ความคืบหน้า "ชุมชนแหลมสนอ่อนกับการภารกิจสร้างความมั่นคงด้านที่อยู่อาศัย"

photo  , 960x641 pixel , 111,489 bytes.

ความคืบหน้า "ชุมชนแหลมสนอ่อนกับการภารกิจสร้างความมั่นคงด้านที่อยู่อาศัย"


ขั้นตอนที่กำลังดำเนินการเรื่องการทำสัญญาเช่าที่ราชพัสดุโดยตรงกับธนารักษ์ เพื่ออยู่อาศัยของชุมขนแหลมสนอ่อนจำนวน 59 หลังคาเรือน (ที่มาข้อมูล : จากการสำรวจและทำแผนที่มือของชาวชุมชนเมื่อเดือนกันยายน 2564)

ขั้นตอนแรกวันที่  7 ตุลาคม 64 แกนนำมีหนังสือขอเข้าพบนายกเทศมนตรีนครสงขลาพร้อมด้วยอาจารย์คณะสถาปัตยกรรม มทร.ศรีวิชัยเพื่อรับทราบแผนและนโยบายของเทศบาลนครสงขลาในการบริหารจัดการพื้นที่ชุมชนแหลมสนอ่อน

ขั้นตอนที่ 2 นายกเทศมนตรีนครสงขลาจะออกหนังสือเชิญธนารักษ์พื้นที่สงขลาพร้อมแกนนำเข้าหารือ

ขั้นตอนที่ 3 เทศบาลนครสงขลาและธนารักษ์จะออกหนังสือเชิญผู้ที่ประสงค์จะทำสัญญาเช่ากับธนารักษ์เข้าประชุมเพื่อชี้แจงรายละเอึยดต่างๆ ให้รับทราบพร้อมกันเพื่อความเข้าใจที่ตรงกัน

ระหว่างนี้แกนนำจะเชิญสมาชิกกลุ่มสัจจะออมทรัพย์ชุมชนแหลมสนอ่อนประชุม

ในกรณีที่ทำสัญญาเช่าตรงกับธนารักษ์ หลังจากได้รับหนังสือสัญญาเช่าแล้ว พอช. กระทรวงพัฒนาสังคมฯ จะเข้ามาเพื่อสนับสนุนและช่วยเหลือให้ชาวชุมชนแหลมสนอ่อนมี่ที่อยู่อาศัยที่มั่นคงถาวรและมีอาชีพที่สร้างรายได้ มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น โดยมีงบประมาณ 2 รูปแบบคือ

รูปแบบที่  1 เป็นงบสนับสนุน(ภาษาชาวบ้านคือ งบให้เปล่า) จำนวน 30,000 บาทต่อหลังคาเรือน เพื่อใช้ในการซ่อมแซมบ้าน

รูปแบบที่ 2 งบสินเชื่อ ดอกเบี้ยต่ำ เพื่อปลูกสร้างบ้านหลังใหม่(กรณีต้องการปลูกใหม่) และเพื่อประกอบอาชีพตามที่ตนเองต้องการ

คุณสมบัติของที่ผู้ที่จะได้รับสิทธิคือ

1.เป็นผู้ที่มึสัญญาเช่าตรงกับธนารักษ์

2.เป็นสมาชิกกลุ่มสัจจะออมทรัพย์ชุมชนแหลมสนอ่อน (ระยะเวลาของการเป็นสมาชิกจะหารือร่วมกันอีกครั้ง)

ขณะนี้ พอช.ได้ให้สถาปนิกของหน่วยงานมาให้ความรู้และเรียบเรียงขั้นตอนตั้งแต่การสำรวจหลังคาเรือน การทำแผนที่มือ และการเตรียมการต่างๆ บ้างแล้ว

พร้อมกันนี้ก็ได้อนุมัติงบประมาณเพื่อดูแลชุมชนในช่วงการแพร่ระบาดโควิดภายใต้โครงการดูแลคุณภาพขีวิตฯในพื้นที่เทศบาลนครสงขลา

