"หาดใหญ่ sandbox"(2)
"หาดใหญ่ sandbox"(ต่อ)
วันที่ 19 สิงหาคม 2564 ทีมอาสาสรุปผลการหารือเพื่อเสนอแนะการขับเคลื่อนหาดใหญ่ Sandbox รอบนี้มีทีมของหน่วยส่งเสริมงานอาสาสมัครฯของ ม.อ. มาร่วมด้วย
๑)แนวโน้มการล็อคดาวน์ทั่วประเทศจะทำได้ไม่นาน ถึงที่สุดจำเป็นที่จะต้องเปิดให้มีกิจกรรมทางเศรษฐกิจ และปรับแนวทางให้ประชาชนอยู่ร่วมกับโควิดอย่างปลอดภัย ที่ใดเตรียมความพร้อมก่อนก็จะสามารถปรับตัวเองรองรับกิจกรรมดังกล่าวได้อย่างรวดเร็ว
คาดว่าจะมีคณะกรรมการฯระดับจังหวัดขึ้นมาเพื่อที่จะพิจารณาบริหารจัดการพื้นที่ในลักษณะที่กระจายอำนาจการตัดสินใจและใช้ข้อมูลการแพร่ระบาดในพื้นที่กำหนดนโยบายมากขึ้น
๒)การเตรียมความพร้อมเช่นนี้สามารถทำได้หลายสถานประกอบการ เพื่อให้แต่ละส่วนสัมพันธ์ไปด้วยกัน เพียงแต่นำจุดที่พร้อมที่สุดของแต่ละส่วนมานำร่อง การปรับตัวเช่นนี้จะส่งผลให้เมืองหาดใหญ่ปรับตัวเองเป็นเมือง Health city ไปได้ไม่ยาก
๓)การให้มี ATK center ทางสปสช. สสจ. ได้หารือกันที่จะให้ร้านขายยาเป็นผู้ดำเนินการ เป็นจุดบริการ
๔)แนวทางเมืองหาดใหญ่ ในขั้นเตรียมความพร้อม ตั้งเป้าไว้จะเปิดเมืองราว ๑ ตุลาคม ๒๕๖๔ ระหว่างนี้การดำเนินงาน
๔.๑ ทีมสสอ.และสาธารณสุข กำหนดเงื่อนไขที่จะให้ผู้ประกอบการและสถานประกอบการนำร่อง ส่งต่อทางหอการค้าจะประสานภาคเอกชนสมัครเข้าร่วมดำเนินการ โดยมีคุณสมบัติเป็นผู้มีความพร้อมสูงสุด
-เงื่อนไขพื้นฐานได้แก่ สถานประกอบการนั้นผู้ให้บริการ/สมาชิกจะต้องผ่านการฉีดวัคซีน ๒ เข็ม และสามารถตรวจ ATK สัปดาห์ละครั้ง พร้อมกับสามารถระบุ Healthprofile ผ่านระบบ Appที่จะต่อยอดหลาย Platform ที่มีในพื้นที่มาดำเนินการร่วมกัน และอื่นๆที่เหมาะสม หากพบผู้ติดเชื้อจะต้องปิดและฉีดพ่นฆ่าเชื้อ
-ประชาชนที่พร้อมเข้าใช้บริการ ทั้งกรณีผ่านการฉีดวัคซีนหรือตรวจ ATK ภายใน ๓ วัน
คาดว่าจะมีกลุ่ม "สีเขียว" ทั้งฟากสถานประกอบการ และประชาชน ราว ๒๐,๐๐๐ คน ที่จะเป็นกลุ่มเป้าหมายของหาดใหญ่ Sandbox ในระยะแรก
๔.๒ ระบบสนับสนุน ทีมโปรแกรมเมอร์ของแต่ละส่วนหารือเชื่อมโยงข้อมูล จัดระบบข้อมูล ที่จะต้องติดตามตรวจสอบความเคลื่อนไหวของสถานประกอบการ ประชาชนที่เข้าใช้บริการแบบ Realtime ปัจจุบันมีAppของ onechat ที่ประสานความร่วมมือกับAppของคณะแพทย์ศาสตร์มอ.ในการดูแลผู้ป่วยที่บ้าน(HI) ทีมจะไปจัดระบบและดูเรื่องการเข้าถึงข้อมูลส่วนบุคคล มีกรรมการเฉพาะควบคุม ระบบนี้จะต้องเชื่อมโยงกับร้านขายยา เพื่อให้ร้านขายยาเป็นผู้ลงประวัติ Health flofile ที่จำเป็น(สถานะของบุคคลเขียว เหลือง แดง) หากพบผู้ป่วยก็สามารถส่งต่อไปสู่ระบบ รพ.เพื่อการรักษา หรือ CI,HI ต่อไป แต่ละจุดที่จะให้บริการจะต้องมีระบบติดตามและนำเสนอข้อมูลเหล่านี้ โดยมีทีมกลางคอยติดตามควบคุมอย่างใกล้ชิด
๔.๓ สื่อสารทางสังคม ทีมจากหอการค้า YEC ทีมอาสาสมัครจากมอ.จะร่วมกันสื่อสารการรับรู้กับประชาชน
๔.๔ ผลักดันเชิงนโยบาย โดยประสานผู้บริหารทน.หาดใหญ่ เข้าไปสู่คณะกรรมการควบคุมโรคระดับจังหวัด โดยเชิญผู้ที่เกี่ยวข้องมาร่วมหารืออย่างไม่เป็นทางการ เพื่อให้เกิดการสื่อสารสร้างความเข้าใจก่อนขั้นตอนที่เป็นทางการ
๔.๕ เรื่องเสริมอื่นๆ ทางหอการค้าอนุมัติงบเบื้องต้นในการเก็บข้อมูลผลกระทบทางเศรษฐกิจของผู้ประกอบการในสงขลา
Relate topics
- จดหมายข่าวโครงการประชาสังคมร่วมแรงเพื่อเปลี่ยนแปลงเมือง (SUCCESS) ฉบับที่ 1 - 10
- ก้าวที่ 1 ของ iMedCare ธุรกิจเพื่อสังคมของสงขลา"
- "แผนผังภูมินิเวศ"
- เครือข่าย SUCCESS เมืองควนลังร่วมงานส้มโอเมืองควนลังปี 2567
- "ทีม iMedCare วิถีผู้ดูแลผู้ป่วยที่บ้าน"
- อังกฤษที่ผมเห็น ตอนที่ 11 - 21
- อังกฤษที่ผมเห็น ตอนที่ 1 - 10
- "iMed@home ระบบกลุ่ม"
- สมัชชาสุขภาพจังหวัดสงขลาชูวาระ "พลิกโฉมพลังพลเมืองสงขลาเพื่อสังคมสุขภาวะที่ยั่งยืน"
- กิจกรรมรับบริจาคโลหิตประชารัฐสงขลาประจำเดือนตุลาคม 2567