ความคืบหน้า Hatyai Sandbox Plus เตรียมการเข้าสู่ระยะที่ 2
วันที่ 8 ตุลาคม 2564
"อาสาสมัครเส้นด้ายจับมือทน.หาดใหญ่ตรวจเชิงรุก"
หารือทีมอาสาสมัครกลุ่มเส้น-ด้าย(Zendai) ที่จะลงพื้นที่หาดใหญ่ในการคัดกรองเชิงรุกค้นหาผู้ติดเชื้อในระดับชุมชน พื้นที่หาดใหญ่โดยเฉพาะชานเมืองที่กำลังมีตัวเลขการติดเชื่้อสูงอยู่ในเวลานี้
ได้ข้อสรุปจะจับมือกับทีมของทน.หาดใหญ่ สสอ. ผนึกกำลังกันกระจายการตรวจให้ได้มากที่สุด หนุนเสริมกำลังของทน.หาดใหญ่ที่กำลังดำเนินการอยู่ในเวลานี้ ตั้งเป้าเริ่มลงตรวจตั้งแต่วันจันทร์บ่าย-พฤหัสบดี เฉพาะทีมอาสาเส้นด้ายมีกำลังราว 20 คน สามารถรองรับการตรวจกระจายได้ 2 ทีม ๆ ละ 300 คน มาพร้อมชุดATK และรถโมบายของช่อง 3 เพื่อรณรงค์สร้างความตระหนักรู้ เพื่อให้อยู่กับโควิดอย่างเท่าทัน
กลุ่มเส้นด้ายจะลงมาถึงหาดใหญ่บ่ายสองวันอาทิตย์นี้ นัดพบกัน ณ โรงแรมม่อนคำหาดใหญ่ จะได้วางแผนกำหนดพื้นที่ลงตรวจคัดกรองเชิงรุกร่วมกันต่อไป
ต้องการจิตอาสาจากพื้นที่เข้าร่วมอีกมาก รวมพลังช่วยกันคัดกรองผู้ติดเชื้อ ลดจำนวนการแพร่เชื้อของหาดใหญ่ ผู้สนใจแจ้งความประสงค์มาที่คณะทำงานกลางได้
วันที่ 10 ตุลาคม 2564
"ระดมอาสาสมัครร่วมสะกัดผู้ติดเชื้อในหาดใหญ่"
กลุ่มเส้น-ด้าย(Zendai) จับมือหาดใหญ่ Sandbox Plus ทน.หาดใหญ่ลงตรวจเชิงรุกสะกัดการแพร่เชื้อ ในพื้นที่ระดมอาสาสมัครร่วม 50 ชีวิตลงคัดกรองในพื้นที่แออัด จันทร์-พฤหัสบดี ส่งต่อทักษะและความรู้ให้กับอาสาสมัคร เดินหน้าตรวจเชื้อในพื้นที่ต่อไป
แกนนำกลุ่มเส้น-ด้าย ทน.หาดใหญ่นำโดยนายก ประธานสภา สท. กองสาธารณสุข สสอ. ปลัดอำเภอ มอ. ม.หาดใหญ่ นพ.สุภัทร ทีมหาดใหญ่ Sandbox Plus รพ.หาดใหญ่ มูลนิธิ สมาคม และผู้สื่อข่าว ร่วมหารือแผนการคัดกรองเชิงรุกผ่านการประชุมทั้งแบบ online และonsite ณ โรงแรมม่อนคำหาดใหญ่
ได้ข้อสรุป
1.กลุ่มเส้น-ด้ายจะมาพร้อมอาสาสมัครร่วม 30 ชีวิต รวมตัวกับอาสาสมัครในพื้นที่ และทีมงานของทน.หาดใหญ่เบื้องต้นที่ประสานได้จำนวน 20 คน ร่วมลงคัดกรองเชิงรุกในพื้นที่ชุมชนเสี่ยง ประเดิมชุมชนจันทร์ประทีป/ จันทร์วิโรจน์/จันทร์นิเวศน์/ ตลาดทุ่งเสา ณ หน้า K&K ป.ณัฐพล วันจันทร์ที่ 11 ตุลาคม 2564 เวลา 15.00 - 18.00 น.
