ชึวิตสีเขียวอ่อนที่ชุมขนแหลมสนอ่อน

by punyha @16 ก.พ. 64 16:39 ( IP : 171...166 ) | Tags : ข่าวสาร-ประชาสัมพันธ์ , โครงการ SUCCESS
  • photo  , 960x720 pixel , 131,170 bytes.
  • photo  , 960x720 pixel , 119,114 bytes.
  • photo  , 960x720 pixel , 115,644 bytes.
  • photo  , 960x720 pixel , 179,151 bytes.
  • photo  , 960x720 pixel , 117,168 bytes.
  • photo  , 960x720 pixel , 141,144 bytes.
  • photo  , 960x720 pixel , 127,637 bytes.
  • photo  , 1108x1477 pixel , 149,897 bytes.

"ชึวิตสีเขียวอ่อน"

14 กุมภา 64 สมาชิกชุมชนแหลมสนอ่อนประมาณ 40 กว่าชีวิต ตื่นเช้าลุกขึ้นมาพัฒนาพื้นที่ชุมชนให้สะอาด น่าอยู่ โดยแบ่งกันเป็น 2 ทีมคือ ทีมเบื้องหน้า ถือไม้กวาด มีดพร้า และจอบเสียมออกแรงพัฒนาพื้นที่รอบๆชุมชน กับ ทีมเบื้องหลัง(ไม่ปรากฎในรูป)ช่วย พัฒนาอยู่ที่บริเวณบ้านของตนเอง แต่ก็ยังมีน้ำใจส่งเสบียงมาหนุนเสริมทีมเบื้องหน้าตั้งแต่อาหารมื้อเช้า  น้ำดื่ม น้ำอัดลม และขนุนสุกจากต้น เพื่อเพิ่มกำลังกายและกำลังใจ  ปกติชุมชนแหลมสนอ่อนมักถูกสังคมนินทาค่อนขอดว่า เป็นชุมชนที่ไม่ค่อยจะมีผู้ชายร่วมกิจกรรม แต่วันนี้แตกต่างจากที่ผ่านมาเพราะมีผู้ชายมาร่วมกิจกรรมด้วยหลายคน อาทิ  หนุ่มน้อยโตโต้ พี่โทน ลุงตุ้ย ลุงพงษ์และลุงนิพนธ์

ชีวิตในชุมชนแหลมสนอ่อนกำลังจะก้าวย่างไปสู่ชืวิตสีเขียวอ่อน ซึ่งพอจะอธิบายได้ดังนี้

1.วิถีชืวิตที่อยู่ร่วมกันเป็นสังคมชุมชนนั้น  มีหลักยึดสำคัญชันชีกันว่า

-หิ้วปิ่นโตมากินมื้อเที่ยงร่วมกันทุกวันที่ 9 ของเดือนส่วนช่วงบ่ายก็จะจัดกิจกรรมกลุ่มออมทรัพย์/กลุ่มอาชีพ หรือ กลุ่มเรียนรู้ตามความสนใจของสมาชิก

-อาหารในปิ่นโตทุกคนต่างคนต่างทำกันมา แล้วแบ่งปันเพื่อนร่วมชุมชนบ้างต่างชุมชนบ้าง ปฎิบัติต่อเนื่องกันมาจนกลายเป็นวัฒนธรรมที่รับรู้กันในสังคมเมืองบ่อยางว่า ปิ่นโตตุ้มตุ้ยเกิดจากการแบ่งปันของคนที่นี่ ซึ่งเปลี่ยนจากเดิมที่ต่างคนต่างอยู่ มาเป็นสังคมที่มีน้ำใจ เกื้อกูลและแบ่งปันกัน นอกจากนี้ ปิ่นโตตุ้มตุ้ยยังปฏิบัติตามมาตรการป้องการแพร่ระบาดของโควิด - 19โดยเคร่งครัดอีกด้วย

