เสียงคนจนเมือง ที่รอรัฐบาลได้ยิน
เสียงคนจนเมือง ที่รอรัฐบาลได้ยิน
คนจนเมืองกับบ้านหลังเล็กๆเขาจะทำhome isolation ได้อย่างไร
อุปสรรคอย่างยิ่งของคนจนเมืองในชุมชนแออัดคือเขาอยู่กันอย่างหนาแน่นในชุมชนและอยู่กันบ้านหลังเล็กๆ เมื่อมีคน ติดเชื้อสัก 1 คนอีกไม่เกิน 1 สัปดาห์ก็จะติดเชื้อทั้งบ้าน ดังนั้นเราจึงพบทั้งเด็กเล็กเด็กโตผู้สูงอายุติดเชื้อเป็นจำนวนมากแม้จะไม่ได้ออกไปไหน
ความยากของคนจนเมืองก็คือจะกักตัวเองที่บ้านอย่างไรไม่ให้ติดเชื้อคนในครอบครัว ซึ่งแทบจะเป็นไปไม่ได้เลย
ดังนั้นคำตอบหนึ่งที่สำคัญมากที่จะช่วยคนจนเมืองในชุมชนแออัด ก็คือการเปิดศูนย์พักคอยหรือศูนย์กักชุมชน โดยใช้สถานที่กลาง เช่นโรงเรียนหรืออาคารของทางราชการที่มีพื้นที่ว่าง รับตัวคนติดเชื้อโควิดมานอนรวมกัน แยกเขาออกจากบ้านเพื่อจะได้ลดการแพร่ระบาดของโรคในครอบครัวเขาและในชุมชน
แต่วันนี้ศูนย์พักคอยหรือศูนย์กักชุมชนในกรุงเทพฯยังมีน้อยมาก น้อยและไม่ครอบคลุมทุกแขวงทุกเขต จึงไม่สามารถรองรับจำนวนผู้ป่วยที่เพิ่มขึ้นได้เลย
คนจนเมืองในชุมชนแออัด เขาฝากความหวังกับเรื่องนี้มา หวังให้รัฐบาล กทม.และเอกชนร่วมด้วยช่วยกัน พวกเขาพร้อมที่จะเป็นอาสาสมัครในการร่วมดูแล
เครดิต เพจชมรมแพทย์ชนบท
นพ.สุภัทร ฮาสุวรรณกิจ เขียน
Relate topics
- จดหมายข่าวโครงการประชาสังคมร่วมแรงเพื่อเปลี่ยนแปลงเมือง (SUCCESS) ฉบับที่ 1 - 10
- ก้าวที่ 1 ของ iMedCare ธุรกิจเพื่อสังคมของสงขลา"
- "แผนผังภูมินิเวศ"
- เครือข่าย SUCCESS เมืองควนลังร่วมงานส้มโอเมืองควนลังปี 2567
- "ทีม iMedCare วิถีผู้ดูแลผู้ป่วยที่บ้าน"
- อังกฤษที่ผมเห็น ตอนที่ 11 - 21
- อังกฤษที่ผมเห็น ตอนที่ 1 - 10
- "iMed@home ระบบกลุ่ม"
- สมัชชาสุขภาพจังหวัดสงขลาชูวาระ "พลิกโฉมพลังพลเมืองสงขลาเพื่อสังคมสุขภาวะที่ยั่งยืน"
- กิจกรรมรับบริจาคโลหิตประชารัฐสงขลาประจำเดือนตุลาคม 2567