ร่วมคิด ร่วมคุย ร่วมทำ ร่วมพัฒนาเมืองสู้โควิดอย่างยั่งยืน บทเรียนเฟส ๑ Hatyai sandbox ตอนที่ ๒
วันที่ ๓ กันยายน ๒๕๖๔
"หาดใหญ่ sandboxplus : ๙ เดือน ๙"
ภาคเช้า ทีมเข้าประชุมร่วมกับนายกเทศมนตรีนครหาดใหญ่ สสอ. ภาคเอกชน หารือแนวทางดำเนินการต่อไป
๑.นายกสาครแจ้งว่าสถานการณ์ของเทศบาลนครหาดใหญ่ รายได้ลดลง ๔๐๐ ล้านบาทจากการขาดหายไปของการจัดเก็บภาษีจากมาตรการต่างๆของภาครัฐ ทางเทศบาลกำลังเตรียมรับมือน้ำท่วมไปพร้อมกับรับมือโควิดที่มีศูนย์บริหารจัดการโควิด ปัจจุบันมีรถบริการ ๕ คันที่พร้อมอำนวยความสะดวก มีการตั้งกองทุนรับบริจาคความช่วยเหลือมีเงินราว ๖ แสนบาท ได้มีการสั่งจองวัคซีนชิโนฟาร์ม ๖ หมื่นกว่าโดส กระจายไปให้แต่ส่วน มีโรงแรมเป็นศูนย์พักคอยกว่า ๒๐ แห่ง ที่จะช่วยสร้างรายได้ร่วมกับร้านค้าส่งอาหารเลี้ยงผู้พัก
๒.แนวทางขับเคลื่อน ทางเทศบาลเสนอให้เดินหน้า ในพื้นที่รับผิดชอบของทน.หาดใหญ่เป็นระยะที่ ๑ คู่ขนานกับการผลักดันเชิงนโยบายไปยังจังหวัดและศบค.ระดับชาติ ซึ่งจะต้องเร่งดำเนินการต่อไปนี้
๒.๑ ชี้แจงทำความเข้าใจแนวคิดของหาดใหญ่ sandbox ที่ยังเข้าใจว่าเป็นเหมือนภูเก็ตรับนักท่องเที่ยวต่างชาติ อาจเปลี่ยนชื่อเพื่อลดความสับสน ผ่านแนวคิด smart&clean
๒.๒ ให้มีสถานประกอบการนำร่อง ประเดิมด้วยร้านอาหารและเครื่องดื่มที่มีความพร้อม และประกาศรับสมัครผู้เข้าร่วมสู่ระยะที่ ๒ ในแต่ละกิจการต่อไป สถานประกอบการที่เข้าร่วมจะได้สิทธิในเรื่องวัคซีนให้พนักงาน การสมทบงบในการตรวจเชื้อผ่าน ATK ได้ประชาสัมพันธ์ในฐานะสถานประกอบการต้นแบบ พร้อมแคมเปญการตลาดร่วมกับเครือข่าย รายละเอียดเหล่านี้จะมีการนำเสนอให้ชัดเจนอีกครั้ง รวมถึงมาตรการในส่วนประชาชนที่เข้าใช้บริการ มีความเห็นหลากหลาย ทีมอาสาจะไปร่วมคิดมาตรการมาเสนออีกครั้ง
๒.๓ ในส่วนชมรมผู้ประกอบการอาหารและเครื่องดื่ม ได้จัดทำคู่มือสำหรับสมาชิกเพื่อใช้ประกอบการบริการแบบ New normal service ซึ่งแต่ละแห่งแต่ละประเภทจะไม่เหมือนกัน ต้องการให้เน้นวัคซีนในกลุ่มเสี่ยง เช่น หาบเร่แผงลอย แรงงานต่างชาติที่เป็นลูกจ้าง(เดือนตุลาคมทางกระทรวงแรงงานจะจัดวัคซีนลงมาให้สงขลาในกลุ่มนี้ที่ยังไม่มีเจ้าภาพ)มาตรการป้องกันที่แตกต่างระหว่าง ร้านขนาดเล็ก/ใหญ่ ที่โล่ง/ติดแอร์ ร้านโชว์ห่วย ตลาดนัด ตู้เกมส์ ฯลฯ
