"จากรากสู่เรา: วิถีข้าวและคนแห่งลุ่มน้ำภูมี"
"จากรากสู่เรา: วิถีข้าวและคนแห่งลุ่มน้ำภูมี"
เศรษฐกิจสร้างสรรค์ทำได้ในหลายมิติ การต่อยอดทรัพยากรของพื้นที่ การเชื่อมโยงมิติด้านต่างๆเข้าด้วยกัน นับเป็นพัฒนาการที่น่าสนใจยิ่ง
วันที่ 17 ตุลาคม 2564 นัดคณะทำงานเครือข่ายอนุรักษ์และพัฒนาลุ่มน้ำภูมี ณ กศน.ตำบลกำแพงเพชร อ.รัตภูมิ เตรียมจัดเวทีขับเคลื่อนนโยบายการขับเคลื่อนเศรษฐกิจฐานรากเกษตรและอาหารเพื่อสุขภาพ ประเด็นข้าวของลุ่มน้ำภูมี
เริ่มด้วยการจัดการความรู้พื้นที่ตัวแบบ 3 จุด ได้แก่ ม.4 ตำบลควนรู ที่มทร.ศรีวิชัยรัตภูมิได้ขับเคลื่อนหมู่บ้านวิทย์ฯเอาไว้ สร้างนวตกรรมเชื่อมโยงมิติสังคมศาสตร์กับมนุษย์ศาสตร์ผ่านการส่งเสริมการปลูกข้าวเพื่ออาหารกลางวันให้กับนักเรียนโดยยุวชนชาวนา พื้นที่บ้านม่วงใหญ่ ที่ใช้ข้าวซ้อมมือเป็นกลยุทธ์ฟื้นฟูสายสัมพันธ์ครัวเรือนในชุมชน และพื้นที่ม.6 ตำบลควนรูที่เคลื่อนข้าวด้วยเกษตรแปลงใหญ่
นัดหมายจัดเวทีสาธารณะในชื่อ "จากรากสู่เรา :วิถีข้าวและคนแห่งลุ่มน้ำภูมี" วันที่ 31 ตุลาคมนี้ นำเสนอตัวแบบการจัดการในพื้นที่ เชื่อมโยงกับปัญหาและศักยภาพการใช้ประโยชน์ที่ดินของลุ่มน้ำภูมี ความร่วมมือกับภาควิชาการ เอกชน ท้องถิ่น ภาครัฐส่วนภูมิภาคในการขยายผล โดยมีทีมเครือข่ายฯเป็นเจ้าภาพร่วม โดยการสนับสนุนจากสำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ(สช.) ผ่านมาทางมูลนิธิชุมชนสงขลา เป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการนโยบายสาธารณะแบบมีส่วนร่วมจังหวัดสงขลา
Relate topics
- จดหมายข่าวโครงการประชาสังคมร่วมแรงเพื่อเปลี่ยนแปลงเมือง (SUCCESS) ฉบับที่ 1 - 10
- ก้าวที่ 1 ของ iMedCare ธุรกิจเพื่อสังคมของสงขลา"
- "แผนผังภูมินิเวศ"
- เครือข่าย SUCCESS เมืองควนลังร่วมงานส้มโอเมืองควนลังปี 2567
- "ทีม iMedCare วิถีผู้ดูแลผู้ป่วยที่บ้าน"
- อังกฤษที่ผมเห็น ตอนที่ 11 - 21
- อังกฤษที่ผมเห็น ตอนที่ 1 - 10
- "iMed@home ระบบกลุ่ม"
- สมัชชาสุขภาพจังหวัดสงขลาชูวาระ "พลิกโฉมพลังพลเมืองสงขลาเพื่อสังคมสุขภาวะที่ยั่งยืน"
- กิจกรรมรับบริจาคโลหิตประชารัฐสงขลาประจำเดือนตุลาคม 2567