2.การลงตรวจจะมีใช้ชุดตรวจ ATK บวกกับการจ่ายยา พร้อมสร้างความตระหนักรู้เพื่อลดการตื่นกลัว ใช้ระบบอาสาสมัครในพื้นที่ประกบสร้างการเรียนรู้พร้อมกับนำประสบการณ์ของการคัดกรองเชิงรุกของทน.หาดใหญ่และสสอ.หาดใหญ่มาปรับแผน ที่ได้ลงทำมาอย่างต่อเนื่อง ตรวจเชิงรุกไปแล้วกว่า 13,000 คน พบผู้ติดเชื่้อราว 3-5% เห็นพ้องในการกระจายทีม วิเคราะห์ข้อมูลพื้นที่เสี่ยง ลดจำนวนการตรวจลงไม่เกิน 200-300 คนต่อครั้ง แต่จะมีทั้งแบบนัดรวมและกระจายลงในแต่ละซอย
รูปแบบจะมีการนัดจุดตรวจ มีจุดลงทะเบียนพร้อมบัตรประชาชนตัวจริง/สำเนา แบบฟอร์ม จัดคิวลงตรวจ รอผลตรวจ หากพบผลเป็นบวกจะส่งต่อเข้า CI,HI ออกใบรับรอง สอบสวนผู้ติดเชื้อในระดับครัวเรือน กรณีเป็นกลุ่มเสี่ยงจะส่งต่อเข้ารพ. การทำงานจะสอดประสานไปด้วยกันกับทีมสสอ. ทน.หาดใหญ่ รพ.หาดใหญ่
ปัจจุบัน ทน.หาดใหญ่และ สสอ.ได้เตรียมศูนย์พักคอย(CI)ไว้รองรับหลายจุดแล้ว พร้อมรองรับจำนวนผู้่ป่วย
3.เครือข่ายความร่วมมือ ประกอบด้วยอาสาสมัครจากมอ. ม.หาดใหญ่ ศูนย์วิทยุอินทรี สมาคมอาสาสร้างสุข มูลนิธิมิตรภาพสามัคคี (ท่งเซียเซี่ยงตึ๊ง) หาดใหญ่บริการรถตู้รับส่ง เบื้องต้นช่วงแรกร่วมเรียนรู้กับกลุ่มเส้น-ด้าย หลังจากนั้นระดมอาสาสมัครในพื้นที่ดำเนินการคัดกรองเชิงรุกต่อเนื่อง วางเป้าร่วมกับอปท.รอบข้าง ร่วมสะกัดการแพร่เชื้อ ลดจำนวนผู้ติดเชื้อ
4.ในส่วนของยาต้านเชื้อ, ATK มีเพียงพอรองรับปฎิบัติการ นัดหมายทีมอาสาจากพื้นที่ร่วมเตรียมความพร้อม สร้างความรู้ในการป้องกันตนเอง ณ ที่จอดรถโรงแรมม่อนคำ อาคาร 1 วันจันทร์ที่ 11 ตุลาคม 2564 เวลา 10.00 น.
