ร่วมคิด ร่วมคุย ร่วมทำ ร่วมพัฒนาเมืองสู้โควิดอย่างยั่งยืน บทเรียนเฟส ๑ Hatyai sandbox ตอนที่ ๑

by punyha @17 ก.ย. 64 12:35 ( IP : 171...229 ) | Tags : ข่าวสาร-ประชาสัมพันธ์ , 4PW
  • photo  , 1280x720 pixel , 70,154 bytes.
  • photo  , 1920x1080 pixel , 115,669 bytes.
  • photo  , 1920x1080 pixel , 144,917 bytes.
  • photo  , 1920x1080 pixel , 125,560 bytes.
  • photo  , 1920x1080 pixel , 114,348 bytes.
  • photo  , 1920x1080 pixel , 143,676 bytes.
  • photo  , 1920x1080 pixel , 195,392 bytes.
  • photo  , 1920x1080 pixel , 158,238 bytes.
  • photo  , 600x337 pixel , 34,338 bytes.
  • photo  , 1366x768 pixel , 118,052 bytes.
  • photo  , 600x337 pixel , 41,036 bytes.
  • photo  , 960x600 pixel , 77,570 bytes.
  • photo  , 1366x768 pixel , 133,873 bytes.
  • photo  , 1366x768 pixel , 96,277 bytes.
  • photo  , 1366x768 pixel , 131,351 bytes.

วันที่ ๓๑ กรกฎาคม ๒๕๖๔

"เอกชน ประชาสังคมสงขลา-หาดใหญ่หาทางรับมือโควิด"

สถานการณ์โควิดระลอก ๓ ระบาดหนักจนทำท่าว่าจะเอาไม่อยู่ สงขลาเป็น ๑ ในพื้นที่แดงเข้ม มีแนวโน้มสถานการณ์จะตามกทม.มาอย่างใกล้ชิด ทำให้หลายเครือข่ายไม่อาจนิ่งนอนใจ ชวนกันมาวิเคราะห์สถานการณ์เพื่อหาทางรับมือ

๑.สถานการณ์การแพร่ระบาด ตัวเลขผู้ป่วยมีแนวโน้มจะรุนแรงขึ้้นอีก และยังไม่มั่นใจว่าจะเป็นตัวเลขจริง ด้วยตรวจคัดกรองน้อย ตัวเลขผู้ติดเชื้อก็อาจจะน้อยตามไปด้วย ระบบสาธารณสุขเปลี่ยนมุมมองจากป้องกันการตายมาสู่การปกป้องระบบไม่ให้ล่มจากการที่มีผู้ป่วยทั้งป่วยโรคอื่นและจากโควิดล้นระบบสนองตอบไม่ได้ มาสู่การยอมรับว่าโควิดเป็นส่วนหนึ่งในชีวิต จำเป็นจะต้องอยู่ร่วมกันให้ได้ ประกอบกับความต้องการวัคซีนที่จะเป็นทางออกเดียวมีมาก วัคซีนมาช้า แต่วัคซีนถูกกำหนดด้วยผู้ค้าไม่ใช่จากลูกค้า เราไม่อาจเร่งรัดหาวัคซีนมาบริการประชาชนได้ ขณะที่ตัวเลขการฉีดวัคซีนยังไม่ไปถึงไหน คนฉีด ๒ เข็มมีเพียง ๔% ซึ่งน้อยมาก การระบาดจะรุนแรงมากขึ้น สังคมเองเกิดอาการตื่นกลัวโควิดจนเกินควร ทั้งกลุ่มเสี่ยงและไม่เสี่ยงต่างต้องการวัคซีนจนบริหารจัดการไม่ได้

ท้องถิ่น เอกชน แม้จะพยายามหาวัคซีนแต่ก็ได้มาไม่มากพอ

๒.ผลกระทบด้านเศรษฐกิจ สังคม ในส่วนของผู้ประกอบการสะท้อนว่าทั้งภาคอสังหาริมทรัพย์ โรงแรม SME เหล่านี้รอวันตาย การแก้ปัญหาของภาครัฐที่แก้แบบ "เจ็บแต่ไม่จบ" จะทำให้ภาคเอกชนไปไม่รอด ต้องการนโยบายมาช่วยในส่วนที่จะเป็นภาระหนี้ผูกพันที่จะต้องรับผิดชอบในช่วงของการปิดเมือง สถานการณ์ ๔ เดือนนี้จะเกิดอะไรขึ้นหากผู้ป่วยมากขึ้น ระบบสาธารณสุขรองรับไม่ได้ ผู้ที่เดือดร้อนจะหาทางออกอย่างไร  ภาวะของความอดอยาก แย่งชิงอาหาร ทรัพยากรต่างๆจะรุนแรงมากน้อยเพียงใด

๓.แนวทางที่จะทำช่วยกันรับมือ ในช่วงเวลาหัวเลี้ยวหัวต่อสำคัญ เพื่อไม่ให้สถานการณ์ยกระดับรุนแรงหนักดังที่กทม.ประสบอยู่ จะดำเนินการอยู่บนฐานคิดอย่าทำในสิ่งที่ไม่รู้ คิดและทำในสิ่งที่พอจะทำได้เป็นไปได้ แต่ละภาคส่วนร่วมกันจัดการตนเอง สร้างความไว้วางใจกันและกัน มีการบูรณาการร่วมกัน สมดุลระหว่างด้านสาธารณสุข เศรษฐกิจ สังคม โดยนำตัวแบบการรับมือน้ำท่วมหาดใหญ่(ACCCRN)มาปรับใช้

เป้าหมาย ลดการเสียชีวิต ลดผลกระทบทางเศรษฐกิจ สังคม

๓.๑ ประเมินความเสี่ยงอย่างใกล้ชิด หามาตรการรับมือระยะสั้น มีการสื่อสารทางสังคมเพื่อลดความตื่นกลัวเกินควร

๓.๒ Mapping พื้นที่เสี่ยง จำกัดพื้นที่เสี่ยง ใช้มาตรการเชิงรุก ลงคัดกรองผู้ติดเชื้อ สอบสวนโรคในกลุ่มเสี่ยงติดเชื้อ แยกกลุ่มเพื่อดูแล เขียว เหลือง แดง พร้อมฉีดวัคซีนเชิงรุก เป็นหน่วยปฎิบัติการใช้พื้นที่เป็นฐาน ลงแบบครบกระบวน และปิดชุมชนพร้อมมาตรการช่วยเหลือเรื่องอาหาร การเยียวยา มีข้อเสนอให้วิเคราะห์พื้นทีอำเภอหาดใหญ่เป็นจุดปฏิบัติการ เพื่อสร้างความหวังและกระตุ้นความร่วมมือในสังคม

