"ประชุมเตรียมงานวันพลเมืองสงขลาปี ๒๕๖๔ ครั้งที่ ๒"
"ประชุมเตรียมงานวันพลเมืองครั้งที่ ๒"
วันที่ ๑๘ กันยายน ๒๕๖๔ เวลา ๑๓.๐๐ - ๑๖.๐๐ น. ผ่านระบบ Zoom ผู้เข้าร่วม ๓๒ คน
สรุปประเด็นสำคัญ
๑.พัฒนาการเครือข่ายพลเมืองสงขลา ภายใต้กระบวนการพัฒนานโยบายสาธารณะแบบมีส่วนร่วม ต่อยอดจากพื้นฐานองค์กรชุมชน โดยเฉพาะองค์กรการเงินเริ่มตั้งแต่ปี ๒๕๑๘ ต่อมาเครือข่ายเครือข่ายประมงพื้นบ้าน ชมรมเพื่อนนักพัฒนาภาคใต้ กลุ่มเกษตรทางเลือกพืชร่วมยาง เครือข่ายสลัมที่ขับเคลื่อนกับกลุ่มคนจนเมือง เข้าร่วมกระบวนการปฏิรูปการเมืองปี ๔๐ เกิดศูนย์ประสานงานภาคประชาสังคม เรื่อยมา กระทั่งจัดงานภายใต้ชื่อวันพลเมืองมาตั้งแต่ปี ๒๕๖๑
๒.ปีนี้กำหนดกิจกรรมผ่านระบบประชุมทางไกล Zoom โดยกำหนดวันที่ ๒๘ - ๓๐ กันยายน ๖๔ เริ่มตั้งแต่วันที่ ๒๘ บ่ายโมงเป็นต้นไป โดยองค์กรร่วมจัดมีทั้งองค์กรใหม่และองค์กรเก่า
๓.Theme หลักของปี ๒๕๖๔ คือ Songkhla Smart&Green สงขลาปลอดภัยอย่างยั่งยืน รับกับสถานการณ์วิกฤตโควิด-๑๙
๔.ที่ประชุมพิจารณากำหนดการ ประกอบด้วย ๕ ประเด็นหลักได้แก่
๑)สงขลาในสถานการณ์โควิด
๒)การขับเคลื่อนเศรษฐกิจสร้างสรรค์ในวิกฤตโควิด
๓)การจัดการสิ่งแวดล้อมยั่งยืนในวิกฤตโควิด
๔)การดูแลสังคมเป็นสุขในวิกฤตโควิด
๕)การเมืองภาคพลเมืองในวิถีใหม่
การนำเสนอมีทั้งเสนอต้นแบบการพัฒนา การเสวนา การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ การเสนอเชิงนโบยาย เน้นให้เกิดความร่วมมือขับเคลื่อน เพื่อเป้าหมาย บูรณาการประเด็น(สุขภาพ เศรษฐกิจ สิ่งแวดล้อม สังคม การเมือง) พื้นที่(ระดับเมือง) การทำงาน(ภาครัฐ ท้องถิ่น วิชาการ เอกชน ประชาสังคม ชุมชน
ผู้เข้าร่วมแต่ละประเด็นๆละ ๑๐๐ คน(กระจายให้ครอบคลุมตัวแทนทั้งภาครัฐ ท้องถิ่น วิชาการ เอกชน ประชาสังคม ชุมชน) on site และon zoom รับชมผ่าน live สดผ่านเพจต่างๆอีกราว ๑๐๐๐-๓๐๐๐ คนต่อวัน
มีข้อเสนอเพิ่มเติมดังนี้
๑.ประสานและเชิญชวนภาคีทั้งที่เป็นภาคประชาสังคมและท้องถิ่นใหม่ๆ มาร่วมในการแลกเปลี่ยน จะทำให้เกิดมุมมองใหม่ๆ และทำให้เกิดการขยายเครือข่ายเพิ่มขึ้นมากด้วย
๒.เน้นแนวทางการเป็นหุ้นส่วนในการพัฒนา
๓.ช่วงนำเสนอสอดแทรกรูปแบบอื่นๆ เช่น มีกิจกรรมสาธิต ณ จุด onsite มีการส่งอาหารว่างที่เป็นอาหารอัตลักษณ์แต่ละถิ่นล่วงหน้าไปในแต่ละจุด
๔.เปิดแต่ละช่วงงานด้วยศิลปะพื้นบ้านสร้างแรงกระตุ้น ปลุกจิตวิญญาณ
๕.การจัดการในการถ่ายทอดสดผ่าน Zoom ซึ่งสามารถถ่ายทอดสดได้เลย แต่ไม่ควรยาวตลอดเวลา นำเสนอเป็นช่วงๆ
๖.ถอดบันทึกการประชุมอย่างละเอียด เพื่อเรียบเรียงเนื้อหาเชิงคุณค่าของงาน
๗.ส่งกำหนดการให้แต่ละองค์กรร่วมจัด เสนอรายชื่อ ที่อยู่ เพื่อรวบรวมจำนวนผู้เข้าร่วม กรณีที่ผ่าน zoom ที่สามารถเข้าได้ทั้ง ๓ วันหรือวันใด ส่งรายชื่อให้ส่วนกลางเพื่อออกหนังสือเชิญ พร้อมเอกสารประกอบ และใบสำคัญรับเงิน ค่าใช้จ่ายที่จะดูแลให้ภาคประชาชนที่เข้าร่วมทุกคน และกรณีจัด on site ระบุจำนวนคน ชื่อที่อยู่ผู้ประสานงานหลัก ภายในวันพุธที่ 22 กันยายน ๒๕๖๔
Relate topics
- มาลองสู้กับความเจ็บป่วยทางสังคมสักตั้ง!!
- จดหมายข่าวโครงการประชาสังคมร่วมแรงเพื่อเปลี่ยนแปลงเมือง (SUCCESS) ฉบับที่ 1 - 10
- ก้าวที่ 1 ของ iMedCare ธุรกิจเพื่อสังคมของสงขลา"
- "แผนผังภูมินิเวศ"
- เครือข่าย SUCCESS เมืองควนลังร่วมงานส้มโอเมืองควนลังปี 2567
- "ทีม iMedCare วิถีผู้ดูแลผู้ป่วยที่บ้าน"
- อังกฤษที่ผมเห็น ตอนที่ 11 - 21
- อังกฤษที่ผมเห็น ตอนที่ 1 - 10
- "iMed@home ระบบกลุ่ม"
- สมัชชาสุขภาพจังหวัดสงขลาชูวาระ "พลิกโฉมพลังพลเมืองสงขลาเพื่อสังคมสุขภาวะที่ยั่งยืน"