จังหวะย่างก้าว Hatyai Sandbox Plus

by punyha @17 ต.ค. 64 10:16 ( IP : 124...11 ) | Tags : ข่าวสาร-ประชาสัมพันธ์ , 4PW
  • photo  , 960x640 pixel , 86,052 bytes.
  • photo  , 960x640 pixel , 72,249 bytes.
  • photo  , 960x640 pixel , 76,478 bytes.
  • photo  , 960x640 pixel , 87,425 bytes.
  • photo  , 960x640 pixel , 91,804 bytes.
  • photo  , 640x960 pixel , 62,737 bytes.
  • photo  , 960x640 pixel , 74,022 bytes.
  • photo  , 960x494 pixel , 46,803 bytes.
  • photo  , 860x436 pixel , 43,887 bytes.
  • photo  , 2048x1024 pixel , 104,282 bytes.
  • photo  , 1366x768 pixel , 86,141 bytes.
  • photo  , 1366x768 pixel , 88,797 bytes.
  • photo  , 1366x768 pixel , 113,025 bytes.

วันที่ 11 ตุลาคม 2564

กลุ่มเส้นด้าย ร่วมกับเทศบาลนครหาดใหญ่และภาคีเครือข่าย ระดมอาสาสมัครสกัดผู้ติดเชื้อโควิด-19 ด้วยระบบ Antigen Test (ATK) ในชุมชนหาดใหญ่ที่มีความเสี่ยงสูง ได้แก่ ชุมชนจันทร์ประทีป ชุมชนจันทร์นิเวศน์ ชุมชนจันทรน์วิโรจน์ และชุมชนทุ่งเสา ณ บริเวณลานหน้าห้าง K&K สาขา ป.ณัฐพล

“กลุ่มเส้นด้าย” พร้อมจิตอาสาที่เดินทางมาช่วยเหลือในการตรวจคัดกรองเชิงรุกในชุมชน และให้องค์ความรู้แก่ประชาชนเกี่ยวกับการดูแลตนเอง การป้องกัน และการปฏิบัติตัวหลังจากติดเชื้อในสถานที่ต่างๆ หลังจากที่รับทราบข่าวประชาชนในพื้นที่ของเทศบาลนครหาดใหญ่ มีผู้ติดเชื้อโควิด-19 เพิ่มขึ้นเป็นจำนวนมาก  นอกจากนี้ทาง “กลุ่มเส้นด้าย”ได้จัดชุดเคลื่อนที่ออกไปตรวจในพื้นที่อีก 2 จุด ได้แก่ ถนนเทียนจ่ออุทิศ และถนนจันทร์ประทีป เพื่อเป็นการค้นหาในจุดที่เป็นความเสี่ยงสูงที่อาจจะมีผู้ติดเชื้อโควิด-19 ด้วย

หลังจากนี้ “กลุ่มเส้นด้าย” ยังดำเนินการการตรวจในชุมชนต่างๆ ร่วมกับทางเทศบาลนครหาดใหญ่ จนถึงวันที่ 15 ตุลาคม 2564 ดังนี้

ข้อมูลนัดหมาย

วันที่ 12 ต.ค.2564

เวลา 08.30 - 12.00 น. สถานที่กองอำนวยการตลาดพลาซ่า 3 โดยมีกลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ ตลาดพลาซ่า 1,2,3 / ตลาดริมทางรถไฟ / ตลาดโรงแรมทัวร์ / ตลาดหมอถัด /ซ.นำดี / ซ.สังกะสี / ซ.แม่เทียบ / ซ.ไทยพาณิชย์ / ชุมชนหน้าหอนาฬิกา /ชุมชนตลาดคอมแพล็กซ์

เวลา 13.00 – 15.00 น.สถานที่โรงเรียนเทศบาล 3 (โสภณพิทยาคุณานุสรณ์) โดยมีกลุ่มเป้าหมายได้แก่ ชุมชนหน้าค่ายเสนาณรงค์/ ชุมชนหน้าสวนสาธารณะ/ชุมชนสถภาพอ่อนหวาน/ ชุมชนทักษิณเมืองทอง