๓.๓ สร้างความรู้ที่ถูกต้องในการปฎิบัติตัวในแต่ละกรณีให้กับประชาชน สร้างการรักษาทางเลือก(กรณีฟ้าทะลายโจรและอื่นๆ) กระตุ้นการปรับตัวของภาคเอกชน ใช้สถานการณ์โควิดมาสร้างรายได้

๓.๔ เฝ้าระวังระบบสาธารณูปโภคพื่้นฐาน เช่น ประปา ไฟฟ้า อินเตอร์เน็ต ไม่ให้ล่มสลายหากมีการติดเชื้อในกลุ่มพนักงาน ควรจะมีระบบกำลังสำรอง

๓.๕ ผลักดันเชิงนโยบายเพื่อลดผลกระทบของภาคเศรษฐกิจ ลดภาระหนี้สิน หรือดอกเบี้ยให้กับผู้ประกอบการในช่วงสถานการณ์

๓.๖ รองรับสถานการณ์หากเกิดวิกฤตหนักแบบกทม. คือการเตรียมระบบการรักษาตัวที่บ้าน(Home Isolation)

หมายเหตุ ผู้เข้าร่วมประกอบด้วย มูลนิธิชุมชนสงขลา หอการค้าจังหวัดสงขลา YEC รองนายกทน.หาดใหญ่ ประธานที่ปรึกษาผู้บริหารทน.หาดใหญ่ สมาคมโลจิสติกส์และขนส่งภาคใต้ สมาคมโรงแรมหาดใหญ่-สงขลา สมาคมอสังหาริมทรัพย์ สถาบันสันติศึกษา คณะแพทย์ ม.อ. ผอ.รพ.จะนะ ผอ.รพ.สมเด็จฯนาทวี สถาบันวิจัยและพัฒนาสุขภาพภาคใต้


วันที่ ๕ สิงหาคม ๒๕๖๔

"หัวเลี้ยวหัวต่อสำคัญของการรับมือโควิดหาดใหญ่"

หาดใหญ่เป็นอีกพื้นที่หนึ่งซึ่งพบผู้ติดเชื้อจำนวนมาก ภาคเอกชน ภาคประชาสังคม พยายามสร้างการมีส่วนร่วมเสนอแนะในการแก้ปัญหาในช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อสำคัญที่สุด ผู้ป่วยเพิ่มขึ้น ระบบสาธารณสุขเต็มหน้าตัก วัคซีนไม่มาตามนัด การตื่นกลัวทางสังคมเพิ่มมากขึ้น พร้อมความหวาดระแวงต่อผู้ติดเชื้อทำให้มองไม่เห็นปัญหาที่แท้จริง

๑.ปลัดเทศบาลนครหาดใหญ่ แจ้งวันเสาร์นี้จะมีปฎิบัติการลงตรวจหาเชื้อเชิงรุกด้วย ATK ณ ชุมชนบ้านพักรถไฟ ที่มีจำนวนประชากรราว ๖-๘๐๐ คน คาดว่าจะพบผู้ติดเชื้อ ๑๐-๑๕% เมื่อพบจะส่งตรวจซ้ำเพื่อยืนยันผลตรวจ จากนั้นจะส่งทีมไปรับผู้ป่วยในส่วนที่มีโอกาสจะเป็นผู้ป่วยเข้าสู่ CI ณ โรงแรมรถไฟ และโรงแรมวิเวอร์แกรนด์ กรณีผู้ป่วยสีเหลืองและแดงจะเข้าสู่ระบบการรักษาต่อไป ปฏิบัติการนี้เป็นจุดนำร่องเพื่อพัฒนากระบวนการทำงาน โดยร่วมมือระหว่างรพ.หาดใหญ่ รพ.มอ. ทน.หาดใหญ่

๒.พื้นที่เป้าหมายจะอยู่ที่ ๕ ชุมชน ริมทางรถไฟทั้งสองฟาก ปัจจุบันชุมชนที่มีปัญหาหนักที่สุดคือ หมัดยาเม๊าะ แต่ที่นี่ไม่มีอสม.ขาดความพร้อมที่จะนำร่อง จึงเป็นเป้าหมายต่อไป หลังดำเนินการกับชุมชนบ้านพักรถไฟ และสามารถทำประชาคมกับโรงแรมเจบีในการเป็น CI หรือศูนย์พักคอย ซึ่งมีเป้าหมายจะทำประชาคมซ้ำอีกรอบ ซึ่งโรงแรมเจบีมีความเหมาะสมที่สุด่ อยู่ใจกลางเมืองจุคนได้เยอะ ๔๐๐ เตียง บริหารจัดการง่ายมีทางขึ้นลง ใกล้รพ.หาดใหญ่ และรพ.ใหญ่หลายรพ. สามารถวางระบบควบคุมการเข้าออกทั้งกล้อง CCTV หรือมีกองกำลังเฝ้าระวัง ๒๔ ชม. และให้ร้านค้าบริเวณนั้นได้ประโยชน์ในการรับส่งอาหารแต่ละมื้อ

๓.ทน.หาดใหญ่เตรียมให้มีคณะทำงานระดับชุมชน ๑๐๓ แห่งเพื่อช่วยเป็นตาสัปรดเฝ้าระวังกลุ่มเสี่ยง การเข้าออกของประขากร การควบคุมตามกฏหมายในช่วงวิกฤต พร้อมกับสนับสนุนชุดอุปกรณ์จำเป็นในการค้นหาผู้ป่วย พร้อมกับจัดเตรียมสมุนไพรทางเลือกในการรักษา

๔.ข้อเสนอแนะจากที่ประชุม

๔.๑ การบริหารจัดการในภาวะวิกฤต ผู้นำทน.หาดใหญ่จำเป็นต้องตัดสินใจให้รวดเร็ว เหมาะสมกับสถานการณ์ อย่าให้เกิดภาวะเสียความเชื่อมั่นแบบที่รัฐบาลเป็นอยู่ โดยเฉพาะช่วงเวลาสำคัญในเดือนนี้ หากจำเป็นที่จะต้องบูรณาการงบ หรือประสานความร่วมมือเพื่อช่วยกันแก้ปัญหา เพื่อช่วยเติมเต็มหรือลดทอนสิ่งที่เกินศักยภาพของเทศบาลหรือกฏหมายระเบียบต่างๆไม่เอื้ออำนวย ทีมงานจะต้องสื่อสารอย่างเร่งด่วนชัดเจน

