เป้าหมาย 1,000 ไร่สู่สวนยางยั่งยืนสงขลา

by punyha @31 ต.ค. 64 19:25 ( IP : 124...218 ) | Tags : ข่าวสาร-ประชาสัมพันธ์ , Node Flagship
photo  , 842x596 pixel , 78,093 bytes.

จังหวัดสงขลาสนับสนุนให้ 5 อำเภอเป็นพื้นที่นำร่องในการลดการพึ่งพาเศรษฐกิจเชิงเดี่ยวด้วยสวนยางยั่งยืน โดยมี อ.รัตภูมิเป็นต้นแบบ ภายใต้กรอบแนวคิดของเศรษฐกิจสร้างสรรค์ จังหวัดสงขลา

อ.รัตภูมิถือเป็นหนึ่งพื้นที่ที่มีการสวนยางเป็นหลักเหมือนพื้นที่อื่นๆ ของจังหวัดสงขลา แต่พื้นที่รัตภูมินั้นมีความพิเศษนตรงที่หลายแปลงในพื้นที่มีการริเริ่มทำแปลงยางแบบผสมผสาน กันมานานหลายสิบปีแล้ว แต่อาจยังไม่รับความนิยมมากนักจากเกษตรกรโดยทั่วไป เนื่องจากยังขัดต่อความเชื่อของเกษตรกรที่ว่า  การปลูกพืชชนิดอื่นร่วมกับ ยางพารานั้นอาจส่งผลกระทบต่อคุณภาพนำยางพารา  เพราะพืชอื่นอาจไปแย่งปุ่ย แย่งสารอาหาร จนทำให้น้ำยางพารามีคุณภาพต่ำ รวมไปถึงอาจยากต่อการดูแล เพราะมันรกไม่ปลอดภัย ไม่สบายตา

อีกทั้งหน่วยงานภาครัฐก็ยังไม่ได้เข้าสนับสนุนอย่างเป็นรูปธรรมหรือให้ความรู้แก่เกษตรกรอย่างจริงจัง และการขาดความรู้ความเข้าใจอย่างแท้จริงนี้นับเป็นปัญหาใหญ่มาก ที่ทำให้สวนยางพารายังคงเป็นพืชเชิงเดี่ยวเต็มพื้นที่จนส่งผลกระทบทำให้ระบบนิเวศน์ขาดสมดุล

และที่สำคัญ การพึ่งพาแค่พืชเชิงเดี่ยว ทำให้เกษตรกรไม่มีความมั้งคงทางเศรษฐกิจในช่วงที่ยางราคาตกต่ำ

ปี 64 นี้ NodeFlagshipSongkhla หรือหน่วยจัดการจังหวัดสงขลาระดับที่มีจุดเน้นสำคัญ ทำหน้าที่เป็นหนึ่งในกลไกที่จะผลักดันประเด็นยุทธศาสตร์จังหวัดสงขลา ว่าด้วยการก้าวไปสู่เมื่องเศรษฐกิจสร้างสรรค์ สังคมเป็นสุข สิ่งแวดล้อมยั่งยืน

ซึ่งในปี 64 นี้ NodeFlagshipSongkhla ได้มุ่งเน้นเฉพาะประเด็นเศรษฐกิจสร้างสรรค์โดยชูเรื่องสวนยางยั่งมาเป็นวาระสำคัญ

เริ่มจากกลุ่มเกษตรกรใน อ.รัตภูมิ ซึ่งมีการทำเรื่องพืชร่วมยางกันมานานแล้ว

ทางหน่วยจัดการจังหวัด  NodeFlagshipSongkhla ตั้งเป้าไว้ว่าจะทำให้ อ.รัตภูมิเป็นต้นแบบ โดยส่งเสริมให้มีศูนย์เรียนรู้เรื่องการปลูกพืชร่วมยาง ไม่น้อยกว่า 5 แปลง เป็นแหล่งถ่ายทอดความรู้ และขยายไปสู่พื้นที่อื่นต่อไป

ซึ่งหลังจาก NodeFlagshipSongkhla ได้ลงพื้นที่สำรวจแปลงต้นแบบ และแปลงของผู้สนใจเข้าร่วมโครงการ ใน 6 อำเภอดังนี้

อ.รัตภูมิ  ประกอบด้วย  ต.เขาพระ  ต.ควนรู  ต.กำแพงเพชร  ต.คูหาใต้  ต.ท่าชะมวง

อ.หาดใหญ่  ต.ฉลุง

อ.สะเดา  ต.ปาดังเบซาร์

อ.จะนะ  ต.สะพานไม้แก่น

อ.เทพา ต.วังใหญ่

อ.นาทวี ต.นาทวี

จากการลงสำรวจพื้นที่และการเก็บข้อมูล คาดว่าในปี 64 นี้ จะมีพื้นการปลูกพืชร่วมยางถูกบันทึกในระบบฐานข้อมูลได้ไม่ต่ำกว่า 1,000 ไร่

โปรดติดตามความคืบหน้า และร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการสร้างความยั่งยืนของจังหวัดสงขลา ได้ที่นี่ เพจ #สงขลายั่งยืน

#สสส #สร้างสรรค์โอกาส #NodeFlagshipSongkhla #สงขลายั่งยืน  #สวนยางยั่งยืน

ขอบคุณข้อมูลจากเพจ สงขลายั่งยืน

personมุมสมาชิก

เยือนอเมริกา ดูงานมูลนิธิชุมชน

เยือนอเมริกา ดูงานมูลนิธิชุมชน.

เครือข่าย

เครือข่ายมูลนิธิชุมชน