตัว มีอาการเหนื่อย หอบ อาเจียน หญิงตั้งครรภ์ สัญญาณชีพผิดปกติ พิจารณาจำนวนสถานที่ให้สมดุลกับตัวเลขประชากรทั้งตามทะเบียนและประชากรแฝง
2.ผู้รับผิดชอบระดับจังหวัด/อำเภอสื่อสารกับประชาชนให้เกิดความรับรู้ทั้งในทิศทางเชิงอนาคต แนวนโยบายต่อกลุ่มผู้ป่วยสีเขียว และแนวปฎิบัติเมื่อเผชิญโรค เช่น 10 คำถามสำคัญเมื่อติดเชื้อโอไมครอน เน้นให้ชัดว่า สถานการณ์ตอนนี้ จุดเน้นสงขลาอยู่ที่อำเภอหาดใหญ่ ซึ่งควรเพิ่มจำนวน CI หรือเปิดรพ.สนามเพิ่มขึ้น ร่วมกันกับสื่อ สื่อสารทางสังคมถึงข้อกังวลในการรับมือโคิด-19 โอไมครอน ที่ยังสับสน ประชาชนส่วนหนึ่งยังไม่ทราบข้อจำกัดหรือทิศทางเชิงนโยบาย โดยเฉพาะการดูแลผู้ป่วยกลุ่มสีเขียว
3.Hatyaisandbox จะเสริมหนุนกลไก call center ให้สามารถเป็นข้อต่อในการรับมือโควิด-19 ของหาดใหญ่ โดยจัดทีมแบบประจำการ 1-2 เดือนนี้ ณ โรงแรมเจบี พร้อม 20 คู่สายและเครื่องคอมพิวเตอร์ ในการรับและส่งต่อข้อมูล/การให้บริการ การคัดกรองเบื้องต้น การให้คำปรึกษาแนะนำ ที่สำคัญคือเป็นเพื่อนให้กำลังใจ โดยร่วมกันจัดหาอาสาสมัครที่สามารถทำหน้าที่ได้ต่อเนื่องเต็มเวลา พร้อมมีค่าตอบแทนให้ตามสมควร
นัดหมายติดตามความก้าวหน้าอีกครั้ง 24 กพ.นี้ 18.00-21.00 น.
Relate topics
- จดหมายข่าวโครงการประชาสังคมร่วมแรงเพื่อเปลี่ยนแปลงเมือง (SUCCESS) ฉบับที่ 1 - 10
- ก้าวที่ 1 ของ iMedCare ธุรกิจเพื่อสังคมของสงขลา"
- "แผนผังภูมินิเวศ"
- เครือข่าย SUCCESS เมืองควนลังร่วมงานส้มโอเมืองควนลังปี 2567
- "ทีม iMedCare วิถีผู้ดูแลผู้ป่วยที่บ้าน"
- อังกฤษที่ผมเห็น ตอนที่ 11 - 21
- อังกฤษที่ผมเห็น ตอนที่ 1 - 10
- "iMed@home ระบบกลุ่ม"
- สมัชชาสุขภาพจังหวัดสงขลาชูวาระ "พลิกโฉมพลังพลเมืองสงขลาเพื่อสังคมสุขภาวะที่ยั่งยืน"
- กิจกรรมรับบริจาคโลหิตประชารัฐสงขลาประจำเดือนตุลาคม 2567