-การจัดการเชิงรุก จำนวนประชากรที่อยู่ในเป้าหมายที่จะต้องคัดกรอง

-การดูแลประชากรแฝงที่อาจจะมากกว่าประชากรในทะเบียนบ้าน

-การจัดการในช่วงเวลารอบทเรียนจากชุมชนนำร่อง ควบคุมสถานการณ์ไม่ให้เกิดการแพร่ระบาดไปอย่างรวดเร็วของเชื้อกลายพันธ์ุ ๑:๖-๘ คน

-จำนวนอุปกรณ์ที่ใช้ ATK ชุดตรวจ ยา วัคซีน

๔.๒ การสื่อสารทางสังคม ถึงเวลาแล้วที่จะต้องสื่อสารความจริงให้ประชาชนรับรู้ ยอมรับและมีส่วนร่วมในการแก้ปัญหาด้วยกัน โดยประสานความร่วมมือทั้งสื่อของทน.หาดใหญ่และสื่อมืออาชีพในพื้นที่ ช่วยกันกลั่นกรองข่าวสารความจริงมานำเสนอ ประเมินสถานการณ์และสื่อสารเป็นระยะ

๔.๓ เป็นข้อเสนอแนะเพิ่มเติม จัดตั้งทีมประเมินสถานการณ์อำเภอหาดใหญ่ จากผู้เชี่ยวชาญแต่ละด้าน ช่วยประเมินอนาคต วางระบบ เสริมให้กับสสอ.หาดใหญ่ นำไปขับเคลื่อนกับหน่วยงานต่างๆ ที่ยังแยกส่วนและมีข้อจำกัดเรื่องระเบียบปฏิบัติ หรือมองไม่รอบด้านทั้งระบบสุขภาพ เศรษฐกิจ สังคม ลดการเสียชีวิต ในภาพระดับอำเภอที่อปท.แต่ละแห่งควรทำงานสอดประสานกัน


วันที่ ๘ สิงหาคม ๒๕๖๔

"Road Map หาดใหญ่"

ทีมอาสาจากภาคเศรษฐกิจ สาธารณสุข สังคม ร่วมประเมินสถานการณ์ มองภาพอนาคตเพื่อรับมือโควิดในพื้นที่หาดใหญ่ มีข้อสรุปสำคัญ จะเป็นร่างข้อเสนอแนะ ภายใต้สถานการณ์ฺที่ระบบสาธารณสุขรับมือเต็มกำลังแล้ว เตียงสำหรับผู้ป่วยหนักของรพ.และรพ.สนามไม่เหลืออีกแล้ว วัคซีนจำเป็นต้องเน้นในกลุ่ม ๖๐๗ หรือ๖๐๘ คือ ผู้มีอายุ ๖๐ ปีขึ้นไปและกลุ่มโรคเรื้อรัง ๗-๘ กลุ่มโรค

ขณะที่ด้านเศรษฐกิจรอวันนับถอยหลัง และด้านสังคมมีผู้ต้องการความช่วยเหลือในปัจจัย ๔ เพิ่มขึ้นทวีคูณ และมองตรงกันว่าโควิดยังจะอยู่กับเราอีกยาวนาน จำเป็นจะต้องเปลี่ยนแนวคิดให้สามารถอยู่ร่วมกับโควิดให้ได้

วิเคราะห์ฺกลุ่มเสี่ยงซึ่งปัจจุบันยังเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยสัมพันธ์กันทั้งผู้ป่วยจากคลัสเตอร์โรงงานขนาดใหญ่ กลุ่มที่เดินทางกลับบ้าน นำเชื้อไปสู่ครอบครัว ชุมชน และได้รับเชื้อกลับไปกระจายในโรงงาน ขณะที่การคัดกรองเชิงรุก ในชุมชนบ้านพักรถไฟ พบผู้ป่วยเพียง ๖ คนจากการตรวจ ๖-๗00 คน จำเป็นต้องตรวจสอบผลการตรวจจากชุดตรวจ ATK ก่อนที่จะดำเนินการต่อไป

๑.ภาพอนาคตที่อยากเห็น : หาดใหญ่ต้องรอด ทุกคนช่วยกัน บนพื้นฐานกติกาเดียวกัน

เป้าหมาย : ลดการเสียชีวิต เปิดเมือง เศรษฐกิจเดินได้ กลุ่มเปราะบางได้รับการดูแล

๒.ขั้นตอนดำเนินการ

๒.๑ เมืองควรทบทวนนิยาม "ผู้ติดเชื้อ" ว่าคือใคร ระดับความเสี่ยง การป้องกัน รักษาเป็นอย่างไร เพื่อให้สามารถรับผิดชอบตัวเองได้ และมีระบบที่สามารถช่วยเหลือได้ทันที

-ความรู้พื้นฐานที่จำเป็น อันเป็นวิถีชีวิตใหม่ที่จะต้องอยู่ร่วมกับโควิด New Normal สำหรับประชาชน ชุมชน สถานประกอบการ โรงแรม ร้านค้า โรงเรียน ฯลฯ ที่จะต้องเป็นกติกายึดถือปฎิบัติ ช่วยกันควบคุมกันเอง

-คัดกรองค้นหาจุดเสี่ยงสำคัญ ชี้เป้าดำเนินการ ลดการใช้บุคลากร ทรัพยากร

-หนุนเสริมระบบ CI หรือศูนย์พักคอย และ HI สำหรับดูแลผู้ป่วยสีเขียวที่บ้าน สร้างความรับรู้กับประชาชนให้ยอมรับถึงความจำเป็นจะต้องมี

-สมาคมคนจีนและกงศุลจีนช่วยกันจัดหาวัคซีนเพิ่มเติม

-ระบบสนับสนุน อำนวยความสะดวกให้สามารถตรวจเชื้อคัดกรองโควิดด้วยตนเองของเมือง มีศูนย์ปฎิบัติการเฉพาะกิจของเมืองที่สื่อสารกับสังคมให้ทันกับสถานการณ์ ใช้ประโยชน์จาก IT และเทคโนโลยี