วันที่ 11 ตุลาคม 2564
อาสาเส้นด้ายคึกคักลุยตรวจโควิดหาดใหญ่
วันนี้ (11 ต.ค.64 ) เวลา 10.00 น. ณ โรงแรมม่อนคำ หาดใหญ่ กลุ่มเส้นด้าย ร่วมกับคณะทำงาน Hatyai Sandbox Plus ฝึกอาสาสมัครในพื้นที่หาดใหญ่ใส่ชุด PPE และตรวจเชิงรุกเพื่อลงปฏิบัติหน้าที่จริงค้าหาผู้ป่วยโควิด -19 ร่วมกับเทศบาลนครหาดใหญ่
นายศิวัตน์ สุวรรณวงศ์ นายกสมาคมโรงแรมหาดใหญ่-สงขลา กล่าวว่า ต้องขอบคุณกลุ่มเส้นด้ายที่ลงมาช่วยหาดใหญ่ ซึ่งเราเป็นตัวเชื่อมประสานกับกลุ่ม Hatyai sandbox และเทศบาลนครหาดใหญ่ โดยได้รับความร่วมมือเป็นอย่างดี ในวันนี้ได้ระดมจิตอาสามีจตอาสาจากส่วนกลางมาประมาณ 30 คน
"อยากจะฝากถึงทุกท่านที่สนใจเข้ามาร่วมเป็นจิตอาสากับเส้นด้ายในสัปดาห์นี้ ท่านจะได้รับการอบรมอย่างถูกวิธีในการตรวจเชิงรุกด้วย ATK อย่างความปลอดภัย” นายศิวัตน์ กล่าว และขอเชิญชวนพี่น้องชาวหาดใหญ่ทุกคนว่าการมาของเส้นด้ายในครั้งนี้ อยากให้เกิดแรงขับเคลื่อนและเกิดกลุ่มเส้นด้ายในจังหวัดสงขลาเพิ่มขึ้น เพื่อต่อสู้วิกฤตินี้ไปด้วยกัน
นายศิวัตน์ กล่าวด้วยว่า จากที่สอบถามในกลุ่มเส้นด้าย ซึ่งได้ทำงานกันมาหลายเดือนแล้ว ยังไม่มีใครเคยติดโควิด-19 กระบวนการของกลุ่มเส้นด้ายมีความปลอดภัยสูง
ด้านนายอรรถภาคย์ เจริญ อายุ 34 ปี เป็นคนในพื้นที่หาดใหญ่ กล่าวว่า ความรู้สึกแรกที่เข้าร่วมมาเป็นจิตอาสากับเส้นด้ายคือเราเป็นคนหาดใหญ่ด้วยอยากเข้ามามีส่วนร่วมในการทำกิจกรรมครั้งนี้ในส่วนที่เราทำได้ก็อยากช่วย เบื้องต้นวันนี้มีการแนะนำใส่ชุด PPE และการใช้ชุดตรวจ ATK ที่ถูกต้องเพื่อนไปใช้ในการปฏิบัติจริง และวันนี้มีความพร้อมในการปฏิบัติตามแนวทางของเส้นด้ายมากขึ้น
เช่นเดียวกับนางสาวเกษศิณีย์ พรหมสังคหะ อายุ 47 ปี พนักงานโรงแรมม่อนคำ ซึ่งเข้าอบรมในครั้งนี้ด้วย กล่าวว่า รู้สึกดีมากมีเจ้าหน้าที่มาเทรนด์ให้ เราจะได้ไปถ่ายทอดต่อให้คนอื่นๆได้
“วันนี้ได้ทดลองใส่ชุด PPE และทดลองตรวจหาเชื้อโควิด-19 ด้วยชุดตรวจ ATK และขอเชิญชวนพี่น้องทุกคนเข้ามาร่วมเป็นจิตอาสาในครั้งนี้ไม่ได้น่ากลัวอย่างที่คิด อีกทั้งยังเป็นการช่วยเหลือคนอื่นๆ อีกด้วย “ นางสาวเกษศิณีย์ กล่าว
ขอบคุณข้อมูลและภาพจากเพจ สงขลาโฟกัส
วันที่ 11 ตุลาคม 2564
"เตรียมทำ SOP เฟส 1"
ประชุมร่วมกับกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ และรองผอ.กองสุขภาพระหว่างประเทศ ทำความเข้าใจขั้นตอนแนวทางจัดทำแนวปฎิบัติกลาง(SOP)เตรียมความพร้อมเปิดเมืองรองรับการท่องเที่ยว มีข้อสรุปสำคัญ
1.เงื่อนไขสำคัญ วัคซีนตามกำหนด กรณีนี้ตามเป้าหมายของรัฐ สงขลาจะได้ตามเป้าภายในธันวาคม หรือผลักดันให้ได้ก่อนกำหนด
