"สรุปบทเรียนการจัดงานวันพลเมืองสงขลา กำหนดแนวทางร่วมรับมือโควิดและการดำเนินงานต่อไป"

by punyha @21 ต.ค. 64 14:01 ( IP : 171...112 ) | Tags : ข่าวสาร-ประชาสัมพันธ์ , 4PW
  • photo  , 1706x960 pixel , 148,129 bytes.
  • photo  , 1706x960 pixel , 153,618 bytes.
  • photo  , 1706x960 pixel , 137,235 bytes.
  • photo  , 1706x960 pixel , 90,299 bytes.
  • photo  , 1706x960 pixel , 75,509 bytes.
  • photo  , 1706x960 pixel , 103,954 bytes.
  • photo  , 1706x960 pixel , 107,668 bytes.
  • photo  , 1706x960 pixel , 94,302 bytes.
  • photo  , 1706x960 pixel , 103,879 bytes.
  • photo  , 1706x960 pixel , 146,685 bytes.
  • photo  , 1706x960 pixel , 96,019 bytes.
  • photo  , 1706x960 pixel , 93,151 bytes.
  • photo  , 1706x960 pixel , 86,184 bytes.
  • photo  , 1706x960 pixel , 116,838 bytes.

"สรุปบทเรียนการจัดงานวันพลเมืองสงขลา กำหนดแนวทางร่วมรับมือโควิดและการดำเนินงานต่อไป"

วันที่ 20 ตุลาคม 2564

มูลนิธิชุมชนสงขลา ประสานภาคีเครือข่ายร่วมจัดงานวันพลเมืองสงขลา ปี ๖๔ กว่า ๓๐ คน

ร่วมกำหนดแนวทางดำเนินงานต่อไป

๑.ติดตามสถานการณ์โควิดในพื้นที่สงขลา

๑.๑ สร้างการยอมรับว่าโควิดจะอยู่กับเราอีกนาน แต่เป็นเพียงโรคติดต่อประเภทหนึ่ง หันมาให้ความสำคัญกับการลดการเสียชีวิต ไม่ให้ระบบสาธารณสุขล่ม เป้าหมายร่วม สงขลาปลอดภัยอย่างยั่งยืน มิติสุขภาพ ลดการแพร่เชื้อและการเสียชีวิตด้วยการตรวจเชิงรุก คัดกรองผู้ป่วยเขียว/เหลือง/แดง เร่งฉีดวัคซีนกลุ่มเสี่ยง ผลักดันแนวทางล็อคดาวน์บางพื้นที่ บางจุดที่มีการระบาดอย่างมากเท่านั้น ไม่ควรปิดเมืองทั้งจังหวัด มิติเศรษฐกิจ เปิดเมืองให้เศรษฐกิจเดินหน้าได้ จัดทำ SOP แนวปฎิบัติในการรองรับ มิติด้านสังคมกลุ่มเปราะบางได้รับการดูแล

๑.๒ กรณีการฉีดวัคซีนไม่ควรเป็นไปในลักษณะจำกัดสิทธิ์ของผู้ที่ยังไม่ฉีด หรือใช้มาตรการบังคับ และปัจจุบันกำลังจะมีวัคซีนลงมาจำนวนมาก ให้มีการสำรวจกลุ่มเปราะบางหรือคนทั่วไปที่ยังไม่มีบัตรประชาชนเพื่อให้เข้าถึงการฉีดวัคซีน มีเจ้าภาพที่จะประสานเชื่อมโยง เสนอให้มูลนิธิชุมชนสงขลาเป็นแกนประสาน

๑.๓ แนวทางการจัดการโควิดที่เหมาะสมในระดับพื้นที่ ควรมีการบูรณาการการทำงานร่วมกับภาคส่วนต่างๆ เพื่อนำเสนอข้อเสนอและแนวทางแก้ไขร่วมกันในระดับอำเภอ โดยพิจารณาองค์ประกอบที่ครอบคลุมรัฐ ท้องถิ่น วิชาการ เอกชน ประชาสังคม ชุมชน ร่วมกันประเมินสถานการณ์ กำหนดยุทธศาสตร์ที่สมดุลทั้งมิติสุขภาพ เศรษฐกิจ สังคม ระยะสั้นควรร่วมมือกับรพ.อำเภอในแต่ละพื้นที่ สสอ. อปท. เพื่อทำการคัดกรองเชิงรุก และจัดการวัคซีนอย่างมีส่วนร่วม

