"Road Map หาดใหญ่" ก้าวผ่านโควิดไปด้วยกัน
"Road Map หาดใหญ่"
ทีมอาสาจากภาคเศรษฐกิจ สาธารณสุข สังคม ร่วมประเมินสถานการณ์ มองภาพอนาคตเพื่อรับมือโควิดในพื้นที่หาดใหญ่ มีข้อสรุปสำคัญ จะเป็นร่างข้อเสนอแนะ ภายใต้สถานการณ์ฺที่ระบบสาธารณสุขรับมือเต็มกำลังแล้ว เตียงสำหรับผู้ป่วยหนักของรพ.และรพ.สนามไม่เหลืออีกแล้ว วัคซีนจำเป็นต้องเน้นในกลุ่ม ๖๐๗ หรือ๖๐๘ คือ ผู้มีอายุ ๖๐ ปีขึ้นไปและกลุ่มโรคเรื้อรัง ๗-๘ กลุ่มโรค ขณะที่ด้านเศรษฐกิจรอวันนับถอยหลัง และด้านสังคมมีผู้ต้องการความช่วยเหลือในปัจจัย ๔ เพิ่มขึ้นทวีคูณ และมองตรงกันว่าโควิดยังจะอยู่กับเราอีกยาวนาน จำเป็นจะต้องเปลี่ยนแนวคิดให้สามารถอยู่ร่วมกับโควิดให้ได้
วิเคราะห์ฺกลุ่มเสี่ยงซึ่งปัจจุบันยังเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยสัมพันธ์กันทั้งผู้ป่วยจากคลัสเตอร์โรงงานขนาดใหญ่ กลุ่มที่เดินทางกลับบ้าน นำเชื้อไปสู่ครอบครัว ชุมชน และได้รับเชื้อกลับไปกระจายในโรงงาน ขณะที่การคัดกรองเชิงรุก ในชุมชนบ้านพักรถไฟ พบผู้ป่วยเพียง 6 คนจากการตรวจ 6-700 คน จำเป็นต้องตรวจสอบผลการตรวจจากชุดตรวจ ATK ก่อนที่จะดำเนินการต่อไป
๑.ภาพอนาคตที่อยากเห็น : หาดใหญ่ต้องรอด ทุกคนช่วยกัน บนพื้นฐานกติกาเดียวกัน
เป้าหมาย : ลดการเสียชีวิต เปิดเมือง เศรษฐกิจเดินได้ กลุ่มเปราะบางได้รับการดูแล
๒.ขั้นตอนดำเนินการ
๒.๑ เมืองควรทบทวนนิยาม "ผู้ติดเชื้อ" ว่าคือใคร ระดับความเสี่ยง การป้องกัน รักษาเป็นอย่างไร เพื่อให้สามารถรับผิดชอบตัวเองได้ และมีระบบที่สามารถช่วยเหลือได้ทันที
-ความรู้พื้นฐานที่จำเป็น อันเป็นวิถีชีวิตใหม่ที่จะต้องอยู่ร่วมกับโควิด New Normal สำหรับประชาชน ชุมชน สถานประกอบการ โรงแรม ร้านค้า โรงเรียน ฯลฯ ที่จะต้องเป็นกติกายึดถือปฎิบัติ ช่วยกันควบคุมกันเอง
-คัดกรองค้นหาจุดเสี่ยงสำคัญ ชี้เป้าดำเนินการ ลดการใช้บุคลากร ทรัพยากร
-หนุนเสริมระบบ CI หรือศูนย์พักคอย และ HI สำหรับดูแลผู้ป่วยสีเขียวที่บ้าน สร้างความรับรู้กับประชาชนให้ยอมรับถึงความจำเป็นจะต้องมี
-สมาคมคนจีนและกงศุลจีนช่วยกันจัดหาวัคซีนเพิ่มเติม
-ระบบสนับสนุน อำนวยความสะดวกให้สามารถตรวจเชื้อคัดกรองโควิดด้วยตนเองของเมือง มีศูนย์ปฎิบัติการเฉพาะกิจของเมืองที่สื่อสารกับสังคมให้ทันกับสถานการณ์ ใช้ประโยชน์จาก IT และเทคโนโลยี
-วิจัยเชิงผลกระทบด้านเศรษฐศาสตร์ของเมือง
๒.๒ เมืองควรตัดสินใจร่วมกัน พลิกวิกฤตเป็นโอกาส สร้างแบรนด์ใหม่ของหาดใหญ่ เป็นเมืองปลอดภัยสำหรับนักท่องเที่ยว ร่วมผลักดัน Hatyai sandbox
-How to จะเปิดเมืองกันช่วงไหน อย่างไร แต่ละคน ประชาชน ชุมชน เอกชน ราชการ จะต้องทำอะไรกันบ้าง