2564 โดยอนุมัติงบสนับสนุนมาแล้ว 2 ระดับคือ

-ระดับชุมชน 13 ชุมชน  จำนวน 350,000 บาท  ชุมมชนแหลมสนอ่อน ได้รับจำนวน 20,000 บาท

-ระดับเมือง จำนวน 150,000 บาท

นางบุณย์บังอร ชนะโชติ เป็นผู้เสนอและรับผิดชอบโครงการ


จากการสนับสนุนของ พอช. เพื่อที่อยู่อาศัยที่มั่นคงและคุณภาพชีวิตที่ดีของชาวชุมชนแหลมสนอ่อนและอีก 54 ชุมชนเขตเทศบาลนครสงขลานั้น พวกเราจะทำงานร่วมกันหลายฝ่ายในนามของ " เครือข่ายพัฒนาเมืองสงขลา" โดยมีภาคีเครือข่ายหลักในส่วนของภาคประชาสังคมคือ มูลนิธิชุมชนสงขลา โดยคุณชาคริต โภชะเรือง

นอกจากนี้ก็จะมีทุกภาคส่วนเข้าร่วมทำงานด้วยกัน โดย เทศบาลนครสงขลาจะมีบทบาทสำคัญในฐานะเป็นผู้ดูแลและรักษาความเป็นระเบียบเรียบร้อยของพื้นที่เขตการปกครอง 55 ชุมชน


พวกเรา ชาวชุมชนแหลมสนอ่อน ตั้งถิ่นฐานมานานหลายสิบปีและจะอยู่ต่อไปชั่วชีวิต

เทศบาลและภาคราชการทุกส่วนที่เกี่ยวข้องกับชีวิตของพวกเรา ท่านเหล่านั้นมาระยะหนึ่งแล้วก็จากไปจะโดยการหมดวาระ หรือโดยการเกษียณอายุราชการ  ฉะนั้นพวกเราควรจะเป็นผู้กำหนดอนาคตของชุมชนแห่งนี้ภายใต้กฎหมายที่เกี่ยวข้อง

นายกเทศมนตรีได้บอกเล่าเมื่อวันที่ 7 ตุลาคมหลังจากที่ได้รับฟังแนวคิดของชุมชนผ่านการถ่ายทอดจากแกนนำว่า ชุมชนแหลมสนอ่อนมีกติกาชุมชนที่ชัดเจนเรื่องการควบคุมจำนวนครัวเรือนและจำนวนหลังคาเรือน รวมถึงแผนการพัฒนาที่พวกเราคิดร่วมกันตั้งแต่การเปิดตลาดนัดชุมชน  การอนุรักษ์ความเป็นพื้นที่สีเขียว ตลอดถึงการที่คุณลุงนิพนธ์ ชนะโชติ ได้พัฒนาปรับปรุงสระบัวในสวน 80 พรรษา พลิกฟื้นจากสระที่เต็มไปด้วยขยะ เปลี่ยนเป็นสระบัวสวยงามที่มีพันธุ์ปลานิลให้ชาวชุมชนได้จับไปกินไปขายจากปี 2560 จนถึงปัจจุบัน และจนได้กลายเป็นแหล่งท่องเที่ยวแห่งใหม่ที่เทศบาลนำไปเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ในสื่อต่างๆ

นายกเทศมนตรีจึงได้บอกเล่าว่า เทศบาลมีแผนจะพัฒนาพื้นที่แหลมสนอ่อนบริเวณชายหาดหลังอะควาเรี่ยม ในส่วนพื้นที่ชุมชนก็ให้ชาวบ้านทำสัญญาเช่าให้เรียบร้อย

ส่วนพื้นที่สวน 80 พรรษา เทศบาลทำเฉพาะทางเดินเท้าหลังบ้านเพื่อป้องกันการปลูกสร้างบ้านรุกล้ำเข้าไปในสวน