-ชุมชนอ่อนหวานเป็นอีกหนึ่งแนวคิดของชุมชนที่จะทำในระยะต่อไปเพื่อป้องกันและลดกลุ่มเสี่ยงโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง ( NCDs)โดยเฉพาะโรคเบาหวาน ด้วยเหตุว่า ในชุมชนมีผู้ป่วยโรคเบาหวานถึง 20 รายจาก 206 ราย

2.ด้านเศรษฐกิจ สมาชิกแหลมสนอ่อนร่วมใจกันประกอบสัมมาชีพ ทุกครัวเรือน


ในช่วงสถานการณ์โควิด - 19 แพร่ระบาดระลอกแรกครัวเรือนส่วนใหญ่ในชุมชนได้หันมาใช้วิธีการลดรายจ่าย ผลิตของใช้ที่จำเป็นในครัวเรือนขึ้นมาใช้เอง และในส่วนของการเพิ่มรายได้ส่วนใหญ่ได้หันมาใช้ประโยชน์พื้นที่ข้างบ้านกับบางส่วนในป่าสนหลังบ้าน ปลูกผักสวนครัวปลอดภัยกินเอง และแบ่งขายบ้าง ระยะต่อไปในอนาคตได้ร่วมกันคิดว่าจะปลูกผักสวนครัวเพิ่มขึ้น โดยมีการบริหารจัดการอย่างเป็นระบบมากขึ้นด้วยในนามของ " วิสาหกิจชุมชนสวนผักกลางป่าสน" ซึ่งลักษณะดังกล่าวคาดว่าเศรษฐกิจของชาวแหลมสนอ่อนมีทิศทางที่จะเป็นเศรษฐกิจสีเขียวและเน้นการพึ่งพาตนเอง


อนึ่งในทุกวันที่ 9 ของเดือนนอกจากจะมีสัญญาใจเรื่องหิ้วปิ่นโตเพื่อแบ่งปันกันแล้วสมาชิกยังมุ่งประเด็นไปที่การสร้างสิ่งแวดล้อมสีเขียวในชุมชนด้วยเนื่องจากการใช้ปิ่นโตบรรจุอาหารที่ช่วยกันลดขยะประเภทถุงหรือบรรจุภัณฑ์พลาสติกได้ด้วย


นอกจากนี้สมาชิกได้ร่วมกันกำหนดกติกาขึ้นมาอีกข้อคือ ทุกวันที่ 9 ของเดือน ทุกครัวเรือนต้องหิ้วขวดขยะแห้ง (Eco  brick) มาส่งด้วยอย่างน้อยบ้านละ 1 ขวด(น้ำหนักขยะประมาณ 0.5 กิโลกรัม) เพื่อเริ่มการคัดแยกขยะในครัวเรือนอย่างจริงจังมากขึ้น (ที่ผ่านมาพบว่า มีขยะแห้งในขวดบางส่วนเป็นโพยหวยใต้ดินที่คิดเป็นจำนวนเงินซื้อได้ถึง 8,000 บาท ) การจัดการขยะครัวเรือนและ ขยะทะเลบริเวณชายหาดที่ล้อมรอบชุมชน ทำให้ชุมชนต้องร่วมกันคิดเพื่อป้องกันปัญหา เนื่องจากชุมชนร่วมกันตั้งเป้าหมายว่า ชุมชนแหลมสนอ่อนเป็นชุมชนสีเขียวภายในปี 2570 และจะเตรียมการรับในการดูแลคุณภาพชีวิตผู้สูงวัยและเป็นชุมชนการท่องเที่ยวผู้สูงอายุที่จะเป็นอีกช่องทางในการสร้างรายได้และการเป็นชุมชนน่าอยู่ของแหลมสนอ่อน


บุณย์บังอร ชนะโชติ บันทึกเรื่องราว

14 กุมภาพันธ์ 2564

personมุมสมาชิก

เยือนอเมริกา ดูงานมูลนิธิชุมชน

เยือนอเมริกา ดูงานมูลนิธิชุมชน.

เครือข่าย

เครือข่ายมูลนิธิชุมชน