๒.๔ บ.iNet ได้พัฒนาระบบ ATK screening โดยเริ่มทดสอบกับห้างไดอาน่า ตลาดกรีนเวย์ ให้ความมั่นใจว่าจะสามารถพัฒนาระบบอำนวยความสะดวกให้กับเมืองได้
๒.๕ การดำเนินการทำไปปรับไปภายใต้ข้อจำกัดเรื่องวัคซีน ให้ยืดหยุ่น แต่จะนำไปสู่การเปิดเมืองอย่างยั่งยืน สร้างความน่าเชื่อถือได้ สร้างมาตรฐานใหม่ของเมือง
ภาคค่ำ มีการนัดหารือต่อมีข้อสรุปสำคัญ
๑.ประเมินความพร้อมของการดำเนินการท่ามกลางข้อจำกัดของวัคซีน และผู้ใช้บริการ ที่จะต้องสมดุลกับการสร้างความเชื่อมั่นต่อการดำเนินการที่จะต้องให้ทันกับเวลาการเปิดเมือง ความสนใจของผู้คน
๒.จะมีการนัดแถลงข่าว คิ๊กออฟด้วยกันในวันที่ ๙ เดือน ๙ เปิดตัวร้านค้าเครื่องดื่มและร้านอาหารที่พร้อมจะนำร่อง "มาตรการสถานที่ปลอดภัย" เพื่อเป็นตัวอย่างสร้างการเรียนรู้ สื่อสารกับสังคม โดยเฉพาะในกลุ่มร้านค้าที่มีผู้ใช้บริการมาก ประเดิมในระยะที่ ๑ ไม่จำเป็นต้องมาก(แลกกับสิทธิประโยชน์ที่จะได้รับ) พร้อมนำเสนอความร่วมมือจากภาคส่วนต่างๆของเมือง สาธิตระบบ รับสมัครผู้ประกอบการที่จะเข้าร่วมในระยะที่ ๒ ควรทำงานผ่านองค์กรของแต่ละสถานประกอบการ เพื่อสร้างการมีส่วนร่วมและความเข้มแข็งภายใน
๓.ในส่วนของลูกค้า ระยะที่ ๑ จะยืดหยุ่นตามมาตรการของศบค.จนกว่าจะมีข้อมูลหมอพร้อมเข้าระบบของ onechat และมี ATK เพียงพอ ค่อยเพิ่มมาตรการมากขึ้นในแต่ละสัปดาห์ตามความพร้อมของวัคซีนและ ATK
๔.จัดระบบทีม ประกอบด้วย ๔ ทีม ได้แก่ ทีมประชาสัมพันธ์ ทีม data center ทีม hatyai smart&clean ทีมติดตามประเมินผล ประสานสมาชิกตามรายชื่อคณะทำงานโครงการและสื่อสารการนัดหมายเพื่อให้เครือข่ายที่สนใจเข้าร่วมไปจัดทำรายละเอียดของแต่ละส่วนมานำเสนอกันในวันจันทร์
วันที่ ๔ กันยายน ๒๕๖๔
"เตรียมแถลงข่าว โครงการ“Hatyai Sandbox Plus พื้นที่ทดสอบการเปิดเมืองอย่างยั่งยืน” วันที่ ๙ เดือน ๙ ร่วมก้าวขยับปรับเปลี่ยนเมือง