วันที่ 13 ต.ค. 2564

เวลา 08.30 - 12.00 น. สถานที่หน้าโรงแรมโกลเด้นคราวน์ ถ.ผดุงภักดี โดยมีกลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ ตลาดดก้งโค้ง/มชนประชาธิปัตย์/ ชุมชนป้อม 4/ ชุมชนแสงศรี/ ชุมชนสวนศิริ/ชุมชนท่งเซียเซี่ยงตึ้ง

เวลา 13.00 – 15.00 น. สถานที่ตลาดพ่อพรหม โดยมีกลุ่มเป้าหมาย ได้แก่  ชุมชนตลาดพ่อพรหม/ชุมชนเทศาพัฒนา/ ชุมชนศาลาลุงทอง/ ชุมชนวัดหาดใหญ่ใน

วันที่ 14 ต.ค. 2564

เวลา 08.30 - 12.00 น. สถานที่มัสยิดนูรุดดีน โดยมีกลุ่มเป้าหมาย ได้แก่  ชุมชนริมควน/ ชุมชนคลองระบายน้ำที่ 1/ ชุมชนสถานีขนส่งหาดใหญ่ใน

เวลา 13.00 – 15.00 น. สถานที่ 1 สนามแข่งนก ซอยปลาเค็ม โดยมีกลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ ชุมชนสถานี 2/ชุมชนรัตนอุทิศ/ ชุมชนโชคสมาน/ ชุมชาสามทหาร/ ชุมชนเกาะเลียบ/ ชุมชนบ้านฉาง

สถานที่ 2 หน้าบ้านประธานชุมชนต้นโด โดยมีกลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ ชุมชนต้นโด/  ชุมชนสถานีอู่ตะเภา/ ชุมชนรัชมังคลาภิเษก/ ชุมชนหัวพานรถไฟ/ ชุมชนท่าไทร

วันที่ 15 ต.ค. 2564

เวลา 08.30 - 12.00 น. สถานที่ใต้สะพานสัจจกุล ฝั่งถนนรัถการ โดยมีกลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ ชุมชนโรงเรียนชาตรี/ ชุมชนรัถการ/ ชุมชนป้อม 6/ ชุมชนริมทางรถไฟ/ ชุมชนศิครินทร์/ ชุมชนหน้าสนามกีฬากลาง

cr.ภาพและข้อความจากเทศบาลนครหาดใหญ่


"หาดใหญ่รวมพลัง"

ภายใต้วิกฤตนำมาสู่ความร่วมมือ Hatyai Sandbox Plus ในส่วนภาคเอกชนโดยการประสานของคุณสมพร สิริโปราณานนท์ อดีตประธานหอการค้าสงขลา/รองประธานคณะกรรมการเขตสุขภาพเพื่อประชาชน เขต 12 ประธานบริษัทโกเดนฮิลล์วิลเลจ ทั้งประสานเครือข่ายภาคเอกชนจากกทม.และร่วมบริจาค

เตียงสนามแอร์โรคลาส 300 เตียง มูลค่า 1,000,000 บาท บริจาคให้โรงพยาบาลสนาม ศูนย์พักคอย ในพื้นที่ส่งมอบผ่านรพ.หาดใหญ่

ชุด PPE 100 ชุด และน้ำยาฆ่าเชื้อมูลค่า 100,000 บาท

ในส่วน Hatyai Sandbox Plus ปัจจุบัน ได้จัดตั้งกองทุนพัฒนาเมืองหาดใหญ่อย่างยั่งยืน  ถึงวันนี้มีผู้บริจาคเข้ามาอย่างต่อเนื่อง ยอดรวม 440,000 บ.แล้ว ได้นำไปใช้สำหรับจัดซื้อ ATK หมุนเวียนให้กับผู้ประกอบการที่เข้าโครงการ ช่วงคัดกรองเชิงรุกได้สนับสนุน ค่าที่พักร่วมกับม่อนคำ และ อาหาร ทุกมื้อให้กับอาสาสมัคร และจัด "กล่องพร้อม" ประกอบด้วยสิ่งจำเป็น เช่น ยาสีฟัน แปรง สบู่ ยาสระผม แฟบ ชุดสำรอง เพื่อให้ผู้ที่ตรวจ ATK+ สามารถเข้าCIได้ทันที


