"ภาคีสงขลาเตรียมพร้อมรับ PM2.5 ในระดับชีวิตประจำวัน"

by punyha @7 เม.ย. 64 11:26 ( IP : 171...77 ) | Tags : ข่าวสาร-ประชาสัมพันธ์ , 4PW
  • photo  , 960x720 pixel , 74,319 bytes.
  • photo  , 960x720 pixel , 46,431 bytes.
  • photo  , 960x720 pixel , 48,311 bytes.
  • photo  , 960x720 pixel , 81,670 bytes.
  • photo  , 960x720 pixel , 97,971 bytes.
  • photo  , 960x720 pixel , 75,401 bytes.
  • photo  , 960x720 pixel , 51,547 bytes.
  • photo  , 960x720 pixel , 44,312 bytes.
  • photo  , 960x720 pixel , 94,637 bytes.
  • photo  , 960x720 pixel , 74,695 bytes.
  • photo  , 960x720 pixel , 104,358 bytes.
  • photo  , 960x720 pixel , 55,609 bytes.
  • photo  , 960x720 pixel , 77,087 bytes.
  • photo  , 960x720 pixel , 69,249 bytes.
  • photo  , 960x540 pixel , 47,568 bytes.

"ภาคีสงขลาเตรียมพร้อมรับ PM2.5 ในระดับชีวิตประจำวัน"

วันที่ 26 มีนาคม 2564 ประชุมแกนคณะทำงาน PM 2.5 สงขลา

แม้สถานการณ์ PM2.5 ในพื้นที่จะไม่รุนแรง แถมปีที่ผ่านมายังมีอากาศดีติดอันดับ 5 ของประเทศ แต่ภาคีเครือข่ายเห็นตรงกันว่าจะต้องเตรียมความพร้อมรองรับ โดยให้มีมาตรการสำคัญๆก็คือ

1.พัฒนากลไกการทำงานในรูปแบบเครือข่าย โดยมีทีมระดับปฎิบัติการจากภาคส่วนต่างๆ อาทิ สนง.สิ่งแวดล้อมภาค 16 ปภ. ทสจ. อุตสาหกรรมจังหวัด สสจ. เครือข่ายอปท. ภาคประชาสังคม/เครือข่ายสมัชชาสุขภาพจังหวัด มอ. มทร.ศรีวิชัย รวมตัวกันอย่างไม่เป็นทางการ มีการพบกันอย่างสม่ำเสมอ โดยใช้ห้องประชุมของสนง.สิ่งแวดล้อมภาค 16 เป็นจุดรวมตัว กลไกนี้จะไปเสริมกลไกหลักของจังหวัดที่จะมีคณะกรรมการที่มีรองผู้ว่าฯรับผิดชอบ

2.ความร่วมมือในการขับเคลื่อนในเชิงพื้นที่สร้างความรู้จากปฎิบัติการเพื่อลดผลกระทบจากแหล่งกำเนิด PM2.5

2.1 ร่วมมือกับคณะวิศวกรรมศาสตร์ มอ./คณะแพทย์ ต่อยอดงานเฝ้าระวัง PM2.5 ในพื้นที่อำเภอหาดใหญ่ และระบบเตือนภัยกรณีหมอกควันข้ามแดน สามารถรายงานผลผ่านเครื่องมือตรวจวัดแบบ Real time

2.2 ร่วมกับคณะวิศวกรรมศาสตร์ มทร.ศรีวิชัย ขยายผลการพัฒนาเครื่องมือตรวจวัดมลภาวะในพื้นที่เขตเมือง อำเภอเมือง ที่ได้ติดตั้งไปจำนวน 5 จุดพร้อมระบบประมวลผลรายงานผ่านแอพพลิเคชั่น

2.3 ร่วมกับมูลนิธิSCCCRN/มูลนิธิชุมชนสงขลา/อบจ./โครงการ SUCCESS/สสส./สช.ดำเนินการพัฒนา Platform กลางรวมข้อมูลเพื่อการเฝ้าระวังจากภาคีเครือข่า่ยและปฎิบัติการรับมือ PM2.5 เพื่อเป็นสื่อกลางเผยแพร่ข้อมูลไปสู่ประชาชน พัฒนาและลดช่องว่างการทำงานเชิงระบบของหน่่วยงานที่เกี่ยวข้อง ในพื้นที่เมืองพะตง(สถานประกอบการ) เมืองปาดังเบซาร์(การขนส่ง หมอกควันข้ามแดน) เมืองควนลัง(โรงไฟฟ้า) เมืองบ่อยาง(การจราจร) กรณีตำบลควนโส สร้างธรรมนูญชุมชนในการพิทักษ์ฐานทรัพยากรและเฝ้าระวังไฟไหม้ป่าพรุ ร่วมกับกรมป่าไม้ ศูนย์อุตุฯ ชลประทาน มอ.(นำตัวแบบจากพรุควนเคร็งมาใช้)วัดระดับน้ำใต้ดิน จัดทำแผนที่ความเสี่ยง