ดีเดย์นัดแถลงข่าว จะดำเนินการในวันที่ ๙ กันยายน พ.ศ. ๒๕๖๔ เวลา ๙.๐๙ น. ณ ห้องประชุมเทศบาลนครหาดใหญ่ ภายในสโลแกน “วันที่ ๙ เดือน ๙ ร่วมก้าวขยับปรับเปลี่ยนเมือง” พร้อมเปิด ๙ ร้านค้าเฟสที่ ๑ ที่จะดำเนินมาตรการ "สถานที่ปลอดภัย" ซึ่งเป็นร้านอาหารและเครื่องดื่มในอำเภอหาดใหญ่ แนะนำและลงนาม MOU ร้านค้าที่เข้าร่วม (๙ ร้านค้า ตัวแทนนำร่อง) เกณฑ์การเข้าร่วม และสิทธิประโยชน์ของสถานประกอบการและประชาชนที่ใช้บริการ
กิจกรรมสำคัญจะมีการนำเสนอรายละเอียดโครงการ และองค์กรเครือข่ายความร่วมมือ นำเสนอกิจกรรม “Hatyai Smart and Clean พื้นที่ปลอดภัย สำหรับคนที่ปลอดภัย”
๑ภายใต้เงื่อนไขการได้รับการฉีดวัคซีน หรือ การตรวจ ATK ตามเกณฑ์ที่กำหนด สำหรับ ๙ ร้านตัวแทนนำร่อง หากยังไม่ได้รับวัคซีน ต้อง ATK ทุกๆ ๓ วัน หากได้รับ ๑ เข็ม(ชิโนฟาร์ม ชิโนแวค) ต้อง ATK ทุกๆ ๓ วัน หากได้รับ ๒ เข็ม(1 เข็ม Astra) ต้อง ATK ทุก ๆ ๗ วัน
พร้อมการดำเนินมาตรการของสถานประกอบการ (๕๐%, ๗๕%) ตามนโยบาย ศบค. และคณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัดสงขลา ระยะต่อไปจะมีการใช้แอพพลิเคชั่น Onechat เพื่อแสดงสถานะ การฉีดวัคซีน หรือ ATK(Onechat นับถอยหลังอัตโนมัติ)ของพนักงาน และสามารถแสดงเป็นสถานที่ปลอดภัยในแผนที่ Onechat
ทั้งนี้เงื่อนไขอาจจะเปลี่ยนแปลงตามสถานการณ์การแพร่ระบาด
โดยมีเงื่อนไขและสิทธิประโยชน์กิจกรรม “Hatyai Smart and Clean สถานที่ปลอดภัย สำหรับคนที่ปลอดภัย”(เฟสที่ ๑)ภายใต้ โครงการ “Hatyai Sandbox Plus พื้นที่ทดสอบการเปิดเมืองอย่างยั่งยืน
๑.ได้รับวัคซีนให้พนักงานและลูกจ้าง จากเทศบาลนครหาดใหญ่ (หลัง ๑๒ ก.ย.) หรือได้รับการสนับสนุนวัคซีนและ ATK จากสสจ. (หลัง ๑๕ กย.)ภายใต้โครงการ “Hatyai Sandbox Plus”
๒.การใช้ Onechat โดยได้Free GP(ปกติ เก็บ ๑๕%)จาก ฟรีบริการ Delivery(เฉพาะโครงการนี้)
๓.ได้รับการประชาสัมพันธ์ทางช่องทางการสื่อสารต่างๆ ของหน่วยงาน/สื่อที่เกี่ยวข้อง
ในส่วนลูกค้าที่เข้าใช้บริการ ระยะแรกยึดมาตรการของศบค. เน้นการเว้นระยะห่างทางสังคม ใส่หน้ากาก ล้างมือ ฯลฯ ยังไม่คัดกรองการฉีดวัคซีนและผลATK แต่จะเพิ่มความเข้มในระยะต่อไป
สิทธิประโยชน์ที่จะได้รับ