วันที่  12 ตุลาคม 2564

ประชุมทีม Hatyai Sandbox Plus ประเมินสถานการณ์หลังนายกประกาศเปิดประเทศพร้อมต่อข้อมูลในภาพรวมการทำงาน

1.การตรวจเชิงรุกของกลุ่มเส้น-ด้ายร่วมกับทน.หาดใหญ่และเครือข่ายอาสาสมัคร 2 วันผ่านไป วันแรกตรวจได้ 608 คนพบผู้ติดเชื้อ 84 คน วันที่สอง ตรวจ 400 คนพบผู้ติดเชื้อ 39 คน การตรวจที่ได้ผลจะมีการเข้าตรวจในซอย ไปถึงกลุ่มเป้าหมาย

การตรวจเชิงรุกในรอบนี้เป็นการเรียนรู้การทำงานกันและกันทั้งต่อระบบการทำงานของกลุ่มเส้น-ด้าย ระบบการทำงานของทน.หาดใหญ่ สสอ. รพ.หาดใหญ่ จะนำไปสุู่การยกระดับการทำงานต่อไป

มีข้อเสนอในระยะต่อไป ให้สรุปบทเรียนทบทวนค้นหาพื้นที่เสี่่ยง/กลุ่มเสี่ยง ไม่จำเป็นต้องลงปูพรมทุกจุด วิเคราะห์ข้อมูลพร้อมจัดวัคซีน ยาต้าน ควบคู่กันไปด้วย โดยประสานสสอ. อำเภอหาดใหญ่ อปท.ในพื้นที่ รพ.หาดใหญ่ รพ.มอ สถาบันการศึกษา เครือข่ายอาสาสมัครต่างๆกำหนดแนวทางทำงานร่วมกันให้ครบวงจร

2.แนวโน้มหลังการเปิดประเทศ จำเป็นต้องรอมาตรการที่แน่ชัดจากรัฐที่จะออกตามมาว่าจะเป็นไปในทิศทางใด สำหรับสงขลาแล้ววัคซีนที่ต้องการเพื่อให้ไปถึงเป้าหมาย 70% ยังต้องการวัคซีนอีกราว 8 แสนโดส และควรรวมกลุ่มประชากรแฝง แรงงานต่างชาติไปด้วย ซึ่งไม่มีใครมั่นใจว่าจะได้มาตามเป้าในเร็ววัน

วันพฤหัสบดีนี้ รมต.สาธารณสุขและการท่องเที่ยวลงพื้นที่ รอติดตามว่าจะสามารถต่อรองวัคซีนมาได้มากน้อย หากได้มาไม่มาก ควรเสนอแนะสสจ.และผู้ว่า จำเป็นต้องบริหารวัคซีนตามความจำเป็นเร่งด่วน ไม่ควรหารยาว ให้เน้นพื้นที่เสี่ยง/กลุ่มเสี่ยง ลดการเสียชีวิต

มีการคาดการณ์อนาคต เป็นไปได้ว่าแม้มีวัคซีนตามเป้าแล้ว การติดเชื่้อก็จะมีมากขึ้น อาจมีผู้เสียชีวิตมากขึ้นกรณีได้วัคซีนไม่ครบ 3 เข็ม การปิดเมืองอาจจะเลือกปิดเป็นจุด ปิดเฉพาะจุด ปัญหาด้านเศรษฐกิจและสังคมจะรุนแรงมากขึ้นและส่งผลยาวนาน

