"ผัง(ชีวิต)ชุมชน คนจนเมืองบ่อยาง"

by punyha @7 พ.ย. 64 08:28 ( IP : 124...49 ) | Tags : ข่าวสาร-ประชาสัมพันธ์ , โครงการ SUCCESS
  • photo  , 960x433 pixel , 118,284 bytes.
  • photo  , 960x432 pixel , 115,017 bytes.
  • photo  , 640x1422 pixel , 115,609 bytes.
  • photo  , 1422x640 pixel , 186,352 bytes.
  • photo  , 640x1420 pixel , 187,869 bytes.
  • photo  , 640x1420 pixel , 133,037 bytes.
  • photo  , 960x432 pixel , 120,983 bytes.
  • photo  , 960x432 pixel , 116,646 bytes.
  • photo  , 1420x640 pixel , 188,749 bytes.
  • photo  , 960x540 pixel , 104,601 bytes.
  • photo  , 528x960 pixel , 118,865 bytes.
  • photo  , 528x960 pixel , 94,957 bytes.
  • photo  , 528x960 pixel , 95,822 bytes.
  • photo  , 528x960 pixel , 102,741 bytes.
  • photo  , 528x960 pixel , 90,714 bytes.
  • photo  , 528x960 pixel , 120,541 bytes.
  • photo  , 528x960 pixel , 98,217 bytes.
  • photo  , 528x960 pixel , 84,888 bytes.
  • photo  , 528x960 pixel , 98,359 bytes.
  • photo  , 528x960 pixel , 110,504 bytes.
  • photo  , 960x540 pixel , 124,885 bytes.

"ผัง(ชีวิต)ชุมชน คนจนเมืองบ่อยาง"

วันที่ 6 พฤศจิกายน 2564  เครือข่ายพัฒนาเมืองสงขลา นัดหมายแกนนำ 13 ชุมชนและเสริมด้วยชุมชนอื่นในพื้นที่เทศบาลนครสงขลา ในกลุ่มที่เป็นคนจนเมืองและมีปัญหาด้านที่อยู่อาศัย มาร่วมเรียนรู้การเก็บข้อมูลที่อยู่อาศัยด้วยการทำผังชุมชนด้วยแผนที่ทำมือ

โดยมีมูลนิธิชุมชนสงขลา อ.จามิกร มะลิซ้อน คณะสถาปัตย์ มทร.ศรีวิชัย สาขาสภาผู้สูงอายุแห่งประเทศไทยจังหวัดเข้าร่วม

ทั้งนี้การสำรวจข้อมูลจำแนกเป็น 2 ส่วนสำคัญคือ

1)ข้อมูลระดับครัวเรือน ใช้แบบสำรวจผ่านแบบสอบถามสามารถเก็บข้อมูลระดับบุคคลและครัวเรือน และสามารถใช้แอพพลิเคชั่น iMed@home

2)การเก็บข้อมูลสภาพแวดล้อมและอื่นๆ ผ่านการใช้แผนที่ทำมือ สำรวจโดยชุมชน ในส่วนของบ้านเลขที่ เนื้อที่ โครงสร้างพื้นฐาน(ดิน น้ำ ไฟ) พื้นที่สาธารณะ จุดเสี่ยงในชุมชน(มลภาวะ แหล่งมั่วสุม จุดเสี่ยงน้ำท่วม วาตภัย อากาศร้อน แหล่งโรค ฯลฯ) บ้านของกลุ่มเปราะบาง(คนพิการ ผู้สูงอายุติดเตียง ผู้ป่วย ฯลฯ) ร้านค้า ร้านอาหาร แหล่งผลิต รวมถึงองค์กรสาธารณะ หรือหน่วยงานสำคัญที่มี

โดยคำนึงถึงการมีส่วนร่วมของชุมชน สร้างการรับรู้และร่วมกันดำเนินงาน มีทีมร่วมกันลงเก็บข้อมูล สร้างปฎิสัมพันธ์กันและกันในฐานะสมาชิกของชุมชน พร้อมกับเรียนรู้ปัญหา ศักยภาพของชุมชน เพื่อนำมาประกอบการทำแผนให้ช่วยช่วยเหลือ ดูแล ร่วมสร้างชุมชนเข้มแข็ง

