ภาคีเครือข่าย ๔PW สงขลา ร่วม "รับมือโควิด ระลอก ๓"
"รับมือโควิด ระลอก ๓"
ขบวน ๔PW สงขลา มูลนิธิชุมชนสงขลา ชวนเครือข่ายสมาคม มูลนิธิ คณะทำงานร่วมแลกเปลี่ยนสถานการณ์การแพร่ระบาดโควิด ๑๙ ในการประชุมให้ความเห็นต่อการจัดทำเอกสารประกอบสมัชชาสุขภาพแห่งชาติครั้งที่ ๑๔
สรุปสาระสำคัญดังนี้
๑) การป้องกันโควิด พบปัญหาขาดแมส เจล ในกลุ่มประชากรระดับครัวเรือน ตลาดนัด ตลาดสด ห้างร้าน ยังขาดมาตรการคัดกรองเฝ้าระวังที่เข้มข้นต่างจากรอบแรก ขณะเดียวกันการฉีดวัคซีนยังมีความกลัว ไม่มั่นใจ ลังเลใจ
๒)ผลกระทบต่อกลุ่มประชากร
๒.๑ มูลนิธิเพื่อนหญิงระบุว่ายังมีผู้ตกหล่นไม่มีบัตรประชาชน กลุ่มผู้หญิงเหล่านี้เป็นคนต่างถิ่น บ้างอยู่ระหว่างการแก้ปัญหา เมื่อมีสถานการณ์โควิดทำให้ไม่สามารถเดินทางไปพิสูจน์สิทธิ์หรือตรวจ DNA ในการส่งเสริมอาชีพ ในกลุ่มลูกจ้างรายวันต้องการงานที่สามารถทำได้ที่บ้าน แต่ไม่อาจเดินทางไปรับการอบรมอาชีพ หรือเพราะต้องดูแลผู้ป่วย หรือขาดตลาดรองรับ ที่ผ่านมาได้แจกถุงยังชีพช่วยกลุ่มแม่เลี้ยงเดี่ยว ผู้สูงอายุ
๒.๒ สมาคมคนพิการจังหวัด ระบุว่าจะมีกลุ่มคนพิการที่เป็นกลุ่มเสี่ยงราว ๒ พันคนจาก ๓ หมื่นกว่าคน คนพิการส่วนใหญ่ตื่นตัว เฝ้าระวังตนเองได้ดี จากสถานการณ์โควิด พบว่าต่อไปข้อมูลพื้นฐานคนพิการ ควรระบุโรคประจำตัว ความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องกับโรคระบาดไปด้วย
๒.๓ ศูนย์ประสานงานหลักประกันสุขภาพอำเภอเมือง ได้ลงเยี่ยมผู้ป่วย รณรงค์การฉีดวัคซีน ซึ่งยังลงทะเบียนน้อย สปสช.กำลังออกมาตรการเยียวยากรณีผู้เสียชีวิตหรือผลกระทบสำคัญจากการฉีดวัคซีนให้กับประชากรทุกสิทธิ์ การทำแมสผ้าทำได้ยากมากขึ้นเพราะไม่ให้มีการรวมกลุ่ม และขาดอุปกรณ์บางอย่าง กรณีเจลสามารถใช้น้ำยาล้างจาน น้ำยาเอนกประสงค์ทดแทนได้
๒.๔ ศูนย์บริบาลผู้เดินทางทางทะเล ทำงานกับกลุ่มแรงงานต่างชาติโดยเฉพาะประมง อาหารทะเลแปรรูป พบปัญหาขาดแคลนแรงงานที่มีการเดินทางกลับประเทศ ทำให้เกิดภาวะงานเพิ่มขึ้น เหนื่อย หนัก ในกลุ่มเหล่านี้พยายามป้องกันตัวเองด้วยแมส เจล การแพร่ระบาดรอบนี้ทำให้เกิดการระแวงกัน ทำให้ความสัมพันธ์ทางสังคมของผู้คนตั้งแต่ระดับครัวเรือนไปถึงชุมชนเกิดช่องว่าง