3.ตลาดกรีนเวย์ สะท้อนว่าลูกค้าจาก 3 จว.ไม่มีการป้องกันตัวเอง กลุ่มนี้จะเป็นปัญหาในอนาคต ร้านอาหารไทยเจ๊เล็กบอกว่าพบไรเดอร์จาก 3 จว.ไม่ได้ฉีดวัคซีน และลูกค้าเริ่มถามว่าให้ดื่มแอลกอฮอร์ได้หรือยัง อนาคตร้านคงต้องออกแนวปฎิบัติรองรับในจุดนี้

4.เฟส 2 กลุ่มที่มีความพร้อมคือ ร้านอาหาร ร้านกาแฟ ส่วนตลาดนัด ศูนย์การค้าอยู่ที่การจัดการ ATK ที่จะต้องหาทางลดต้นทุน และระบบติดตาม AI ในส่วนของ OneChat ล่าสุดได้ MOU กับหมอพร้อมแล้ว และจะนำ MOU ดังกล่าวมาทำ MOU กับเทศบาลนครหาดใหญ่ เปิดตัวกับสาธารณะอย่างเป็นทางการต่อไป ซึ่งจะทำให้ลดเงื่อนไขการใช้งาน และทำให้เมืองมีระบบติดตามที่สดวกรวดเร็ว เอื้อไปถึงการทำ SOP รองรับนักท่องเที่ยวต่างชาติ หรือการจัดงาน Event หรือการเข้าศูนย์การค้า ตลาดนัด


วันที่ 14 ตุลาคม 2564

"สรุปบทเรียนการตรวจเชิงรุกทน.หาดใหญ่"

ปลัดทน.หาดใหญ่เชิญชวนภาคีเครือข่ายในระบบบริการประกอบด้วย สปสช.เขต 12 สสอ. รพ.หาดใหญ่ รพ.มอ. กองสาธารณสุข เลขานายก ทีม CI หาดใหญ่ Sandbox Plus สรุปบทเรียนเบื้องต้นกิจกรรมตรวจเชิงรุกชุมชนร่วมกับกลุ่มเส้น-ด้าย ระหว่าง 11-14 ตค.ที่ผ่านมา

1.ผลการตรวจเชิงรุก พบผู้ติดเชื้อประมาณ 10% จากการลงตรวจ 11 ตค. 608 คนพบ 84 คน 12 ตค.่เช้า 400 ตนพบ 39 คน บ่าย 236 คนพบ 12 คน 13 ตค.เช้า 536 คนพบ 38 คน บ่าย 451 คนพบ 41 คน

2.จุดเริ่มต้นกลุ่มเส้น-ด้ายประสานผ่านแกนนำภาคเอกชน หาดใหญ่ Sandbox Plus มา ทุกคนมีความยินดีและเห็นโอกาสที่จะร่วมมือกันในการทำงาน เปิดช่องให้เกิดความร่วมมือจากเครือข่ายหลากหลาย

สรุปบทเรียนที่พบและควรนำไปปรับปรุงในการทำงานต่อไป

1)ควรมีศูนย์ประสานงานร่วมวางแผนการทำงาน จุดเริ่มต้นการทำงาน มีการวางแผนร่วมกันในเวลาจำกัด มีเวลาเตรียมงานล่วงหน้าน้อย มองไม่เห็นภาพรวมของงานจากประสบการณ์ที่แตกต่างของแต่ละฝ่าย ผู้ที่เกี่ยวข้องจำนวนหนึ่งไม่ได้เข้าร่วม ระบบการจัดการหลังบ้านรองรับไม่ทัน