-วิจัยเชิงผลกระทบด้านเศรษฐศาสตร์ของเมือง

๒.๒ เมืองควรตัดสินใจร่วมกัน พลิกวิกฤตเป็นโอกาส สร้างแบรนด์ใหม่ของหาดใหญ่ เป็นเมืองปลอดภัยสำหรับนักท่องเที่ยว ร่วมผลักดัน Hatyai sandbox

-How to จะเปิดเมืองกันช่วงไหน อย่างไร แต่ละคน ประชาชน ชุมชน เอกชน ราชการ จะต้องทำอะไรกันบ้าง

-สร้างตลาดในรูปแบบใหม่ของท้องถิ่น ที่สามารถอยู่ร่วมกับโควิดได้ ร้านค้า สถานประกอบการมีการคัดกรองตัวเอง มีระบบตรวจสอบภายใน และสื่อสารร่วมกันกับสังคม มีระบบiT และเชื่อมโยงกับความเป็น SMARTCITY สนับสนุนผู้ประกอบการท้องถิ่น หนุนเสริมPlatform ของท้องถิ่นที่มีผู้บุกเบิกเอาไว้(สมาพันธ์เอสเอ็มอีสงขลา) ส่งตรงอาหารและเชื่อมโยงกับระบบ HI(Home Isolation) ที่มี Application ที่คณะแพทย์มอ.พัฒนาขึ้น

-สร้างกองทุนกลางของเมือง ช่วยเหลือเยียวยากลุ่มเปราะบาง โดยเฉพาะปัจจัย ๔ มีระบบคัดกรองผู้ที่จำเป็นต้องช่วยเหลือ

๓.ทีมประเมินอาสา จะช่วยกันเติมเต็ม ช่วยกันเสนอแนะเชิงนโยบายร่วมกับสาธารณสุขอำเภอ/จังหวัด

-เพิ่มคน เพิ่มทีมให้ครอบคลุมองค์ประกอบหน่วยงานที่สำคัญ

-พัฒนาฐานข้อมูลที่จำเป็นประกอบการวิเคราะห์และสื่อสารกับสังคม ให้มีข้อเท็จจริงรองรับ


วันที่ ๑๒ สิงหาคม ๒๕๖๔

"ภาคเอกชน ภาคประชาสังคมจับมือผลักดัน หาดใหญ่ Sandbox"

ทีมอาสาจากสายสุขภาพ(รพ.หาดใหญ่ มอ.สสอ.) เศรษฐกิจ(หอการค้า สมาคม สมาพันธ์ SME สมาคมโลจิสติกและขนส่ง) สังคม(มอ. สมาคมอาสาสร้างสุข มูลนิธิชุมชนสงขลา) เมืองหาดใหญ่ร่วมกันประเมินสถานการณ์ ระดมแนวคิด ความร่วมมือเสริมหนุนการทำงานของสสอ.หาดใหญ่ในการรับมือโควิดระลอก ๔

๑.สถานการณ์การแพร่ระบาด ภาพรวมระดับจังหวัดตั้งแต่เมษายนจนถึงปัจจุบันมีผู้เสียชีวิต  ๘๒ ราย อยู่ในหาดใหญ่ ๒๐ รายเฉลี่ยเดือนละ ๔-๕ คนต่อเดือน โดยอยู่ในกลุ่มอายุเกิน ๖๐ และเป็นกลุ่มเสี่ยง ๗ โรคอันตราย และไม่ได้ฉีดวัคซีน การแพร่เชื้อปัจจุบันอยู่ในระดับครอบครัว สถานที่ทำงาน และเริ่มพบกลุ่มผู้ป่วยที่สอบสวนโรคแล้วไม่ทราบว่าติดเชื้อมาจากไหน ขณะที่การตรวจเชื้อเชิงรุกในพื้นที่ชุมชนแออัด ๒ แห่งพบว่า มีผู้ติดเชื้อน้อย ประเมินได้ว่ากลุ่มเสี่ยงส่วนใหญ่ได้ถูกนำเข้าสู่ระบบการรักษาแล้ว

ทีมประเมินสถานการณ์ว่าภายใน ๒ ปี เรายังต้องอยู่กับโควิด ดังนั้นจำเป็นต้องปรับแนวคิดการจัดการ

๒.มาตรการสำคัญ

๒.๑ ด้านสาธารณสุข ลดการสูญเสีย โดยเฉพาะผู้ป่วยเหลือง-แดง ก็คือการจัดหาวัคซีนให้เพียงพอ คัดกรองหากลุ่มเสี่ยงให้มากขึ้น ปัจจุบันกล่าวได้ว่าหาดใหญ่ยังไม่มีปัญหาในด้านงบประมาณ ส่วนสถานที่บริการศูนย์พักคอย ก็มีเพิ่มมากขึ้น

๒.๒ หาดใหญ่ Sandbox เปิดเมืองให้เศรษฐกิจเดินหน้า ด้วยแนวทาง

๑)กำหนดตัวชี้วัด ที่บอกได้ว่าสามารถเปิดเมืองให้ประชาชนอยู่ร่วมกับโควิดได้อย่างปลอดภัย โดยดูบทเรียนของประเทศมาเลเซีย สิงคโปร์ ที่จะดูร่วมกันระหว่างผู้ป่วยเหลือง แดง ผู้ได้รับวัคซีน และการติดเชื้อของประชาชน

๒)จัดให้เมืองมี ATK Center ที่อาจดำเนินการโดยภาคเอกชน เปิดบริการให้คนหาดใหญ่หรือนักท่องเที่ยวมาใช้คัดกรองตัวเอง ขณะที่ยังหาวัคซีนไม่ได้ หากพบว่าปลอดโควิด ให้มี Health profile ประจำตัว สามารถเข้าใช้บริการในสถานที่สาธารณะ ร้านอาหาร ร้านค้า สถานประกอบการต่างๆ

พร้อมออกมาตรการสร้างแรงจูงใจให้กลุ่มเสี่ยงที่ยังไม่ไปกักตัว โดยพัฒนารูปแบบการให้บริการที่จะดึงกลุ่มเสี่ยงออกมา เช่น เพิ่มความสะดวกสบายในการเข้าพัก สามารถเข้าถึงความช่วยเหลือจากราชการในด้านต่างๆมากขึ้น

