"การทำงานร่วมกันระหว่าง SCF กับเครือข่ายเมือง"
"การทำงานร่วมกันระหว่าง SCF กับเครือข่ายเมือง"
การทำงานภายใต้โครงการ SUCCESS มีสหภาพยุโรปเป็นเจ้าของงบ กำหนดให้ TEI เป็นหัวเรือใหญ่ SCF เป็นพันธมิตรหลักที่รับผิดชอบในพื้นที่ภาคใต้ และมีคณะทำงานของ 6 เมืองทำงานร่วมกันอย่างใกล้ชิด
คณะทำงานแต่ละเมืองก่อตัวจากภาคประชาสังคมในพื้นที่ มีทั้งองค์กรชุมชน กลุ่มอาชีพ องค์กรประชาสังคมระดับอำเภอ จังหวัด รวมตัวกัน บางเมืองเป็นคนใหม่ๆมาทำงานร่วมกันโดยมีแกนนำเป็นผู้ประสานพลัง อาศัยกิจกรรมโครงการในการเรียนรู้ ปรับตัว พัฒนาความเข้มแข็งในเชิงองค์กรการทำงานของพื้นที่สะสะทุนทางสังคมเพิ่มขึ้น และมีการพัฒนาศักยภาพผ่านกิจกรรมการประเมินความเปราะบางของเมืองเป้าหมาย
การพัฒนาศักยภาพที่ดีที่สุด คือการเรียนรู้ผ่านการทำงาน ร่วมรับรู้แนวทาง เรียนรู้ทางแนวคิดใหม่ๆ นำมาปรับใช้ ลองผิดลองถูกภายใต้บริบทของตน โดยผ่านคณะทำงานลงไปปฎิบัติการด้วยตนเอง พร้อมวางระบบการทำงานที่จะช่วยเอื้อให้เกิดธรรมาภิบาลและประสิทธิภาพในการบริหารจัดการ
เหล่านี้ผ่านการออกแบบร่วมกัน มีการสื่อสารผ่านช่องทางต่างๆ รวมถึงการพบปะแลกเปลี่ยนผ่านการประชุมแบบทางการบ้าง ไม่ทางการบ้าง พบกันบ้างหรือผ่านออนไลน์บ้าง ล้วนสะสมความรู้ เพิ่มทักษะใหม่ๆ รวมถึงเห็นโอกาสของการทำงานร่วมกัน องค์ประกอบของผู้คนที่หลากหลาย พหุวัฒนธรรม พหุวัย สหวิทยา ทำให้เกิดความรู้ใหม่ได้ตลอดเวลาและตลอดกระบวนการ
ก้าวไปท่ามกลางความหลากหลาย ที่มีทั้งช่องว่าง การเติมเต็ม ปะทะกันระหว่างวัฒนธรรมเดิมและวัฒนธรรมการทำงานแบบใหม่ ข้อดีที่สุดคือต่างฝ่ายต่างปรับตัวเข้าหากัน
บันทึกการดำเนินงานวันที่ 9 - 11 มกราคม 2565 และวันที่ 15 มกราคม 2565
Relate topics
- จดหมายข่าวโครงการประชาสังคมร่วมแรงเพื่อเปลี่ยนแปลงเมือง (SUCCESS) ฉบับที่ 1 - 10
- ก้าวที่ 1 ของ iMedCare ธุรกิจเพื่อสังคมของสงขลา"
- "แผนผังภูมินิเวศ"
- เครือข่าย SUCCESS เมืองควนลังร่วมงานส้มโอเมืองควนลังปี 2567
- "ทีม iMedCare วิถีผู้ดูแลผู้ป่วยที่บ้าน"
- อังกฤษที่ผมเห็น ตอนที่ 11 - 21
- อังกฤษที่ผมเห็น ตอนที่ 1 - 10
- "iMed@home ระบบกลุ่ม"
- สมัชชาสุขภาพจังหวัดสงขลาชูวาระ "พลิกโฉมพลังพลเมืองสงขลาเพื่อสังคมสุขภาวะที่ยั่งยืน"
- กิจกรรมรับบริจาคโลหิตประชารัฐสงขลาประจำเดือนตุลาคม 2567