๒.๕ ศูนย์บ่อยางพึ่งพาตนเอง ดูแลกลุ่มเปราะบางในกลุ่มคนจนเมือง ลดรายจ่าย เพิ่มรายได้ ด้วยกิจกรรมทำน้ำยาเอนกประสงค์ ปิ่นโตตุ้มตุ้ยจำหน่ายอาหาร/ข้าวในราคาถูกกับกลุ่มแม่เลี้ยงเดี่ยว ทำแปลงตำลึงสร้างรายได้รายวัน
๓)แนวทางการรับมือ
๓.๑ ความร่วมมือ ในกลุ่มแม่เลี้ยงเดี่ยวระหว่างมูลนิธิเพื่อนหญิง มูลนิธิชุมชนสงขลาภายใต้งบประมาณจากองค์การบริหารส่วนจังหวัด เครือข่ายเมืองพะตง เมืองบ่อยาง สมาคมคนพิการ เครือข่ายธรรมนูญตำบล และประชากรกลุ่มเปราะบางที่ช่วยตัวเองไม่ได้ต้องการความช่วยเหลือ ด้วยการจัดทำชุด care set ประจำครัวเรือน ประกอบด้วย แมส เจล/น้ำยาเอนกประสงค์ กล่องยา ข้าวสารอาหารแห้ง โดยทำงานผ่านระบบข้อมูลในแอพ iMed@home
๓.๒ ความร่วมมือในเชิงพื้นที่ เช่น เมืองบ่อยาง ระหว่างเครือข่ายที่ทำงานกับแรงงานต่างชาติ แม่เลี้ยงเดี่ยว เด็กนอกระบบ และกลุ่มเปราะบางอื่นๆ โดยเสนอแนะพื้นที่ร่วมดำเนินงาน ร่วมแก้ปัญหาในด้านความมั่นคงทางอาหารในระดับครัวเรือน อาชีพ และความร่วมมือระดับจังหวัดในเรื่องการจัดองค์กรร่วมแก้ปัญหาเรื่องบัตรประชาชน การจัดตั้งกองทุนหมุนเวียน กองทุนกลาง การวางรากฐานเพื่อพัฒนาธุรกิจเพื่อสังคม
๓.๓ เวทีกลาง เพื่อแสวงหาความร่วมมือ ผ่านการประชุมทางไกลผ่านระบบ zoom ที่จะมีอย่างต่อเนื่องและหลากหลายกลุ่มเครือข่าย เพื่อร่วมรับมือโควิด สื่อสารการป้องกันตัวเอง การไม่ตีตราทางสังคมกับกลุ่มเสี่ยง ผู้ป่วย โดยจะเริ่มกับกลุ่มคนพิการทุกประเภทในวันที่ ๒๑ พฤษภาคม เวลา ๑๕.๐๐ น.
Relate topics
- "kickoff รถรับส่งผู้ปวยตำบลควนโส"
- "รถเติมสุขอำเภอนาทวี"
- "รถเติมสุขอำเภอสะบ้าย้อย"
- "พัฒนาระบบรถรับส่งผู้ป่วยพบแพทย์ตำบลคูหา"
- "ประชุมทีมเครือข่ายเกษตรสุขภาพจังหวัดสงขลา"
- "พัฒนาระบบบริการรถรับส่งผู้ป่วยพบแพทย์ อบต.บาโหย"
- พัฒนาPlatform รองรับบริการรถรับส่งสาธารณะจ.สงขลา
- กลางเดือนมีนาคม 2568 ดีเดย์เริ่มทดลองวิ่งรถบริการ
- การเก็บข้อมูลเพื่อปรับสภาพบ้านคนพิการติดเตียง
- "เครือข่ายเกษตรสุขภาพจังหวัดสงขลา" ประชุมแกนคณะทำงานครั้งที่ 1/2568