๓)ให้มีสถานประกอบการตัวอย่าง ที่มีมาตรการ New Normal ทั้งในส่วนผู้ประกอบการและลูกค้าที่มาใช้บริการ เป็นsector sandbox นำร่องเป็นตัวอย่าง เพื่อให้สังคมเห็นว่าเมืองสามารถจัดการตนเองได้ โดยจัดทำเป็นโครงการและรับสมัครผู้ประกอบการที่ต้องการเข้าร่วม ซึ่งปัจจุบันแต่ละสถานประกอบการเริ่มจัดทำมาตรการออกมา และจะเริ่มดำเนินการในเร็วๆนี้

พร้อมปรับมาตรการ Bubble and Seal ลดการแพร่เชื้อในโรงงาน โรงเรียน เช่น จัดกลุ่มการทำงานให้อยู่แต่ในกลุ่่มเดียวกันใช้สีหมวก ลดจำนวนการรวมกลุ่ม แยกกลุ่ม

รวมถึงสร้างความรู้การอยู่กับโควิดในชีวิตประจำวันส่งต่อไปถึงประชาชน ระดับบุคคล ครอบครัว และกลุ่มต่างๆ เช่น โรงเรียนผ่านกลุ่มไลน์ผู้ปกครอง อสม. โดยทีมอาสาสมัคร

หากสามารถผลักดันแนวคิดนี้สู่สังคมร่วมกันได้ จะทำให้เกิดภาพลักษณ์เมืองหาดใหญ่ที่แตกต่างไป กลายเป็น Healthcity ไปในที่สุด

๔)ลดความเหลื่อมล้ำในกลุ่มผู้ประกอบการหรือประชาชนที่ไม่มีความพร้อม "จนแจ็กๆ" ด้วยการจัดตั้งกองทุนเพื่อช่วยเหลือ ดูแล ทั้งกลุ่มผู้ประกอบการ กลุ่มนักเรียน กลุ่มประชากรยากจน เปราะบาง

๕)มีศูนย์ปฏิบัติการ/ทีมประเมินสถานการณ์ของเมืองในลักษณะ Data center รวบรวมข้อมูลข่าวสารสื่อสารสังคมทันสถานการณ์ สามารถอาศัย Platformท้องถิ่น ของ onechat ที่สมาพันธ์ Sme ร่วมพัฒนาขึ้นในการบันทึกข้อมูล เชื่อมโยงกับสาธารณสุข ร้านค้า สถานประกอบการต่างๆ

๖)การสื่อสารทางสังคม ทางมหาวิทยาสงขลานครินทร์ร่วมกับ YEC สนับสนุนให้เกิดอาสาสมัคร นำทีม ๑ ตำบล ๑ มหาวิทยาลัยมาช่วยสื่อสารทางสังคมถึงมาตรการ ความรู้ต่างๆที่จะทำให้ประชาชนอยู่ร่วมกับโควิดได้อย่างปลอดภัย

๗)ศึกษาผลกระทบด้านเศรษฐกิจ สังคม จากสถานการณ์โควิดในกลุ่มเสี่ยงสำคัญ ได้แก่ การท่องเที่ยวและธุรกิจเกี่ยวเนื่อง กลุ่ม SME ศูนย์การค้า เพื่อนำข้อมูลไปประกอบการตัดสินใจเชิงนโยบาย ปัจจุบันทางหอการค้าจับมือกับคณะเศรษฐศาสตร์มอ.กำลังพัฒนาแบบสอบถามประกอบการวิจัย

นับเป็นโจทย์ที่ท้าทายยิ่ง และต้องการความร่วมแรงร่วมใจ ช่วยกันทุกฝ่าย หลังจากนี้แต่ละทีมแยกกันไปทำรายละเอียด จัดทำแผนปฎิบัติการ มาหารือร่วมกันพร้อมกับประสานภาคีที่ต้องการเข้าร่วม นำไปสู่การผลักดันให้เกิดผลต่อไป


วันที่ ๑๙ สิงหาคม ๒๕๖๔

ทีมอาสาสรุปผลการหารือเพื่อเสนอแนะการขับเคลื่อนหาดใหญ่ Sandbox รอบนี้มีทีมของหน่วยส่งเสริมงานอาสาสมัครฯของมอ.มาร่วมด้วย

๑)แนวโน้มการล็อคดาวน์ทั่วประเทศจะทำได้ไม่นาน ถึงที่สุดจำเป็นที่จะต้องเปิดให้มีกิจกรรมทางเศรษฐกิจ และปรับแนวทางให้ประชาชนอยู่ร่วมกับโควิดอย่างปลอดภัย ที่ใดเตรียมความพร้อมก่อนก็จะสามารถปรับตัวเองรองรับกิจกรรมดังกล่าวได้อย่างรวดเร็ว

คาดว่าจะมีคณะกรรมการฯระดับจังหวัดขึ้นมาเพื่อที่จะพิจารณาบริหารจัดการพื้นที่ในลักษณะที่กระจายอำนาจการตัดสินใจและใช้ข้อมูลการแพร่ระบาดในพื้นที่กำหนดนโยบายมากขึ้น

๒)การเตรียมความพร้อมเช่นนี้สามารถทำได้หลายสถานประกอบการ เพื่อให้แต่ละส่วนสัมพันธ์ไปด้วยกัน เพียงแต่นำจุดที่พร้อมที่สุดของแต่ละส่วนมานำร่อง การปรับตัวเช่นนี้จะส่งผลให้เมืองหาดใหญ่ปรับตัวเองเป็นเมือง Health city ไปได้ไม่ยาก

๓)การให้มี ATK center ทางสปสช. สสจ. ได้หารือกันที่จะให้ร้านขายยาเป็นผู้ดำเนินการ เป็นจุดบริการ

๔)แนวทางเมืองหาดใหญ่ ในขั้นเตรียมความพร้อม ตั้งเป้าไว้จะเปิดเมืองราว ๑ ตุลาคม ๒๕๖๔ ระหว่างนี้การดำเนินงาน

๔.๑ ทีมสสอ.และสาธารณสุข กำหนดเงื่อนไขที่จะให้ผู้ประกอบการและสถานประกอบการนำร่อง ส่งต่อทางหอการค้าจะประสานภาคเอกชนสมัครเข้าร่วมดำเนินการ โดยมีคุณสมบัติเป็นผู้มีความพร้อมสูงสุด