-ขั้นตอนการตรวจแล้วพบผู้ติดเชื้อ เดิมทีทน.หาดใหญ่และเครือข่ายจะไม่นำส่ง CI แต่จะให้มีการตรวจซ้ำ rtpcr อีกครั้ง โดยจะมีการลงพื้นที่วันเว้นวัน แต่รอบนี้มีการตรวจATK แล้วพบผู้ติดเชื้อจะให้ส่งเข้า CI โดยเฉพาะโรงแรมรถไฟพบปัญหาวันแรกประชาชนไม่ได้เตรียมตัวมาก่อน บางคนเป็นผู้ป่วย ต้องการฉีดยาเบาหวาน เหนื่อยหอบ เป็นปัญหาเฉพาะหน้าทาง CI ไม่ได้เตรียมตัวรองรับตรงนี้ การคัดกรองผู้ป่วยเขียว-เหลือง-แดง ไม่ได้หารือกันให้ชัดเจน มีการส่งตัวผู้ป่วยเข้าสู่โรงพยาบาลสนามอีกทอด หรือพบเคสตกค้าง พบปัญหาการเบิกจ่ายระหว่างสิทธิ์ บางคนไม่มีบัตรประชาชน

-การตัดสินใจเลือกพื้นที่ลงตรวจ นอกจากข้อมูลจากสาธารณสุขแล้ว ทางทน.หาดใหญ่ใช้ข้อมูลจากชุมชน เครือข่ายชุมชนประกอบการตัดสินใจด้วยเลยทำให้สามารถเข้าถึงพื้นที่เสี่ยง พบผู้ติดเชื้อมาก

-ทน.หาดใหญ่จะเป็นแกนประสานนัดสรุปบทเรียนภายใน และประสานเครือข่ายหารือกันสัปดาห์ละครั้ง โดยมีพื้นที่และเครือข่ายอปท.ระดับอำเภอมาร่วม

2)การแก้ปัญหาเฉพาะหน้า ต้นน้ำ-เทศบาลประสานงานชุมชน ปชส. กลางน้ำระบบตรวจเชิงรุก-กลุ่มเส้นด้าย อาสาสมัคร กองสาธารณสุข การจัดการอาสาสมัคร อุปกรณ์อำนวยความสะดวก ปลายน้ำ-ระบบส่งต่อผู้ติดเชื้อ ทน.หาดใหญ่ รพ.หาดใหญ่/มอ. สสอ. เนื่องจากมีผู้ที่เกี่ยวข้องจำนวนมาก ยังมีการรับรู้เฉพาะส่วนของตน มีแนวปฎิบัติที่ไม่เห็นครบวงจร มีแนวทางที่ไม่ได้หารือจนเกิดความเห็นร่วม จำเป็นต้องมี work flow ประกอบการทำงานร่วมกันให้ครบวงจร รอบนี้ถือเป็นการเรียนรู้และนำบทเรียนไปปรับใช้ต่อในระยะต่อไป

-วางเป้าหมายจะดำเนินการต่อให้ทันกับการเปิดประเทศของรัฐบาล

-การลงตรวจต่อไปอาจทำวันเว้นวันเพื่อให้สามารถระบายผู้ติดเชื้อได้ทัน หรือคัดกรองกลุ่มเสี่ยงสูง 607,608 ในพื้นที่ตรวจเชิงรุกแยกออกมา

-เปิด CI เพิ่มเติม

-ตรวจเชิงรุกพร้อมจ่ายยาและฉีดวัคซีน

3)เปิดรับอาสาสมัครเพิ่มเติม มีระบบสนับสนุนอำนวยความสะดวก ดูแลไปถึงประชากรแฝง


วันที่ 16 ตุลาคม 2564

"ประชุมทีม Hatyai Sandbox Plus"

ยังคงประชุมอย่างต่อเนื่อง เพื่อติดตามความก้าวหน้า กำหนดแนวทางดำเนินการร่วมกัน รวมถึงต่อข้อมูลการทำงานเพื่อให้เกิดการรับรู้ร่วมกันในท่ามกลางวิกฤตตัวเลขผู้ติดเชื้อเพิ่มขึ้น

1.ในสถานการณ์หัวเลี้ยวหัวต่อ การปรับแผนเพื่อรับมือจำเป็นที่จะต้องมียุทธศาสตร์ที่ดีรองรับ ปัจจุบันทางจังหวัดจัดตั้งให้มีศบค.จังหวัดมาช่วยมองภาพรวมที่จะมีมิติทางเศรษฐกิจ สังคม เข้ามาพิจารณา ทีมมีข้อเสนอเพิ่มเติมดังนี้