๑.ทำแบบสอบความพึงพอใจตามมาตรการ DMHTTผ่านระบบ OneChat (ลูกค้าจะได้รับยาสีฟันเทพไทย ต่อการทำแบบสอบถาม ๑ ชุด ในการลงทะเบียนครั้งแรก) บ.เทพไทยสนับสนุนมา ๑ หมื่นหลอด
๒.ได้ทราบและมั่นใจในสถานะของร้านที่มีความปลอดภัยและปฏิบัติตามมาตรการ ศบค.ผ่านระบบ Onechat
๓.ได้รับส่วนลดการใช้ระบบ Payment โปรแกรม Onechat (Cashback point แทนเงินสด ๑ แต้ม ๑ บาท โดยปัจจุบัน สามารถใช้ได้ ๙๐๐ กว่าร้านในอำเภอหาดใหญ่)
เหล่านี้จะเป็นจุดเริ่มต้นของความร่วมมือ ที่จะพัฒนาต่อไป พร้อมกันนี้ได้จัดตั้งกองทุนไว้สำหรับดูแลสถานประกอบการ กรณีที่จำเป็น มีวงเงินประเดิมแล้ว ๑ แสนบาท
วันที่ ๗ กันยายน ๒๕๖๔
คุณชาคริต โภชะเรืองเป็นตัวแทนทีมงาน หาดใหญ่ sandboxplus ร่วมคุยในรายการสภากาแฟ สถานีวิทยุ ม.อ.หาดใหญ่ นำเสนอแนวทางการเปิดเมืองอย่างยั่งยืน ภายใต้กิจกรรมแรก หาดใหญ่ smart&clean
ขณะที่นพ.ธีระชัยและทีมงานคนอื่นๆเข้าพบผู้ว่า เพื่อประสานมาร่วมแถลงข่าวในวันที่ ๙ เดือน ๙ ที่จะถึง ซึ่งผู้ว่าให้ทางทน.หาดใหญ่ รีบทำรายละเอียดเสนอเข้ามารวมถึงข้อเสนอเชิงนโยบายต่างๆที่ต้องการ เพื่อศบค.จังหวัดจะได้ช่วยดำเนินการและส่งต่อไปยังส่วนกลางที่เกี่ยวข้องต่อไป
"จากHatyai Sandbox สู่Hatyai Sandbox plus"
๑๐ ก้าวย่างสำคัญ
๑)การปรึกษาหารือเพื่อประเมินสถานการณ์โควิดในพื้นที่เมืองหาดใหญ่และสงขลา โดยการประสานภาคส่วนที่เกี่ยวข้องได้แก่ ภาคสาธารณสุข ภาคเอกชน ภาคประชาสังคม ท้องถิ่น ทำให้ทราบปัญหาและแนวทางการรับมือของแต่ละฝ่าย
๒)ประสานวงอาสาร่วมคิด ร่วมประเมินสถานการณ์โควิด นำผู้แทนของภาคสาธารณสุข เศรษฐกิจ สังคม วิชาการ มาเป็นแกนหลัก ร่วมพัฒนาแนวทางรับมือ หารือได้ ๒ ครั้งก็ได้เป้าหมายร่วมของ Hatyai Sand box และใช้วงนี้ค่อยคิดช่วยมองทิศทางการทำงาน ขยายองค์กรความร่วมมือเข้ามามากขึ้นเรื่อยๆ
๓)การกำหนดเป้าหมายด้านสาธารณสุข ลดการเสียชีวิต ด้านเศรษฐกิจเปิดเมืองให้เศรษฐกิจเดินได้ ด้านสังคมช่วยเหลือกลุ่มเปราะบาง ทำให้สามารถมองภาพรวมของปัญหาได้รอบด้าน และสามารถกำหนดเงื่อนไขความสำเร็จสำคัญ คือ วัคซีนและHealthprofile, ATK และ AI (OneChat) สร้างความเชื่อมั่นว่าสามารถเดินหน้าเปิดเมืองอย่างยั่งยืนได้