2.4 สนง.สิ่งแวดล้อมภาค 16 เพิ่มความเข้มในการตรวจรถควันดำ ได้ประชาสัมพันธ์ไปยังผู้ใช้รถ ในสองเดือนที่ผ่านมา ได้มีการตรวจรถไปกว่า 6 พันคัน ต่อไปจะมีเครื่องตรวจจับควันดำ 2 เครื่องมาใช้ในพื้นที่เพื่อดักตรวจรถ หากพบจะมีการออกป้ายระงับการใช้ชั่วคราว หากไม่แก้ไขจะระงับการใช้ถาวร

2.5 เสนอแนะแนวทางการรับมือสู่ผู้บริหารจังหวัด

1)สร้างการรับรู้ข้อมูลข่าวสาร และการแจ้งเตือนประชาชนล่วงหน้าอย่างมีเอกภาพ ผ่านช่องทางที่หลากหลาย ครอบคลุม

2)เฝ้าระวังและลดผลกระทบจากสถานประกอบการ โดยสนง.สิ่งแวดล้อมภาค 16 สนง.อุตสาหกรรมจังหวัด สนง.ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัด สนง.สาธารณสุขจังหวัด กำหนดจุด Hotspot โรงงานหรือสถานประกอบการที่เป็นจุดเสี่ยง และรายงานผลกระทบด้านสุขภาพที่เกิดขึ้นกับประชาชนจากโรคทางเดินหายใจ หอบหืด ปอดติดเชื้อ ภูมิแพ้ หรือโรคที่เกี่ยวเนื่องจากฝุ่นควัน เพื่อให้มี Baseline data ให้มีคณะกรรมการไตรภาคี(ภาครัฐ สถานประกอบการ ประชาชน)ทำหน้าที่ป้องกัน ควบคุม ดูแล แก้ไขปัญหาผลกระทบที่เกิดขึ้นกับประชาชน โดยนำข้อมูลค่าความร้อนในการเผา(หรืออื่นๆ) เปิดเผยสู่สาธารณะแบบ realtime ซึ่งมีรูปแบบตัวอย่างจากโรงไฟฟ้าควนลังที่กำลังดำเนินการ

3)เฝ้าระวังและเตือนภัยร่วมกับประชา่ชนโดยใช้ Lowcost sensor ตรวจวัดสภาพอากาศในพื้นที่ให้ครอบคลุมในจุดเสี่ยงระดับอำเภอ ได้แก่ อ.หาดใหญ่ อ.สะเดา อ.รัตภูมิ อ.เทพา อ.จะนะ อ.สะบ้าย้อย

4)ประกาศพื้นที่ Green zone ในจุดที่เป็นสวนสาธารณะ สถานที่ออกกำลัง สถานที่ท่องเที่ยว ให้มี Sensor ตรวจวัดอากาศพร้อมจอรายงานผลให้ประชาชนเข้าถึงข้อมูลด้วยตนเอง

5)ประสาน อบจ. ทน.หาดใหญ่ ทน.สงขลา พัฒนาระบบบริการขนส่งมวลชนโดยใช้รถไฟฟ้ามาบริการประชาชน
นอกจากนั้นยังเสนอแนะในการแก้ไขกฏหมาย เพื่อควบคุมมลภาวะจากสถานประกอบการ เพิ่มมาตรฐานระดับปล่อง วัดคุณภาพอากาศที่ปล่องโรงงานหรืออุตสาหกรรมแต่ละประเภท ใช้มาตรการทางภาษีเพื่อสร้างแรงจูงใจให้กับสถานประกอบการที่มีการพัฒนาระบบป้องกัน PM2.5 สร้างช่องทางช่วยผู้ได้รับผลกระทบฟ้องร้องผู้ประกอบการที่ทำผิดกฏหมา่ยสิ่งแวดล้อม

personมุมสมาชิก

เยือนอเมริกา ดูงานมูลนิธิชุมชน

เยือนอเมริกา ดูงานมูลนิธิชุมชน.

เครือข่าย

เครือข่ายมูลนิธิชุมชน