1.1 ควรมีกลไกระดับอำเภอ หรือศบค.อำเภอที่จะเป็นเจ้าภาพในการบูรณาการ กำหนดยุทธศาสตร์การรับมือโดยมีนายอำเภอเป็นผู้นำ รวมถึงวางเกณฑ์ทั้งในส่วนของการเปิดเมือง(อัตราการฉีดวัคซีน ตัวเลขผู้ป่วยสีแดง ผู้เสียชีวิต เป็นต้น) การสื่อสารทางสังคม

1.2 ประสานสสจ.เพื่อให้เกิดการบูรณาการบุคลากร ทรัพยากร ในการทำงานพื้นที่อำเภอหาดใหญ่ รวมถึงกลไกอาสาสมัครจากภาคส่วนต่างๆมาเสริมหนุนการทำงานในช่วงนี้

1.3 เสนอให้มีรพ.สนามขนาดใหญ่ หลายพันเตียง นอกพื้นที่หาดใหญ่ รองรับผู้ป่วยสีเขียวที่ควรให้ย้ายออกจาก CI ปรับเป็นจุดรองรับผู้ป่วยสีเหลืองที่เตียงเริ่มเต็มแทน

1.4 ในส่วนทน.หาดใหญ่ รอการสรุปบทเรียนภายในวันจันทร์นี้ แล้วหารือการทำงานร่วมกันต่อไป โดยการตรวจเชิงรุกที่จะมีต่อไปนั้น ทางทีมหาดใหญ่ sandbox Plus จะเป็นกำลังหนุนเสริม คอยสนับสนุน

1.5 การตรวจเชิงรุกด้วย ATK ในพื้นที่เสี่ยงควรเพิ่มจุดการฉีดวัคซีนไปพร้อมกัน จะได้ไม่ต้องตรวจวนซ้ำเร็วเกินไป จึงควรพิจารณาวางแผนพร้อมกับวัคซีนที่จะเข้ามาในพื้นที่

1.6 มีศูนย์ ATK ของเมือง 1 จุดบริการประชาชนทั้งกลุ่มที่ต้องการตรวจและผู้ประกอบการ โดยหมุนเวียนบุคลากรจากแต่ละฝ่ายเข้าไปบริการ

1.7 บริหารจัดการประชากรต่างถิ่น ต่างจังหวัดที่เข้ามาใช้เมืองหาดใหญ่เป็นจุดบริการ

2.การจัดทำ SOP ร่วมกับสบส. รองรับการเปิดรับนักท่องเที่ยวจากมาเลเซีย แนวโน้มจะทำได้เร็วสุดจะเป็นช่วงธันวาคมหรือมกราคมปีหน้า ทางสภาอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวได้หารือร่วมกับททท.และจัดทำPPT พร้อมนำเสนอในวันที่ 26 ตค.ในเบื้องต้นต้องการให้ทางสสจ.ร่วมให้ความเห็นก่อนที่จะนำเสนอ และเตรียมความพร้อมร่วมกับอีกหลายหน่วยงาน ทั้งมหาดไทย การท่องเที่ยว กระทรวงการต่างประเทศ เป็นต้น

3.บ.inet ได้ MOU กับปลัดกระทรวงสาธารณสุขแล้วเพื่อเชื่อมโยงข้อมูลกับหมอพร้อม อยู่ในช่วงการทดสอบระบบการใช้งานผ่าน censor ต่อไปประชาชนก็สามารถใช้หมอพร้อมในการแสดงสถานะการฉีดวัคซีนและATK ส่วนผู้ประกอบการก็ใช้ OneChat หลังจากนี้จึงจะ MOU กับทน.หาดใหญ่

personมุมสมาชิก

เยือนอเมริกา ดูงานมูลนิธิชุมชน

เยือนอเมริกา ดูงานมูลนิธิชุมชน.

เครือข่าย

เครือข่ายมูลนิธิชุมชน