"พัฒนาการกระบวนการนโยบายสาธารณะแบบมีส่วนร่วม"
"พัฒนาการกระบวนการนโยบายสาธารณะแบบมีส่วนร่วม"
ถือโอกาสทบทวนพัฒนาการของการเคลื่อนไหวเพื่อร่วมกำหนดทิศทางการพัฒนาในฐานะองค์กรประชาสังคม ที่เป็นพลเมืองเกาะติดอยู่กับพื้นที่ รู้เห็นปัญหาและศักยภาพของตน และใช้กระบวนการนโยบายสาธารณะแบบมีส่วนร่วมในการกำหนดทิศทางการพัฒนาปรับเปลี่ยนความสัมพันธ์เชิงโครงสร้างภายใน ผ่านแนวทางการบูรณาการประเด็น(Agenda) พื้นที่ (Area) และการทำงาน(Function)
การทำงานของเครือข่ายภาคประชาสังคมที่มูลนิธิชุมชนสงขลามีโอกาสรับผิดชอบเราผ่านการทำงานมาตั้งแต่ยุคคำตอบอยู่ที่หมู่บ้าน มาสู่การเสนอเชิงนโยบายผ่านเอกสารโดยผู้รู้ผู้ชำนาญการ มาสู่การเป็นหุ้นส่วนการพัฒนาและใช้แนวทางเศรษฐกิจสร้างสรรค์ชี้นำการเปลี่ยนแปลง(ข้อสรุปจากนพ.สุภัทร ฮาสุวรรณกิจ) ผมเสริมว่าจริงๆแล้วเราก็มีการหมุนเกลียวการพัฒนาอยู่บนฐานเดิม แต่เพิ่มความคมชัดและปรับปรุงจุดอ่อน จุดแข็งอยู่เรื่อยๆ ทุกวิธีการสามารถนำมาปรับใช้ได้ตามเงื่อนไขปัจจัย ซึ่งแต่ละพื้นที่/ภูมินิเวศย่อยมีความพร้อมไม่เท่ากัน คำตอบและวิธีการที่ได้จึงมีความหลากหลายไปด้วย ภายใต้ข้อจำกัดของโครงสร้างรวมศูนย์จึงไม่ใช่คำตอบที่เราต้องการ
การทำงานในพื้นที่จึงมีผู้มีส่วนได้ส่วนเสียเข้ามาร่วม มีเจ้าภาพหลัก/รองที่จะผลัดกันขึ้นมานำ ภายใต้การทำงานร่วมกันของแต่ละฝ่ายที่เกี่ยวข้อง องค์กรประชาสังคมทำหน้าที่เสริมหนุน หรือกระตุ้นให้หน่วยงานที่ทำงาน สามารถทำหน้าที่ของตนได้อย่างเต็มศักยภาพ ร่วมสร้างเครื่องมือ กระบวนการใหม่ๆ สร้างรูปธรรมตัวอย่างเพื่อการเรียนรู้และชี้ให้เห็นจุดอ่อนของระบบและเสนอแนะเพื่อนำไปสู่การปรับเชิงระบบ ประชาสังคมจึงถอยมาทำในบทบาทที่ยังมีช่องว่างการพัฒนา ไม่เว้นในทุกปัญหาการพื้นที่ การใช้ข้อมูล การสร้างการเรียนรู้จากรูปธรรมของการทำงานร่วมกันอย่างตระหนักว่าแต่ละฝ่ายต่างเป็นหุ้นส่วนการพัฒนา การนำความรู้มาถกแถลงกันเช่นนี้ ภายใต้แนวทางนี้ อ.พิชัย ศรีใส ให้ความหมายว่า การเปลี่ยนแปลงอย่างสร้างสรรค์ (Creative Movement)
เป็นอีกแนวทางของการพัฒนา
แน่นอนว่า เรายังมีความท้าทายเก่าและใหม่
1)ความขัดแย้งทางการเมือง ความขัดแย้งด้านอุดมการทางการเมืองระหว่างเสรีนิยมกับอนุรักษ์นิยมหรือระหว่างคนรุ่นใหม่กับรุ่นเก่า
2)สมดุลแนวคิดการพัฒนาจากโครงการขนาดใหญ่ที่ลงมาในพื้นที่ ซึ่งยังแตกต่างกันของภาคเอกชน ประชาสังคม ชุมชน ที่จะต้องสมดุลทั้งเศรษฐกิจ สิ่งแวดล้อม สังคม
3)ผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงเทคโนโลยี เกิดความผันผวนอย่างรุนแรง
4)ผลกระทบจากปัญหาภัยพิบัติ โดยเฉพาะการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและโรคระบาดจากโควิด-19
ชาคริต โภชะเรือง 30 กันยายน 2564
Relate topics
- จดหมายข่าวโครงการประชาสังคมร่วมแรงเพื่อเปลี่ยนแปลงเมือง (SUCCESS) ฉบับที่ 1 - 10
- ก้าวที่ 1 ของ iMedCare ธุรกิจเพื่อสังคมของสงขลา"
- "แผนผังภูมินิเวศ"
- เครือข่าย SUCCESS เมืองควนลังร่วมงานส้มโอเมืองควนลังปี 2567
- "ทีม iMedCare วิถีผู้ดูแลผู้ป่วยที่บ้าน"
- อังกฤษที่ผมเห็น ตอนที่ 11 - 21
- อังกฤษที่ผมเห็น ตอนที่ 1 - 10
- "iMed@home ระบบกลุ่ม"
- สมัชชาสุขภาพจังหวัดสงขลาชูวาระ "พลิกโฉมพลังพลเมืองสงขลาเพื่อสังคมสุขภาวะที่ยั่งยืน"
- กิจกรรมรับบริจาคโลหิตประชารัฐสงขลาประจำเดือนตุลาคม 2567