-เงื่อนไขพื้นฐานได้แก่ สถานประกอบการนั้นผู้ให้บริการ/สมาชิกจะต้องผ่านการฉีดวัคซีน ๒ เข็ม และสามารถตรวจ ATK สัปดาห์ละครั้ง พร้อมกับสามารถระบุ Healthprofile ผ่านระบบ Appที่จะต่อยอดหลาย Platform ที่มีในพื้นที่มาดำเนินการร่วมกัน และอื่นๆที่เหมาะสม หากพบผู้ติดเชื้อจะต้องปิดและฉีดพ่นฆ่าเชื้อ

-ประชาชนที่พร้อมเข้าใช้บริการ ทั้งกรณีผ่านการฉีดวัคซีนหรือตรวจ ATK ภายใน ๓ วัน

คาดว่าจะมีกลุ่ม "สีเขียว" ทั้งฟากสถานประกอบการ และประชาชน ราว ๒๐,๐๐๐ คน ที่จะเป็นกลุ่มเป้าหมายของหาดใหญ่ Sandbox ในระยะแรก

๔.๒ ระบบสนับสนุน ทีมโปรแกรมเมอร์ของแต่ละส่วนหารือเชื่อมโยงข้อมูล จัดระบบข้อมูล ที่จะต้องติดตามตรวจสอบความเคลื่อนไหวของสถานประกอบการ ประชาชนที่เข้าใช้บริการแบบ Realtime ปัจจุบันมีAppของ onechat ที่ประสานความร่วมมือกับAppของคณะแพทย์ศาสตร์มอ.ในการดูแลผู้ป่วยที่บ้าน(HI) ทีมจะไปจัดระบบและดูเรื่องการเข้าถึงข้อมูลส่วนบุคคล มีกรรมการเฉพาะควบคุม ระบบนี้จะต้องเชื่อมโยงกับร้านขายยา เพื่อให้ร้านขายยาเป็นผู้ลงประวัติ Health flofile ที่จำเป็น(สถานะของบุคคลเขียว เหลือง แดง) หากพบผู้ป่วยก็สามารถส่งต่อไปสู่ระบบ รพ.เพื่อการรักษา หรือ CI,HI ต่อไป แต่ละจุดที่จะให้บริการจะต้องมีระบบติดตามและนำเสนอข้อมูลเหล่านี้ โดยมีทีมกลางคอยติดตามควบคุมอย่างใกล้ชิด

๔.๓ สื่อสารทางสังคม ทีมจากหอการค้า YEC ทีมอาสาสมัครจากมอ.จะร่วมกันสื่อสารการรับรู้กับประชาชน

๔.๔ ผลักดันเชิงนโยบาย โดยประสานผู้บริหารทน.หาดใหญ่ เข้าไปสู่คณะกรรมการควบคุมโรคระดับจังหวัด โดยเชิญผู้ที่เกี่ยวข้องมาร่วมหารืออย่างไม่เป็นทางการ เพื่อให้เกิดการสื่อสารสร้างความเข้าใจก่อนขั้นตอนที่เป็นทางการ

๔.๕ เรื่องเสริมอื่นๆ ทางหอการค้าอนุมัติงบเบื้องต้นในการเก็บข้อมูลผลกระทบทางเศรษฐกิจของผู้ประกอบการในสงขลา


วันที่ ๒๔ สิงหาคม ๒๕๖๔

ทีมอาสาของเมือง หารือนัดที่ ๓ ร่วมผลักดันแนวทางการเปิดเมืองปลอดภัย ให้เมืองสามารถอยู่ร่วมกับโควิดอย่างปลอดภัยและเปิดเมืองให้เศรษฐกิจเดินหน้าได้ เคาะวันเข้าพบผู้ว่าเพื่อเสนอแนวทางและขอคำแนะนำ

๑.ใช้แนวทางตามมาตรฐานความปลอดภัยด้านสุขอนามัย(Amazing Thailand safety&Health Administration) หรือ SHA ในการคัดกรองสถานประกอบการที่มีความพร้อมจะนำร่องมาตรการดังกล่าว ซึ่งมีรายละเอียดสถานประกอบที่ได้รับมาตรฐาน SHA ในสงขลาแล้วและมีแนวโน้มจะเริ่มดำเนินการได้ จำแนกเป็น

-ร้านอาหารและภัตตาคาร ๕๕ แห่ง -โรงแรม ที่พัก โฮมสเตย์ ๖๔ แห่ง -บริษัทนำเที่ยว ๑๓ แห่ง -นันทนาการและสถานที่ท่องเที่ยว ๙ แห่่ง -ร้านค้าของที่ระลึก ๖ แห่ง -สุขภาพ ความงาม ๗ แห่ง -ศูนย์การค้า ๖ แห่ง -สถานที่จัดประชุม/กิจกรรม โรงละคร ๒ แห่ง

๒.การคัดกรองสถานะสุขภาพ(Health profile)ในส่วนผู้ใช้บริการ เจ้าหน้าที่ พนักงาน สถานประกอบการ จะต้องผ่านการฉีดวัคซีนอย่างน้อย ๒ เข็ม และมีผลการตรวจเชิงรุก ATK ในรอบ ๗๒ ชั่วโมง( กรณีใกล้ชิดกลุ่มเสี่ยงต้องตรวจซ้ำ)

-เมืองจะต้องมีจุดบริการ หรือเชื่อมโยงการบริการตรวจ ATK พร้อมผู้เชี่ยวชาญหรือผู้ผ่านการอบรมจนมั่นใจได้ว่าสามารถใช้อุปกรณ์อย่างถูกต้องและสามารถบันทึกสถานนะสุขภาพลงใน Application onechat (บริษัท inetและสมาพันธ์ SME สงขลารับผิดชอบ) ประกอบด้วยศูนย์สาธารณสุข ทน.สงขลา ๔ มุมเมือง ร้านขายยา ห้อง lab เป็นต้น ระบบจะรายงานผลแบบ realtime มีผู้ติดตามเฝ้าระวังและส่งต่อข้อมูลจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกรณีพบผู้ติดเชื้อ