2.แนวทางที่ส่วนกลางกำหนด และเข้าเงื่อนไขเปิดประเทศรับการท่องเที่ยวของสงขลา คือ 1.ระยะสั้น 1 วันกระตุ้นเศรษฐกิจแนวพรมแดนถาวร กรณีด่านนอกสามารถเข้าสู่เงื่อนไขนี้ ที่ส่วนกลางกำลังประชุมเพื่อกำหนดเป็นนโยบายให้กับด่านทุกแห่งสามารถดำเนินการ 2.ท่องเที่ยว 1-14 วัน
3.กรณีของสงขลาหรือหาดใหญ่ ที่เน้นนักท่องเที่ยวมาเลเซีย/สิงคโปร์ และนักท่องเที่ยวในประเทศ จะนำเสนอส่วนกลาง(ศบค.) ใส่ชื่อสงขลาไว้ในพื้นที่ Sandbox ในขั้นแรกเสนอแนวคิดหลักในการดำเนินงาน 5 สไลด์
-ชื่อโครงการสะท้อนจุดเด่น
-วิเคราะห์กลุ่มเป้าหมาย ได้แก่นักท่องเที่ยวต่างชาติ นักท่องเที่ยวในประเทศ ที่จะมาสร้างรายได้ให้กับหาดใหญ่ พฤติกรรมการท่องเที่ยว จำนวนคนและรายได้ที่จะได้เข้ามา
-package การท่องเที่ยว เฟส 1 หาดใหญ่+ด่านนอก เวลา 3 วัน เฟส 2 ท่องเที่ยว 1-14 วันหาดใหญ่ สะเดา และอำเภออื่นๆ ระบุสถานที่ การเดินทาง(บก/อากาศ) พร้อมมาตรการควบคุม
จัดทำให้แล้วเสร็จ ประสานขอความเห็นชอบจากสสจ./ผู้ตรวจกระทรวงเขต 12 และส่งให้กับส่วนกลางในต้นสัปดาห์หน้า
4.ดำเนินการทำ SOP เพื่อนำเสนอในช่วงปลายตุลาคม โดยดูตัวอย่างจากเชียงคาน/เลย สงขลามีความพร้อมในแง่การท่องเที่ยวมากกว่าเลย ส่วนกลางสนับสนุนให้รีบดำเนินการ ขอให้ทีมจัดทำ SOP ให้แล้วเสร็จร่วมกับสสจ. ททท. ชุมชน(ผ่านการประชาพิจารณ์) นำเสนอในช่วงปลายตุลาคม
-กรณีสถานที่รองรับการท่องเที่ยว จำเป็นต้องมีมาตรฐาน SHA+
-กรณีสถานที่สาธารณะ เช่น ตลาดน้ำ ตลาดกิมหยง ท่องเที่ยวชุมชน ให้ใช้มาตรการของกระทรวงสาธารณสุขและศบค.กำหนดCovid Free Setting และUniversal Prevention
-การ MOU กับรพ.ในส่วนของการส่งต่อกรณีพบผู้ติดเชื้อหรืออื่นๆ
ฯลฯ
5.ประสานทางอำเภอ สสอ. นัดพบสสจ.เพื่อหารือการทำ SOP เตรียมความพร้อมเมื่อได้รับวัคซีนตามกำหนดหรือใช้โครงการนี้ผลักดันวัคซีน จะได้มีความพร้อมในการเปิดเมือง(อาจจะกลางเดือนพฤศจิกายนในเฟส 1 และต้นธันวาคมในเฟส 2)
Relate topics
- จดหมายข่าวโครงการประชาสังคมร่วมแรงเพื่อเปลี่ยนแปลงเมือง (SUCCESS) ฉบับที่ 1 - 10
- ก้าวที่ 1 ของ iMedCare ธุรกิจเพื่อสังคมของสงขลา"
- "แผนผังภูมินิเวศ"
- เครือข่าย SUCCESS เมืองควนลังร่วมงานส้มโอเมืองควนลังปี 2567
- "ทีม iMedCare วิถีผู้ดูแลผู้ป่วยที่บ้าน"
- อังกฤษที่ผมเห็น ตอนที่ 11 - 21
- อังกฤษที่ผมเห็น ตอนที่ 1 - 10
- "iMed@home ระบบกลุ่ม"
- สมัชชาสุขภาพจังหวัดสงขลาชูวาระ "พลิกโฉมพลังพลเมืองสงขลาเพื่อสังคมสุขภาวะที่ยั่งยืน"
- กิจกรรมรับบริจาคโลหิตประชารัฐสงขลาประจำเดือนตุลาคม 2567