ประชุมคณะทำงานด้านการพัฒนาข้อมูล เทคโนโลยีและสารสนเทศสุขภาพ กองทุนฟื้นฟูสมรรถภาพจังหวัดสงขลา
วันที่ ๑๗ ธันวาคม ๒๕๖๔ ประชุมคณะทำงานด้านการพัฒนาข้อมูล เทคโนโลยีและสารสนเทศสุขภาพ กองทุนฟื้นฟูสมรรถภาพจังหวัดสงขลา
นำทีมโดย อ.นิคม จากคณะวิศวะมอ. โปรแกรมเมอร์จากอบจ. สสจ. มูลนิธิชุุมชนสงขลา ทีมงานกองทุนฟื้นฟูฯ มีเรื่องสำคัญๆ ที่มีผลต่อการทำงานในระยะต่อไปก็คือ
๑.รายงานความก้าวหน้าในส่วนการพัฒนาระบบฐานข้อมูลกลาง ที่มูลนิธิชุมชนสงขลารับผิดชอบ บริษัทที่รับช่วงดำเนินการต่อ จะต้องส่งงานให้แล้วเสร็จ โดยให้รายงานความก้าวหน้า รวมถึงการทดสอบการใช้งานในสองช่วง คือ ก่อนสิ้นปีและต้นปี โดยให้แล้วเสร็จ มีการอบรมและนำเสนอในวันที่ ๑๔ มกราคม ปี ๖๕
จากนั้นกองทุนฯนำเสนอระบบสู่คณะกรรมการข้อมูล ๒ ชุด รวมผู้บริหาร ๑๑ องค์กรความร่วมมือให้เห็นภาพรวมของระบบ การเข้าถึง การใช้งานระบบ ซึ่งเน้นเป็นเพียง "ทางผ่าน" นำข้อมูลจากหน่วยงานที่มีอยู่แล้วเข้ามาสู่ระบบ ประมวลผลมาใช้งานร่วมกัน ไม่ใช่ระบบใหม่ ที่จะเป็นภาระให้หน่วยงานจะต้องมานำข้อมูลเข้าระบบ
๒.เตรียมดำเนินการในระยะที่ ๒ ที่จะคู่ขนานกันไป
๒.๑ การนำไปใช้ประโยชน์ นอกจากจะคืนข้อมูลนำเสนอระบบการทำงานในระยะที่ ๑ ให้หน่วยงานแล้ว บุคลากรของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจะได้เห็นระบบข้อมูลกลางที่จะอำนวยความสะดวก ประโยชน์ที่จะได้รับ บางหน่วยงานที่ยังไม่มีระบบการนำเข้าข้อมูลที่เป็นปัจจุบัน(มี data เป็นแบบกระดาษ หรือไฟล์ดิจิตอล หรือส่งต่อเข้าสู่ระบบของส่วนกลาง ไม่มีระบบของพื้นที่)อาจจะได้นำไปปรับใช้ พัฒนาบุคลากรหรือระบบภายในของตน หรือจะร่วมมือกับหน่วยงานที่มีระบบภายใน ประสานการทำงานร่วมกัน
๒.๒ การพัฒนา ยกระดับการบริการและการช่วยเหลือ นำข้อมูลจากหน่วยงานสำคัญมาสู่การปรับระบบการบริการร่วมกัน ไม่ว่าจะเป็นด้านที่อยู่อาศัย กายอุปกรณ์ การเข้าถึงสิทธิ์ ฯลฯ ระบบประมวลผลในชั้นแรก ข้อมูลจะนำมาสู่การกำหนดยุทธศาสตร์การทำงานแบบบูรณาการของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ในส่วนของระบบฐานข้อมูลกลางจะนำมาออกแบบระบบในการประสานเพิ่มความสะดวกการทำงานต่อไป เช่น การแจ้งเตือน การรายงานผล ระบบประมวลผลรายบุคคล เป็นต้น จำแนกเป็นโมดูลย่อยต่อไป โดยคงแนวคิด การเป็น "ทางผ่าน" และ "ประมวลผล"ในเชิงพื้นที่ เชิงยุทธศาสตร์ ไม่ได้สร้างระบบใหม่
๒.๓ ความร่วมมือกับกระทรวงดิจิตอล DGA เชื่อมระบบระหว่างส่วนกลางกับส่วนภูมิภาค จำแนกเป็น ๒ ส่วนคือ ภาระกิจกลางในส่วนที่ DGA รับผิดชอบและภารกิจระดับพื้นที่ ซึ่งทีมกองทุนฯและเครือข่ายร่วมดำเนินการ โดยมุ่งเน้นกลุ่มงานผู้สูงอายุ คนพิการ ผู้อยู่ในภาวะพึ่งพิง ซึ่งสามารถขยายผลไปยังจังหวัดต่างๆ ผ่านงานกองทุนฟื้นฟูฯ ได้ทั้งระดับเขต หรือทั้งประเทศ และส่วนงานที่เห็นประโยชน์
มีข้อเสนอให้ DGA ช่วยสนับสนุนการใช้ "คลาวด์" ของส่วนกลาง เพื่ออำนวยความสะดวกให้กับเครือข่ายทั้งกองทุนฯ มูลนิธิ สสจ. ซึ่งจะดูแลไปถึงจังหวัดที่ต้องการนำระบบฐานข้อมูลกลางนี้ไปใช้ในพื้นที่ของตน
หากสงขลาทำสำเร็จ ระบบเดียวกันนี้สามารถนำไปใช้ในจังหวัดอื่นที่ต้องการใช้ โดยไม่ต้องว่าจ้างทำโปรแกรมใหม่ มีแค่ค่าบริหารดูแลระบบ มีค่าใช้จ่ายในการบริหารจัดการไม่มากนัก
Relate topics
- จดหมายข่าวโครงการประชาสังคมร่วมแรงเพื่อเปลี่ยนแปลงเมือง (SUCCESS) ฉบับที่ 1 - 10
- ก้าวที่ 1 ของ iMedCare ธุรกิจเพื่อสังคมของสงขลา"
- "แผนผังภูมินิเวศ"
- เครือข่าย SUCCESS เมืองควนลังร่วมงานส้มโอเมืองควนลังปี 2567
- "ทีม iMedCare วิถีผู้ดูแลผู้ป่วยที่บ้าน"
- อังกฤษที่ผมเห็น ตอนที่ 11 - 21
- อังกฤษที่ผมเห็น ตอนที่ 1 - 10
- "iMed@home ระบบกลุ่ม"
- สมัชชาสุขภาพจังหวัดสงขลาชูวาระ "พลิกโฉมพลังพลเมืองสงขลาเพื่อสังคมสุขภาวะที่ยั่งยืน"
- กิจกรรมรับบริจาคโลหิตประชารัฐสงขลาประจำเดือนตุลาคม 2567