การทำแผนที่สามารถจัดทำให้อยู่ในแผ่นเดียวและหลายๆแผ่น โดยจัดทำแผนที่หลักของชุมชน(ถนน บ้าน สถานที่สำคัญ) แล้วถ่ายเอกสาร จำแนกแยกข้อมูลแต่ละประเภท แต่ละด้าน เพื่อให้สามารถเข้าถึงได้ง่าย สดวกในการนำมาใช้ กรณีที่ให้อยู่ในแผ่นเดียว สามารถใช้สัญลักษณ์และเขียนคำอธิบายแทน

กิจกรรมนี้เป็นส่วนหนึ่งของโครงการที่พอช.สนับสนุนมายังพื้นที่เมืองสงขลา เป็นการพัฒนาศักยภาพเตรียมความพร้อมชุมชนร่วมแก้ปัญหาที่อยู่อาศัย และร่วมมือบูรณาการกับงบอื่นๆจากเทศบาลนครสงขลา โครงการ SUCCESS จากสหภาพยุโรป


หมายเหตุ อ.จามิกร ให้ความรู้เพิ่มเติมว่า ในการทำผังชุมชนเราสามารถจัดเก็บข้อมูลได้มากมาย ได้แก่

1.​ทำเล

2.ประวัติที่มา/การตั้งถิ่นฐานชุมชน

3.ภูมิประเทศ

4.ทางเข้าออก

5.การเดินทางมาชุมชน

6.ภูมิอากาศ​ อุณหภูมิ​ ความชื้น

7.การเชื่อมโยง​ ความสัมพันธ์กับชุมชนอื่น

8.บริบท​ ประเพณี​ วัฒนธรรม​ อาขีพ​ รายได้​ เศรษฐกิจ

9.มลภาวะ​ น้ำ​เสีย​ ขยะ อากาศ​ ฝุ่น​ กลิ่น​ เสียงรบกวน

10.ธรรมชาติเดิม

11.สิ่งก่อสร้างเดิม

12.การใช้ประโยชน์เดิม

13.สาธารณูปโภค ประปาไฟฟ้า​

14.ความแออัด​ หนาแน่นของที่อยู่อาศัย

15.พื้นที่เปิดโล่ง​ พื้นที่สีเขียว

16.ปัญหาน้ำท่วมขัง​ การระบายน้ำ

17.เขตและตำแหน่งการใช้งานเช่นตลาด​ ที่ออกกำลังกาย

18.แมลง​ สัตว์​ อันตราย

19.กรรมสิทธิ์​ การเช่า​ เจ้าของ

20.กฎหมายที่เกี่ยวข้อง

21.บทบาทหน่วยงานท้องถิ่น

22.สถานที่​ จุดเด่นชุมชน

23.พื้นที่รับแดด​ พื้นที่ร่มเงา

24.ทางเดินเท้า​ ทางรถในชุมชน

25.กิจกรรมต่างๆในชุมชน

26.สภาพแวดล้อมรอบชุมชนและในชุมชน

27.ความสามัคคี

28.สภาพดิน​ หิน​ ทราย

29.สภาพปัญหาถนน​ ทางเดิน

30.การคมนาคม​ เส้นทางจราจร

31.พื้นที่ปลูกผัก​ เลี้ยงสัตว์

32.ทำSWOT จุดแข็ง​ จุดอ่อน​ ศักยภาพและโอกาส

33.ความต้องการเร่งด่วนของชุมขน

34.การพัฒนาด้านต่างๆของชุมชนในอนาคต

personมุมสมาชิก

เยือนอเมริกา ดูงานมูลนิธิชุมชน

เยือนอเมริกา ดูงานมูลนิธิชุมชน.

เครือข่าย

เครือข่ายมูลนิธิชุมชน