๑.๔ ในส่วนภาคประชาสังคม จัดเวทีเพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในภาพระดับจังหวัด ประเมินสถานการณ์ ค้นหาเป้าหมายร่วม บทบาทและศักยภาพของกลไกที่ภาคประชาสังคมสามารถมีส่วนร่วมกับหน่วยงานและภาคีต่างๆ ที่ไม่ใช่ทำงานซ้ำซ้อนกับภาครัฐ แต่ทำงานปิดช่องว่างการทำงานของภาครัฐ พร้อมพัฒนาช่องทางสื่อสาร ทั้งในส่วนสถานการณ์วัคซีนในแต่ละพื้นที่ ข้อมูลการระบาด ข้อมูลจำนวนเตียง ฯลฯ เพื่อให้สื่อสารอย่างทั่วถึงและรวดเร็ว รวมทั้งนำเสนอตัวอย่างวิธีการที่น่าสนใจ หรือสร้างความร่วมมือ ลดความสับสน โดยอาจชวนเครือข่ายสื่อ เช่น สถานีวิทยุ มอ.มาร่วม นำต้นแบบโมเดลต่างๆ ของชุมชนมานำเสนอ อาจจะจัดสัปดาห์ละ ๑ ครั้ง หรือร่วมแลกเปลี่ยนบทเรียนจากการทำงาน

๑.๕ ระยะยาวควรมีพื้นที่ปฏิบัติการ โดยแต่ละเครือข่ายเสนอพื้นที่ทำงานร่วมกัน และมีมูลนิธิชุมชนสงขลาเป็นองค์กรหลักในการประสานข้อมูล ประสานภาคี ใช้พื้นที่เพื่อนำร่องหรือเป็นต้นแบบในการขับเคลื่อน ทำงานเชื่อมโยงกันของทุกองค์กรต่างๆ โดยขับเคลื่อนร่วมกันให้เห็นภาพรวมของจังหวัดสงขลา

๒.สรุปงานวันพลเมือง

๒.๑ การเตรียมงานมีเวลาน้อย มีข้อจำกัดในวันแรกของการใช้ระบบประชุมทางไกล แต่ภาพรวมเห็นพลังความร่วมมือ การจัดงานมีคนสนใจเข้าร่วมค่อนข้างมาก เห็นถึงความกระตือรือร้นและตั้งใจในการเข้าร่วมงาน ปีนี้มีเครือข่ายใหม่เพิ่มเข้ามาค่อนข้างมาก องค์กรมีความพร้อมเข้าร่วมนำเสนอผลการทำงาน อันเป็นผลจากการทำงานอย่างต่อเนื่องทั้งปี มีการปฏิบัติงานของตัวเองที่ชัดเจนทั้งภาคประชาสังคม ธุรกิจ การจัดงานเป็นการรวมเครือข่ายต่างๆ ของภาคส่วนต่างๆ เห็นทิศทางการทำงานร่วมกัน

๒.๒ การทบทวนการทำงานพัฒนาการในรอบ ๒๐ ปีทำให้เห็นภาพรวมการขับเคลื่อนในแต่ละยุคสมัยและเชื่อมโยงมาจนถึงปัจจุบันภายใต้สถานการณ์โควิด การจัดงานทำให้เห็นพัฒนาการที่มีการสะสมพลังสะสมความเป็นเครือข่ายจนถึงปัจจุบัน ที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนวิกฤติเป็นโอกาส เห็นประเด็นที่สำคัญในการเปลี่ยนผ่านจากคนรุ่นเก่ามาสู่คนรุ่นใหม่
๒.๓ เป้าหมายร่วมปีนี้คือสงขลาปลอดภัยอย่างยั่งยืน มีเป้าหมายย่อยด้านสุขภาพ ด้านเศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม การเมือง ที่สามารถอยู่ร่วมกับสถานการณ์โควิดในระยะยาว ทีมกลางได้สรุปข้อเสนอต่อภาคีความร่วมมือและหน่วยงาน จุดเน้นให้มีพื้นที่ปฏิบัติการ Sandbox พื้นที่ต่างๆ ที่มีความพร้อม ในขอบเขตระดับเมือง/อำเภอ/ตำบล โดยร่วมกับ อปท.จัดตั้งกลไกกลางเชื่อมโยงการทำงาน ประเมินผลกระทบเมืองจากโควิด ๑๙ กำหนดยุทธศาสตร์การแก้ปัญหา พัฒนาฐานข้อมูล ระบบข้อมูลกลาง มีเครือข่ายความร่วมมือ ข้ามประเด็น ข้ามพื้นที่ ข้ามองค์กร มีการประชาสัมพันธ์เชิงรุก

