ร่วมคิด ร่วมคุย ร่วมพัฒนา ร่วมเปลี่ยนแปลงเมืองอย่างยั่งยืน

by punyha @30 ก.ค. 64 18:50 ( IP : 124...187 ) | Tags : ข่าวสาร-ประชาสัมพันธ์ , โครงการ SUCCESS
  • photo  , 960x540 pixel , 80,470 bytes.
  • photo  , 960x540 pixel , 67,310 bytes.
  • photo  , 960x540 pixel , 61,589 bytes.
  • photo  , 960x540 pixel , 77,443 bytes.
  • photo  , 960x540 pixel , 72,741 bytes.
  • photo  , 960x540 pixel , 73,224 bytes.

วันที่ 30 กรกฎาคม 2564  พอช.ชวนมูลนิธิชุมชนสงขลาไปร่วมมือกันทำงานทั้งรับมือโควิดในช่วงนี้และงานการดูแลที่อยู่อาศัยของเมืองสงขลา ณ ศาลาการเปรียญวัดหัวป้อมนอก

โดยมีผู้เข้าร่วม ทีมพอช.ภาค รองนายกทน.สงขลา นายกทม.เขารูปช้าง ศูนย์บ่อยางพึ่งพาตนเอง เครือข่ายบ้านมั่นคง เครือข่ายศูนย์เรียนรู้วิถีธรรมชาติเพื่อชุมชนจะนะ มีข้อสรุปดังนี้

1.เป้าหมายความร่วมมือ

1.1 ระยะสั้น แก้ปัญหาความเดือดร้อนของชุมชนในพื้นที่สีแดงจากปัญหาการแพร่ระบาดของโควิด 19 ซึ่งเมืองสงขลาเป็นหนึ่งในพื้นที่เป้าหมาย ดำเนินการ โดยมีงบประมาณตรงไปยังแต่ละชุมชนตามขนาดปัญหาในการป้องกัน รักษา เยียวยา หรือส่งเสริมรายได้ และอื่นๆ ที่ไม่ใช่จัดซื้อครุภัณฑ์หรือสิ่งก่อสร้าง โดยให้มาจากความต้องการและปัญหาในชุมชน และสามารถบูรณาการความร่วมมือกับท้องถิ่น หน่วยงานส่วนภูมิภาค เอกชน ประชาสังคมอื่นๆ

ทม.เขารูปช้าง ที่มี 10 หมู่บ้าน ได้จัดตั้งศูนย์ประสานงานที่มีตัวแทนผญ. ท้องถิ่นและอสม. จัดให้มีการสำรวจข้อมูลประชากรกลุ่มเสี่ยง เขียว เหลือง แดง จัดให้มีศูนย์พักพิง ครัวกลาง และร่วมกับกองสวัสดิการส่งเสริมอาชีพ
ใช้งบเร่งด่วนเสนอโครงการและดำเนินการให้แล้วเสร็จภายในกันยายนนี้

1.2 ระยะยาว พัฒนากลไกการทำงานของเมืองสงขลา ที่มีทน.สงขลา ทม.เขารูปช้างเป็นแกน รวมไปถึงพื้นที่ใกล้เคียงตามบริบทของปัญหา เพื่อร่วมมือกันแก้ปัญหา หนุนเสริมการทำงานกันและกัน รวมถึงวางแผนการแก้ปัญหาความเดือดร้อนด้านที่อยู่อาศัยในระยะยาว

2.ทบทวนการทำงานของเมืองสงขลา

เพื่อให้ไปถึงกลุ่มเป้าหมายที่มีความเดือดร้อนที่ยังมีอีกมาก ปัญหาที่อยู่อาศัยที่จะต้องมีความร่วมมือรองรับ และการมีส่วนร่วมของชุมชนในการดำเนินกิจกรรม เหล่านี้ยังต้องปรับวิธีการทำงานที่แตกต่างจากเดิม ไม่ผูกติดกับแกนนำจนกระทั่งขาดการมีส่วนร่วมและไม่อาจดึงเครือข่ายอื่นๆที่เกี่ยวข้องเข้ามาร่วมแก้ปัญหา

เมืองเป็นพื้นที่พหุลักษณ์ที่ประกอบด้วยความหลากหลายของผู้่คน ฐานะ สถานภาพ ความรู้ วิธีคิด ความเชื่อ รวมไปถึงข้อจำกัดของการทำงานที่ต่างอยู่ในกรอบของตน ไม่สามารถมองภาพรวม ร่วมกันทำงาน ความจริงพื้นฐานเหล่านี้ทำให้เกิด "คอขวด" ของการปฎิบัติ ที่ไม่อาจทะลุทลวงไปได้ ทำให้พลังการทำงานร่วมกันไม่เกิด ทั้งที่มีศักยภาพ มีทุนทางสังคมมากมายมหาศาล

personมุมสมาชิก

เยือนอเมริกา ดูงานมูลนิธิชุมชน

เยือนอเมริกา ดูงานมูลนิธิชุมชน.

เครือข่าย

เครือข่ายมูลนิธิชุมชน