"หาดใหญ่ Sandbox Plus เตรียมทำ SOP"

by punyha @8 ต.ค. 64 12:06 ( IP : 171...249 ) | Tags : ข่าวสาร-ประชาสัมพันธ์ , 4PW
  • photo  , 600x338 pixel , 44,854 bytes.
  • photo  , 960x640 pixel , 65,781 bytes.
  • photo  , 960x540 pixel , 47,552 bytes.

"หาดใหญ่ Sandbox Plus เตรียมทำ SOP"

วันที่ 7 ตุลาคม 2564  ก่อนขยับเข้าสู่เฟส 2 ยังมีอุปสรรคสำคัญที่จำเป็นจะต้องแก้ปัญหาไปด้วยกันประกอบด้วย

1)ตัวเลขผู้ติดเชื้อยังเพิ่มสูงมากขึ้น เริ่มกระจายในระดับครัวเรือน/ชุมชน/สถานประกอบการ จำนวนเตียงเพื่อผู้ป่วยเหลือง-แดงเริ่่มขาดแคลน การแพร่ระบาดอาจลากยาวไปถึงเมษายนปี 65(สสจ.ประเมิน)

2)วัคซีน ที่ควรครอบคลุมประชากรไม่น้อยกว่า 70-85% โดยเฉพาะกลุ่มเสี่ยง 607,608 ยังไม่มาตามนัด

3)ATK ที่จะช่วยคัดกรองและประเมินสถานะสุขภาพทั้งของประชาชน ผู้ให้บริการ/พนักงาน ต้นทุนยังราคาสูง มีความหลากหลายในการใช้ มีข้อจำกัดในการรับรองผล รวมถึงการเข้าถึงในราคาที่ไม่ทำให้ต้นทุนการผลิตของผู้ประกอบการเพิ่มมากขึ้น

4)แนวนโยบายของรัฐบาล/หน่วยงานที่รับผิดชอบ ยังเป็นแนวทางกว้างๆ ขาดรายละเอียดในการปฎิบัติที่จำเป็นต้องออกมาตรการแบบมีส่วนร่วม

เฟส 1 มี 6 ร้านอาหารนำร่อง เฟส 2 จะมีตลาดนัด ศูนย์การค้า ร้านอาหาร บริษัทฯ สถานศึกษา ปัจจัยเอื้อ

1)การสนับสนุนเชิงนโยบายจากผู้ว่าราชการจังหวัด นายอำเภอ นายกเทศมนตรี

2)คณะกรรมการเขตสุขภาพเพื่อประชาชน(กขป.)เขต 12 ,เขตสุขภาพที่ 12 พร้อมนำเข้าเป็น model นำร่องของกระทรวงสาธารณสุข นำเสนอสู่ สบส. เป็นตัวแทนของเขต จัดทำขั้นตอนการปฏิบัติงานกลาง (SOP)

3)ความร่วมมือของแต่ละภาคส่วน ทั้งมิติองค์กร มิติด้านสาธารณสุข เศรษฐกิจ สังคม การศึกษา สิ่งแวดล้อม กระชับเข้าหากัน และมีเครื่องมือ กระบวนการหลากหลาย

4)ปัจจุบันมีเงินกองทุนพัฒนาเมือง 400,000 บาท

ข้อเสนอประมวลมาจากคณะทำงานเพื่อหาทางออก

1)เร่งหาทางออกร่วมกับกลไกผู้ที่เกี่ยวข้องสสจ. สปสช. ปกครอง ท้องถิ่น วิชาการ เอกชน ประชาสังคม พร้อมเสนอกลไกการทำงานระดับอำเภอให้กับผู้ว่าแต่งตั้งให้มีเจ้าภาพที่ชัดเจน มีการทำงานทั้งแบบทางการและไม่เป็นทางการ ครอบคลุมทุกมิติการทำงาน

-เร่งหาวัคซีน บริหารวัคซีน

-บริหารจัดการ ATK รองรับการทำงานในภาพรวมของเมือง ประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้องมาหาทางออกร่วมกัน

-ออกมาตรการที่เป็นแนวปฎิบัติ(SOP)ร่วมกันในแต่ละด้าน โดยผ่านจุดนำร่องแต่ละสถานประกอบการ(กรณีเข้าใหม่) และขยายผลในส่วนที่มีมาตรการรองรับแล้ว

-ช่วยกันลดผู้ติดเชื้อ ผู้ป่วย

-กำหนดตัวชี้วัดการปิดเมืองกรณีการแพร่ระบาดสูงสุด (เขียว เหลือง แดง) ทั้งระดับเมืองและระดับองค์กร/พื้นที่

-ปรับมุมมองการรายงานตัวเลขต่อสาธารณะมาเน้นจำนวนเตียง จำนวนผู้ป่วยหนัก แทนผู้ติดเชื่้อที่มีแนวโน้มไม่ใช่ผู้ป่วยหนัก และจะอยู่กับเราอีกนาน

2)ความร่วมมือการทำงานกับเทศบาลนครหาดใหญ่

-ปรับกลไกโครงสร้างศบค.หาดใหญ่ สร้างการมีส่วนร่วมให้ครอบคลุมตัวแทนภาคส่วน/ประเด็น/พื้นที่

-ร่วมกำหนดแนวทางดำเนินงานเฟส 2 เฟส 3 ได้แก่ การรับสมัครสถานประกอบการ ค้นหาจุดนำร่องในบางสถานประกอบการที่มีความสำคัญ เช่น รร.เทศบาล รร.มัธยม บริษัท/ห้างร้าน โรงแรม ฯลฯ การสื่อสารประชาสัมพันธ์ การควบคุมตรวจสอบสถานประกอบการ การใช้ประโยชน์งบจากกองทุนสุขภาพตำบลมาหนุนเสริม ATK,วัคซีน Data center การทำงานกับชุมชน

-มีตัวแทนผู้บริหารเข้าร่วมกำหนดแนวทางทำงานกับคณะทำงาน(นายกมอบหมายเลขาปาล์ม)

3)หาข้อสรุปแนวคิดการดำเนินงานในเฟส 2 กรณีมาตรการที่ใช้กับสถานประกอบการในช่วงรอวีคซีน/ATK เพื่อให้สามารถดำเนินการได้ จะขยายในเชิงปริมาณหรือคุณภาพ  และกรณีการใช้ AI ในการหนุนเสริมระบบ

4)สร้างความร่วมมือจัดทำแนวปฎิบัติการ(SOP) รองรับการเปิดเมืองระยะยาว ในภาพระดับอำเภอและจังหวัด

personมุมสมาชิก

เยือนอเมริกา ดูงานมูลนิธิชุมชน

เยือนอเมริกา ดูงานมูลนิธิชุมชน.

เครือข่าย

เครือข่ายมูลนิธิชุมชน