๓.ข้อเสนอแนะการดำเนินงานต่อไป ๓.๑ ระยะสั้น รับมือสถานการณ์โควิด จัดประชุมภาคีแลกเปลี่ยนร่วมกันในการหารือแนวทางขับเคลื่อนสถานการณ์โควิด วันศุกร์ที่ ๒๒ ตุลาคม ๖๔ เวลา ๑๗.๐๐ น. ผ่านระบบ Zoom โดยประสาน นพ.สุภัทร ฮาสุวรรณกิจ มาร่วมเสนอแนะแนวทาง เรียนรู้ตัวอย่างการรับมือในเชิงพื้นที่ เช่น Hatyai sandbox plus การทำงานของภาคีตำบล ร่วมค้นหาพื้นที่ทำงานร่วมระดับอำเภอ/เมือง ตำบล ภูมินิเวศ

๓.๒ มีวงกลางประชุมร่วมแลกเปลี่ยนกันของแต่ละประเด็น/พื้นที่เพื่อกำหนดยุทธศาสตร์การทำงานอย่างสม่ำเสมอ และมีวงกลางประจำทุก ๒ เดือนอาศัยสถานการณ์โควิด เชื่อมโยงข้ามพื้นที่ข้ามประเด็นและการทำงาน เชื่อมประสานเครือข่ายใหม่ๆ เข้ามา โดยเฉพาะทีมวิชาการ มาช่วยให้ความรู้เสริมศักยภาพ ติดตามประเมินผล จัดการความรู้แต่ละแผนงาน/ประเด็น โดยแต่ละพื้นที่แต่ละประเด็นต้องมีเจ้าภาพหลักเจ้าภาพรองเพื่อออกแบบการขับเคลื่อนทั้งปี ร่วมสร้างรูปธรรมการขับเคลื่อนในการเชื่อมโยงภาคส่วนต่างๆมาทำงานร่วมกัน ก่อนขยายผล

๓.๓ แนวทางหลักของภาคีเน้นการสร้างความร่วมมือ การใช้ softpower ในการทำงาน การใช้เครื่องมือใหม่ๆ เช่น แอพพลิเคชั่น การสื่อสาร สร้างกลไกแกนนำเพื่อสื่อสารการทำงาน นำข้อมูลมาร่วมแลกเปลี่ยนเพื่อการทำงานระยะยาว ระยะนี้จะขอนัดประชุมผ่าน zoom เพื่อกำหนดแผนปฎิบัติการ และยุทธศาสตร์การทำงาน การติดตามประเมินผล การจัดการความรู้

๓.๔ จัดการขยายผลการจัดงาน นำเสนอเอกสารข้อเสนอแนะและแนวทางความร่วมมือ ให้กับหน่วยงานและภาคส่วนต่างๆ ให้องค์กรภาคีตรวจสอบเอกสาร และร่วมกันปรับปรุงให้มีความสมบูรณ์ก่อนเผยแพร่ ร่วมกับรายงานการจัดการและหนังสือผีเสื้อขยับปีกเล่ม 9 ในรูปแบบ e-book นำเสนอกรณีศึกษาต่างๆ

๓.๕ เสนอเชิงนโยบายต่อจังหวัดในบางมาตรการที่ยังเป็นปัญหา หรือเสนอให้ขยายผลในบางมาตรการที่ดำเนินการได้ดี โดยวิเคราะห์แนวทาง องค์ประกอบหน่วยงาน ข้อเสนอร่วมกันอีกครั้ง มุ่งเน้นสร้างการรับรู้และประสานการทำงานตั้งแต่ต้นทาง

๓.๖ ระหว่างทางเชื่อมโยงกับภาคีประเด็นปัญหาอื่นๆเข้ามาเพิ่ม เช่น วงคุยแลกเปลี่ยนในประเด็นการจัดการทรัพยากรป่า การจัดการประมงชายฝั่ง กลุ่มเยาวชน สตรี ท้องถิ่น หรือเชื่อมโยงประเด็นภูมินิเวศลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลาให้เป็นประเด็นร่วมร่วมกัน เพื่อให้เห็นทิศทางการขับเคลื่อน

๓.๗ ปีต่อไปจัดเป็นงานสัปดาห์พลเมืองสงขลา นำเสนอผลการทำงานทั้งปี ที่จะมีทั้งการทำงานร่วมกันของหลายองค์กร กับเปิดพื้นที่ให้เครือข่ายใหม่ๆเข้าร่วม รวมถึงกระจายการมีส่วนร่วมและเติมเต็มเนื้อหาให้เข้มข้นมากยิ่งขึ้น พร้อมช่องทาง วิธีการนำเสนอแบบใหม่ๆ ให้ประชาชนได้มีเข้าถึง รับรู้และมีส่วนร่วมมากขึ้นไปด้วย

personมุมสมาชิก

เยือนอเมริกา ดูงานมูลนิธิชุมชน

เยือนอเมริกา ดูงานมูลนิธิชุมชน.

เครือข่าย

เครือข่ายมูลนิธิชุมชน