๔)การเข้าหารือกับนายกเทศมนตรีนครหาดใหญ่เป็นระยะ ยกระดับการทำงานเป็นเนื้อเดียวกับเทศบาล
๕)การเข้าพบผู้ว่าราชการจังหวัดครั้งที่ ๑ ครั้งที่ ๒ พร้อมกับนายกเทศมนตรีนครหาดใหญ่ ผู้ว่ารับหลักการนำมาสู่การตั้งคณะทำงาน และทำให้เกิดการขับเคลื่อนคู่ขนานระหว่างการผลักนโยบายไปสู่ส่วนกลางและปฏิบัติการ ณ จุดทดสอบในพื้นที่
๖)การเปิดเมืองของรัฐบาล ทำให้คณะทำงานปรับตัวปรับแนวทางHatyai Sandbox สู่Hatyai Sandbox plus นำแนวทางเปิดเมืองของศบค.มาจัดทำโครงการนำเสนอกรอ.เพื่อผลักดันนโยบาย
๗)การประชาสัมพันธ์ สร้างการรับรู้ทางสังคม สุทธิชัย live และช่องทางสื่อสารอื่นๆ
๘)การประชุมร่วมกับกรอ.จังหวัด นำมาสู่การปรับกิจกรรม ตัดสินใจเดินหน้ากิจกรรม Hatyai Sandbox plus เฟสที่ 1 “Hatyai Smart & Clean สถานที่ปลอดภัย สำหรับคนที่ปลอดภัย และจะตามมาด้วย Hatyai Care และHatyai Fund
๙)การกำหนดวันคิ๊กออฟ ๙ เดือน ๙ นำมาสู่การรับสมัครร้านอาหารและเครื่องดื่มนำร่อง ๖ ร้าน ท่ามกลางข้อจำกัดและเงื่อนไขที่ไม่อาจควบคุมของฝ่ายลูกค้า แต่เพื่อสร้างความเชื่อมั่นต่อการดำเนินงาน มีร้านที่เห็นประโยชน์พร้อมเดินหน้า
๑๐)ความร่วมมือร่วมแรงร่วมใจขององค์กรเครือข่ายที่มาทำงานร่วมกันทั้งคลุกวงใน ลงมือลงแรงแก้ปัญหาขับเคลื่อนรายวัน ทั้งให้กำลังใจ ทั้งสนับสนุนอย่างใกล้ชิดและห่างๆ ร่วมกันแก้ปัญหาวัคซีน ATK การพัฒนาระบบคัดกรองผ่านoneChat ประกอบการวางเงื่อนไขที่จะใช้ในระยะแรก
นี่คือจังหวะก้าวสำคัญ ในการสร้างพื้นที่ความร่วมมือHatyai Sandbox plus
Relate topics
- มาลองสู้กับความเจ็บป่วยทางสังคมสักตั้ง!!
- จดหมายข่าวโครงการประชาสังคมร่วมแรงเพื่อเปลี่ยนแปลงเมือง (SUCCESS) ฉบับที่ 1 - 10
- ก้าวที่ 1 ของ iMedCare ธุรกิจเพื่อสังคมของสงขลา"
- "แผนผังภูมินิเวศ"
- เครือข่าย SUCCESS เมืองควนลังร่วมงานส้มโอเมืองควนลังปี 2567
- "ทีม iMedCare วิถีผู้ดูแลผู้ป่วยที่บ้าน"
- อังกฤษที่ผมเห็น ตอนที่ 11 - 21
- อังกฤษที่ผมเห็น ตอนที่ 1 - 10
- "iMed@home ระบบกลุ่ม"
- สมัชชาสุขภาพจังหวัดสงขลาชูวาระ "พลิกโฉมพลังพลเมืองสงขลาเพื่อสังคมสุขภาวะที่ยั่งยืน"