-คงมาตรการเว้นระยะห่างทางสังคม สวมหน้ากาก ล้างมืออย่างเข้มงวดต่อไป

-กลุ่มผู้ใช้บริการ จะประกอบด้วย

๑)คนหาดใหญ่ คนในพื้นที่จังหวัดใกล้เคียง

๒)นักท่องเที่ยวที่พักระยะสั้น

๓)นักท่องเที่ยวที่มากับบริษัทนำเที่ยว

๓.นัดหมายเข้าพบนายกเทศมนตรีนครหาดใหญ่ และเข้าพบผู้ว่าราชการจังหวัดภายในวันศุกร์ เพื่อผลักดันแนวทางดังกล่าว ให้มีผลสู่การปฎิบัติ พร้อมกับผลักดันมาตรการเข้าสู่ ศคบ.ที่กำลังจะมีนโยบายเปิดประเทศ


วันที่ ๒๖ สิงหาคม ๒๕๖๔

"หาดใหญ่ sand box"

หลังหารือกันมาหลายรอบ เครือข่ายเมืองเข้าพบกับ นายสาคร ทองมุณี นายกเทศมนตรีนครหาดใหญ่ เตรียมตัวก่อนเข้าพบกับผู้ว่าราชการจังหวัดต่อไป

แนวคิดการเตรียมพร้อมเพื่อเปิดเมืองให้เศรษฐกิจเดินหน้าได้ ขณะเดียวกันก็มีมาตรการป้องกัน ให้สามารถรับมือการแพร่เชื้อของโควิดไปด้วย ทำให้คนปลอดภัยอยู่ในเมืองที่ปลอดภัย เมืองใหญ่แต่ละแห่งใครเตรียมพร้อมก่อน เมื่อมีนโยบายเข้ามาจะทำให้เมืองก้าวไปข้างหน้าได้อย่างมั่นคงแข็งแรง

นายกเทศมนตรีนครหาดใหญ่ ให้คำยืนยันพร้อมเดินร่วมกับภาคีเครือข่ายต่างๆ ในการนำเมืองหาดใหญ่เตรียมตัว และรับแนวคิดแนวทางที่แต่ละองค์กรความร่วมมือเข้ามานำเสนอ พร้อมกับบอกเล่าแนวทางของเทศบาลที่ได้ทำงานอยู่ตลอดเวลาในการจัดหาวัคซีน การตรวจเชื้อเชิงรุกในชุมชนแออัด การทำศูนย์พักคอย พร้อมกับชี้แนวโน้มอนาคต ๓ ปีข้างหน้าระบบเศรษฐกิจของประเทศมีเงินหายไปจากระบบราว 2.6 ล้านๆบาท มีคนตกงานเพิ่มขึ้น และต้องมีมาตรการพยุงเศรษฐกิจและสังคม

ที่ประชุมได้ร่วมรับรู้แนวทางการเปิดเมือง หาดใหญ่ sand box ที่จะเน้นการมีวัคซีน การใช้ Healthprofile และ ATK ในการคัดกรอง และใช้ AI ในการติดตามตรวจสอบการติดเชื้อ แพร่เชื้อ และรายงานสาธารณะ รวมถึงให้ข้อเสนอแนะที่เป็นประโยชน์ต่อการผลักดันเชิงนโยบายไปยังคณะกรรมการระดับจังหวัด/ระดับชาติ และสร้างความร่วมมือในการพัฒนาระบบเมืองมารองรับการแก้ปัญหาที่มีแนวโน้มจะกระทบต่อเนื่องระยะยาว

ทั้งหมดนี้จะดำเนินการคู่ขนานกันไปกับทิศทางของศคบ.ที่จะทยอยปลดล็อคการปิดเมือง ในส่วนบางสถานประกอบการ โดยชี้ให้เห็นว่านโยบายดังกล่าวจำเป็นจะต้องมีมาตรการคู่ไปด้วย

หลังจากนี้นายกฯจะร่วมกับทีมเข้าพบผู้ว่าราชการจังหวัดวันศุกร์นี้เดินหน้าแนวทางหาดใหญ่ sand boxต่อไป

หมายเหตุ ร่วมดำเนินการโดย หอการค้าจังหวัดสงขลา สภาอุสาหกรรมท่องเที่ยวจังหวัดสงขลา สภาอุตสาหกรรม สมาคมอสังหาริมทรัพย์ สมาคมร้านอาหารและเครื่องดื่มจังหวัดสงขลา สมาคมสมาพันธ์ธุรกิจการท่องเที่ยวจังหวัดสงขลา สมาพันธ์เอสเอ็มอีไทยจังหวัดสงขลา สมาคมโลจิสติกส์และขนส่งภาคใต้ สมาคมโรงแรมหาดใหญ่ สมาคมนักธุรกิจมุสลิมสงขลา สมาคมการท่องเที่ยวฮาลาลไทย อาเซี่ยน สมาคมสตรีนักธุรกิจและวิชาชีพแห่งประเทศไทยในพระบรมราชินูปถัมภ์จังหวัดสงขลา สสอ.หาดใหญ่ คณะแพทย์ มอ.หาดใหญ่ มอ.หาดใหญ่ รพ.หาดใหญ่ ชมรมร้านขายยาจังหวัดสงขลา และ ชมรมเภสัชกรชุมชนจังหวัดสงขลา สมาคมอาสาสร้างสุข มูลนิธิชุมชนสงขลา คณะกรรมการเขตสุขภาพเพื่อประชาชนเขต 12 (กขป.)


วันที่ ๒๗ สิงหาคม ๒๕๖๔

ผู้ว่าเห็นชอบให้เดินหน้าต่อ

ภาคีเครือข่ายภาคเอกชน ประชาสังคม และนายกทน.หาดใหญ่ เข้าพบผู้ว่าผลักดันการเปิดเมืองตามแนวทางหาดใหญ่ Sandbox ผู้ว่าให้รีบเสนอคณะทำงาน มาตรการต่างๆ ส่วนจะเป็นหาดใหญ่ Sandbox หรือชื่อไรนั้นต้องตามต่อไป ภายใต้แนวคิดเปิดเมืองปลอดภัยอย่างยั่งยืน


วันที่ ๒๘ สิงหาคม ๒๕๖๔

"หาดใหญ่ sandboxplus"

ประชุมทีมอาสาเมืองครั้งที่ ๔ หารือรูปแบบคณะกรรมการที่จะเสนอผู้ว่าแต่งตั้ง มีข้อสรุปดังนี้