-สร้างตลาดในรูปแบบใหม่ของท้องถิ่น ที่สามารถอยู่ร่วมกับโควิดได้ ร้านค้า สถานประกอบการมีการคัดกรองตัวเอง มีระบบตรวจสอบภายใน และสื่อสารร่วมกันกับสังคม มีระบบiT และเชื่อมโยงกับความเป็น SMARTCITY สนับสนุนผู้ประกอบการท้องถิ่น หนุนเสริมPlatform ของท้องถิ่นที่มีผู้บุกเบิกเอาไว้(สมาพันธ์เอสเอ็มอีสงขลา) ส่งตรงอาหารและเชื่อมโยงกับระบบ HI(Home Isolation) ที่มี Application ที่คณะแพทย์มอ.พัฒนาขึ้น
-สร้างกองทุนกลางของเมือง ช่วยเหลือเยียวยากลุ่มเปราะบาง โดยเฉพาะปัจจัย 4 มีระบบคัดกรองผู้ที่จำเป็นต้องช่วยเหลือ
๓.ทีมประเมินอาสา จะช่วยกันเติมเต็ม ช่วยกันเสนอแนะเชิงนโยบายร่วมกับสาธารณสุขอำเภอ/จังหวัด
-เพิ่มคน เพิ่มทีมให้ครอบคลุมองค์ประกอบหน่วยงานที่สำคัญ
-พัฒนาฐานข้อมูลที่จำเป็นประกอบการวิเคราะห์และสื่อสารกับสังคม ให้มีข้อเท็จจริงรองรับ
Setทีมประเมินสถานการณ์อำเภอหาดใหญ่ขึ้น จากองค์ประกอบของแต่ละภาคส่วนมาระดมความคิดกัน ช่วยสสอ.
ภาคเอกชน
1.ดร.สมพร สิริโปราณานนท์ อดีตประธานหอการค้า
2.ดร.มาลิน สืบสุข รองประธานหอการค้า
3.ดร.ไพโรจน์ ชัยจีระธิกุล สมาคมโลจิสติกและขนส่งภาคใต้
4.ศิวัฒน์ สุวรรณวงศ์ สมาคมโรงแรม
5.กร สุริยพันธุ์ ปธ.สมาพันธ์ sme สงขลา
6.วิทูร ตันติวิมลพันธ์ รองปธ.สมาพันธ์ sme สงขลา
7.คุณฉัตรแก้ว คชเสนีย์
ภาคสาธารณสุข
1.รัตน์นริศ สุวรรณรัตน์ สสอ.หาดใหญ่
2.ดร.นพ.ชนนท์กองกมล รองคณบดีฝ่าย วิเคราะห์ข้อมูลและนวัตกรรมดิจิตอล (DIDA)
3.ดร.แสงอรุณ อิสระมาลัย คณะพยาบาลศาสตร์ มอ.
4.รศ.ดร.จุฑารัตน์ สถิรปัญญา คณะแพทย์ศาสตร์มอ.
5.อ.ทหัยทิพย์จากรพ.หาดใหญ่
6.จะเชิญ นพ.สุวัฒน์ วิริยพงษ์สุกิจ
7.ดร.อติชาติ ขวัญเยื้อง ผช.คณบดี ฝ่าย วิเคราะห์ข้อมูลและนวัตกรรมดิจิตอล (DIDA)
8.นพ.ธีระชัย ทรงเกยรติกวิน
ภาคสังคม
1.ชาคริต โภชะเรือง มูลนิธิชุมชนสงขลา
2.นิพนธ์ รัตนาคม สมาคมอาสาสร้างสุข
ทีมนี้อาสามาทำ ไม่เป็นทางการ เพิ่มคนมาตามสภาพปัญหาได้อีก
Relate topics
- จดหมายข่าวโครงการประชาสังคมร่วมแรงเพื่อเปลี่ยนแปลงเมือง (SUCCESS) ฉบับที่ 1 - 10
- ก้าวที่ 1 ของ iMedCare ธุรกิจเพื่อสังคมของสงขลา"
- "แผนผังภูมินิเวศ"
- เครือข่าย SUCCESS เมืองควนลังร่วมงานส้มโอเมืองควนลังปี 2567
- "ทีม iMedCare วิถีผู้ดูแลผู้ป่วยที่บ้าน"
- อังกฤษที่ผมเห็น ตอนที่ 11 - 21
- อังกฤษที่ผมเห็น ตอนที่ 1 - 10
- "iMed@home ระบบกลุ่ม"
- สมัชชาสุขภาพจังหวัดสงขลาชูวาระ "พลิกโฉมพลังพลเมืองสงขลาเพื่อสังคมสุขภาวะที่ยั่งยืน"
- กิจกรรมรับบริจาคโลหิตประชารัฐสงขลาประจำเดือนตุลาคม 2567