สำหรับการดูแลพื้นที่นั้น อาจารย์จามิกรได้เสนอแนวคิดว่า ถ้ามอบให้ชาวชุมชนร่วมกันดูแลโดยมีมหาวิทยาลัยรวมถึงหน่วยงานต่างๆเข้ามาสนับสนุน ชุมชนแหลมสนอ่อนน่าจะเป็นชุมชนที่เป็นตัวอย่างได้ในหลายๆด้าน อาจารย์ได้อธิบายข้อมูลเพิ่มเติมพร้อมความประทับใจจากการที่เข้ามาร่วมทำงานกับพวกเรามาอย่างต่อเนื่องมาเป็นเวลาหลายปีจนถึงปัจจุบันนี้และมหาวิทยาลัยยังมีแผนที่จะเข้ามาส่งเสริมในการสร้างพื้นที่เพื่อรองรับสังคมผู้สูงอายุอีกด้วย

มาถึงวันนี้ ชาวชุมชนหลายคนน่าจะพอเริ่มปะติดปะต่อเรื่องราวได้ว่า ความสามัคคี ความร่วมมือที่พวกเราได้ทุ่มเทร่วมกันมาในรูปแบบของกิจกรรมที่หลากหลาย อาทิ

การปลูกผักสวนครัว การผลิตของใช้เพื่อลดรายจ่ายในครัวเรือน การจัดสวัสดิการชุมชนในด้านอาหาร "ครัวปิ่นโตตุ้มตุ้ย"

ด้านเสื้อผ้าของใช้มือสองแบ่งปันภายในและภายนอกชุมชนในนามของศูนย์แบ่งปันผ้าสร้างสุขแหลมสนอ่อน ตลอดไปถึงการมีกลุ่มสัจจะออมทรัพย์  มีศูนย์บ่อยางฯ มีกองทุนช่วยเหลือผู้ยากลำบาก และมีวิสาหกิจชุมชนสวนผักกลางป่าสน

ทั้งหมดคำตอบมาอยู่ที่คำว่า "ชุมชนแหลมสนอ่อน"  และทุกคนจะเชื่อมั่นร่วมกันว่า ชาวชุมชนแหลมสนอ่อนเท่านั้นที่จะเข้าใจและรักความเป็น "แหลมสนอ่อน " มากที่สุด คนหนุ่มสาวหลายคนที่เกิดและใช้ชีวิตอยู่ที่นี่จนถึงปัจจุบัน

ขณะเดียวกันผู้สูงอายุที่มีชีวิตอยู่ในชุมชนขณะนี้ก็ต้องการใช้ชีวิตอย่างมีความสุขอยู่ที่นี่ตลอดไป

ขั้นตอนถัดจากนี้ไปคือ แกนนำรายงานผลการเข้าพบนายกเทศมนตรีต่อหัวหน้าธนารักษ์สงขลา แล้วทางเทศบาลจะเชิญธนารักษ์เข้าพูดคุยแบบประชุมโต๊ะเล็ก แล้วจึงจะเรียกประชุมพร้อมกันหมดทุกฝ่ายและทุกครัวเรือนในชุมชน

แต่ละครัวเรือนคิดกันเองได้เลยว่า จะร่วมมือสามัคคีกันหรือจะแตกแยกกันเพื่อผลประโยชน์ส่วนตน ผลประโยชน์เฉพาะหน้าแบบเช่นที่ผ่านมากันอีก  ตัวแกนนำเองทำได้เพียงแค่ประสานให้ทุกฝ่ายได้มาพบกันเท่านั้นเอง


บุณย์บังอร ชนะโชติ บันทึกเรื่องราว

7 ตุลาคม 2564

personมุมสมาชิก

เยือนอเมริกา ดูงานมูลนิธิชุมชน

เยือนอเมริกา ดูงานมูลนิธิชุมชน.

เครือข่าย

เครือข่ายมูลนิธิชุมชน