๑)ชื่อคณะกรรมการ ระยะแรกยังคงยึดแนวคิดการทำ Sand box เป็นหลักเพื่อจะเป็นจุดทดสอบมาตรการต่างๆที่จะใช้กับเมืองหาดใหญ่ ทั้งในส่วนมาตรการที่ศบค.กำหนดมาและจะใช้เปิดเมืองตั้งแต่ ๑ กย.เป็นต้นไป แต่ทำให้เห็นความแตกต่างว่า จะมีเป้าหมายเพื่อความยั่งยืน ลดผลกระทบที่อาจจะมีการปิดเมืองตามมาหากว่ามาตรการผ่อนคลายของศบค.มีความหละหลวมในทางปฎิบัติ การทำหาดใหญ่ sand box จะช่วยยกระดับมาตรการผ่อนคลายพร้อมกับมาตรการควบคุมดูแลอย่างใกล้ชิด และจะผลักดันไปยังศบค.อีกทางหนึ่งด้วย เพื่อให้สามารถต่อรองวัคซีนเข้าสู่พื้นที่ในอนาคต ส่วนชื่ออื่นที่ทีม YEC ช่วยคิดมา จะใช้ในระยะต่อไป หากพื้นที่หาดใหญ่ Sandbox ประสบความสำเร็จ

๒)พื้้นที่หลักที่จะดำเนินการ คือทน.หาดใหญ่ก็จริง แต่จะสัมพันธ์กับเทศบาลใกล้เคียงไปด้วย คือ คอหงส์ ควนลัง คลองแห ขอบเขตเมืองจะรวมไปด้วย ยึดถือความเป็นจริงตามบริบทพื้นที่ เช่น กรณีนักท่องเที่ยวมาพักหาดใหญ่ แต่ไปเที่ยวตลาดน้ำคลองแห เป็นต้น มิติความสัมพันธ์เช่นนี้เมืองใหญ่จะมีไม่ต่างกัน และต่างจากภูเก็ตsandbox ที่เน้นรับนักท่องเที่ยว สกรีนที่ต้นทาง แต่หาดใหญ่สกรีนปลายทางหากทำหาดใหญ่สำเร็จ จะเป็นตัวอย่างไปใช้กับเมืองอื่นๆได้อีกมาก

๓)คณะกรรมการจะประกอบด้วย คณะกรรมการอำนวยการเมืองหาดใหญ่ ที่มีผู้ว่าเป็นประธาน กรรมการมาจากหลายภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง และมีกรรมการยุทธศาสตร์ที่จะช่วยระดมความเห็น กำหนดทิศทางเสนอสู่กรรมการอำนวยการ และมีคณะทำงานแต่ละด้านแยกย่อยออกมา เช่น คณะทำงานประชาสัมพันธ์ คณะทำงาน iT และฐานข้อมูล คณะทำงานควบคุมบังคับใช้กฏหมาย คณะทำงานติดตามประเมินผล ฯลฯ

ดร.ไพโรจน์ ชัยจีรธิกุลจะยกร่างและนำมาให้คณะทำงานพิจารณาอีกครั้งในวันอาทิตย์ที่ ๒๙ สิงหาคม เวลา ๑๘.๐๐ น. ก่อนที่จะส่งให้สนง.จังหวัดพิจารณา และร่วมนำเสนอในคณะกรรมการกรอ.จังหวัดต่อไป

ทั้งนี้การทำงานจะเริ่มดำเนินการคู่ขนานกันไป ทั้งเสนอกรรมการ ทั้งในส่วนรับสมัครผู้ประกอบการที่มีความพร้อม เพื่อให้ทันกับการเปิดเมืองตามนโยบายของ ศบค.


วันที่ ๒ กันยายน ๒๕๖๔

เข้าร่วมประชุมคณะกรรมการร่วมภาครัฐและเอกชนเพื่อพัฒนาและแก้ไขปัญหาทางเศรษฐกิจจังหวัดสงขลา เพื่อผลักดันแนวคิด หาดใหญ่ sandboxplus พร้อมกับด่านนอก sandbox

๑.ที่ประชุมอภิปรายกันอย่างกว้างขวาง โดยรวมเห็นด้วยในเชิงหลักการแต่มีข้อสังเกตุหลายประการ ที่ต้องการให้ทีมเล็กไปดำเนินการต่อกับสนง.จังหวัด และใช้เวลาในการพูดคุยสร้างความเข้าใจต่อกัน อาทิ ชื่อ sandbox ต้องสื่อสารทางสังคมให้ชัดเจนว่าแตกต่างจากภูเก็ตอย่างไร รวมไปถึงกลุ่มเป้าหมายที่ต้องการให้มาคือใคร อย่างไร

๒.แนวคิดของหาดใหญ่ sandbox plus เน้นการสร้างเมืองปลอดภัยให้คนที่ปลอดภัย สร้างเมือง SMRAT&CLEAN คัดกรองผู้ติดเชื้อปลายทาง และควบคุมด้วย AI ให้ทุกคนสามารถเข้าถึงวัคซีน ในส่วนขอบเขตนั้นใช้สถานที่ของสถานประกอบการที่เข้าร่วมเป็นขอบเขตของ Sandbox ระยะแรกรับสมัครสถานประกอบการที่มีความพร้อมที่สุด เป็นต้นแบบในการใช้มาตรการรองรับความปลอดภัยที่จะสูงกว่า มาตรการที่ศบค.ประกาศ และใช้กันในปัจจุบันซึ่งประเมินกันแล้วว่าอาจจะทำให้เกิดการปิดเมืองซ้ำได้อีก ที่สำคัญ คณะทำงานต้องการเปิดเมืองอย่างยั่งยืน หากทดสอบแล้วว่าชุดแรกสำเร็จ จะขยายผลเพิ่มสถานประกอบการต่อไป

๓.การนำเสนอกรอ.เพื่อขอการสนับสนุนให้ส่งต่อความต้องการไปยังศบค.ในส่วนของการขอสนับสนุนวัคซีนและATK เพื่อเป้าหมายการลดการเสียชีวิต เศรษฐกิจเดินหน้าได้ กลุ่มเปราะบางได้รับการดูแล สร้างความเป็นธรรมลดความเหลื่อมล่้ำในการเปิดบริการ

personมุมสมาชิก

เยือนอเมริกา ดูงานมูลนิธิชุมชน

เยือนอเมริกา ดูงานมูลนิธิชุมชน.

เครือข่าย

เครือข่ายมูลนิธิชุมชน